‘คนจนกับคดีบุกรุกป่า’ ภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย


เพิ่มเพื่อน    

 ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน โดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำากินซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำาคัญ แต่ที่ดินส่วนใหญ่ถูกครอบครองโดยคนกลุ่มน้อยเพียงไม่กี่ตระกูล มิหนำซ้ำนักการเมืองและผู้มีอิทธิพลในแต่ละท้องถิ่นต่างก็ใช้อำนาจเงินและบารมีเข้าไปบุกรุกหรือฮุบเอาป่าไม้และที่ดิน ส.ป.ก.ไปครอบครองโดยไม่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ขณะที่ชาวบ้านที่ยากไร้เข้าไปทำกินเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเพียงไม่กี่ไร่และอยู่อาศัยและทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่า-อุทยานฯ กลับถูกจับกุมดำเนินคดีและติดคุกไปแล้วนับร้อยหลาย ข้อมูลจากกลุ่มพีมูฟระบุว่า ปัจจุบันมีชาวบ้านทั่วประเทศต้องคดีบุกรุกป่าและทำไม้สูงถึง 46,600 คดี

 เผยคดีชาวบ้านโดนฟ้องบุกรุกป่าและทำาไม้ 46,600 คดีทั่วประเทศประยงค์ ดอกลำาไย ที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมหรือ ‘พีมูฟ’ (People Movement for a just society : P-Move) บอกเล่าสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดินในประเทศไทยว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤติ โดยข้อมูลในปี 2561 ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงสุดร้อยละ 10 ถือครองที่ดิน 94.86 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.5 ขณะที่ประชากรที่ยากจนที่สุดร้อยละ 10 ของประเทศ ถือครองที่ดินรวมกันเพียง 68,330 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1 หรือแตกต่างกันกว่า 853.6 เท่า ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากมาตรการทางภาษีที่ไม่มีการเก็บภาษีที่ดินในลักษณะอัตราก้าวหน้า รวมทั้งยังไม่มีกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดินนอกจากนี้ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ส่งผลให้คนไทยจำานวนอย่างน้อย 50 ล้านคน หรือร้อยละ 76 ของคนไทยทั้งหมด ไม่สามารถเข้าถึงที่ดินที่ทำากินที่มีเอกสารสิทธิ์ จึงเป็นแรงกดดันและจูงใจให้คนที่ไม่มีที่ดินตัดสินใจเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ รวมทั้งยังมีชุมชนท้องถิ่นและชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น บนยอดดอยสูง และในเกาะต่างๆ ในภาคใต้ถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนฯ ป่าอนุรักษ์ เขตอุทยานฯ ทับที่ดินทำกินที่ชาวบ้านอยู่อาศัยมาก่อนตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษอย่างน้อย 2,700 ชุมชน เนื้อที่ประมาณ 5.9 ล้านไร่ โดยทุกวันนี้ชุมชนกำาลังเผชิญปัญหาการถูกไล่รื้อทวงคืนผืนป่า ซึ่งเป็นสถานการณ์วิกฤตและรุนแรงขึ้นตามลำดับ

 

 “ที่สำาคัญก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับแนวคิดด้าน สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ จนก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชนในการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยมีสถิติทางคดีที่เพิ่มสูงขึ้น มีชาวบ้านต้องคดีบุกรุกป่าและทำไม้สูงถึง 46,600 คดีทั่วประเทศ แยกเป็นพื้นที่กรมป่าไม้ ช่วงตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2561 จำานวน 34,804 คดี และพื้นที่กรมอุทยานแห่งชาติ ช่วงตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2562 จำานวน 11,796 คดี” ประยงค์แจงคดีที่เกิดขึ้น

นโยบาย คสช. ‘ทวงคืนผืนป่า’ 27 ล้านไร่ทั้งนี้คดีความส่วนใหญ่มาจากนโยบาย ‘ทวงคืนผืนป่า’ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีเป้าหมายทวงคืนผืนป่าให้ได้ 27.2 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่ป่าทั้งประเทศ โดย คสช.มีคำสั่งที่ 64/2557 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2557 เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้โดยให้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลาโหม มหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำาเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่า และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบติดตามผลคดีป่าไม้และดำเนินการพื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ให้คืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชนและองค์กรชุมชนได้เข้ามีส่วนรวมในการดำเนินการดังกล่าวอย่างจริงจัง

นอกจากนี้คำสั่งดังกล่าวยังระบุว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปล่อยปละละเลย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตามกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องถูกดำเนินการทั้งทางวินัยและทางอาญาเด็ดขาดโดยทันที”

 

 ต่อมาในวันที่ 17 มิถุนายน 2557 คสช.มีคำสั่งที่ 66/2557 ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นหน่วยงานเพิ่มเติมเพื่อปฏิบัติภารกิจดังกล่าว คำาสั่งดังกล่าวยังระบุว่า “การดำเนินการใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆ ก่อนคำาสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่ จะต้องดำเนินการสอบสวน และพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป”

 

 ทวงคืนผืนป่าได้แล้ว 8 แสนไร่ “เห็นแต่คนจนเท่านั้นที่ติดคุก”

กระนั้นก็ตาม การดำเนินนโยบาย ‘ทวงคืนผืนป่า’ โดยมีเป้าหมาย 27.2 ล้านไร่นั้น แม้ว่า คสช.ต้องการยึดที่ดินคืนจากนายทุนและผู้มีอิทธิพลเป็นหลัก แต่ในทางปฏิบัติอาจไม่เป็นไปตามนั้น เพราะแม้จะมีข่าวปรากฏตามสื่อต่างๆ ว่าเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินคดีกับรีสอร์ทและนายทุนที่บุกรุกพื้นที่ป่าทั่วประเทศไปแล้วหลายสิบราย แต่ข่าวอีกด้านก็โผล่ออกมาฟ้องว่ามีชาวบ้านหลายพื้นที่ถูกจับกุมดำาเนินคดีในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติหรืออุทยานแห่งชาติไม่น้อยเช่นกัน

 

                เช่น สวนป่าห้วยน้ำหิน อ.นาน้อย จ.น่าน มีชาวบ้านได้รับผลกระทบจำนวน 298 ราย อยู่ในระหว่างการดำเนินคดี 10 ราย คดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติไทรทอง จ.ชัยภูมิ จำานวน 14 ราย รวม 19 คดี โดนฟ้องบุกรุกพื้นที่อุทยานฯ ตั้งแต่ 1 ไร่ - 14 ไร่ บางรายโดนจำคุกแล้ว ส่วนใหญ่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำาคุกตั้งแต่ 5-17 เดือน และให้ชดใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ 40,000-190,000 บาท และผู้ที่บุกรุกพื้นที่ 46 ไร่ ให้จำคุก 4 ปี ชดใช้ 900,000 บาท

 ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระบุว่า ตั้งแต่ดำเนินนโยบายทวงคืนผืนป่าในปี 2557 ถึงกันยายน 2561 ได้ดำาเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าแล้ว 28,821 คดี ยึดคืนพื้นที่ป่าทั่วประเทศได้ 818,856 ไร่ !!

                ส่วนข้อมูลจากประยงค์ ดอกลำาไย ที่ปรึกษาพีมูฟระบุว่า มีคดีบุกรุกป่าและทำไม้สูงถึง 46,600 คดีทั่วประเทศ แยกเป็นพื้นที่กรมป่าไม้ ช่วงตุลาคม 2556 - กันยายน 2561 จำานวน 34,804 คดี และพื้นที่กรมอุทยานแห่งชาติ ช่วงตุลาคม 2556 - กันยายน 2562 จำานวน 11,796 คดี

 

 “แต่ข้อมูลจากกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติไม่ได้จำาแนกว่ามีนายทุนถูกดำเนินคดีกี่ราย และประชาชนคนยากจนถูกดำาเนินคดีกี่ราย ? แต่ที่เห็นก็คือ คนที่ถูกดำเนินคดีเป็นผู้ยากไร้ทั้งนั้น” ประยงค์ตั้งข้อสังเกต

 

 ใช้เงินภาษี 2,800 ล้านบาทเพื่อผลิตความยากจนและความเหลื่อมล้ำ !!

 สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้อำานวยการศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น กล่าวถึงผลกระทบจากการดำาเนินคดีว่า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เคยสำารวจต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า คดีอาญามีต้นทุนประมาณ 70,000 บาทต่อคดี คดีป่าไม้ในช่วงยุค คสช.มีทั้งหมดประมาณ 40,000 คดี จะต้องใช้เงินถึง 2,800 ล้านบาทในการดำเนินคดีกับชาวบ้าน 40,000 ครอบครัว เพราะเมื่อคนหนึ่งโดนคดีแล้วมันหมายรวมถึงที่ทำากินทั้งครอบครัว

“เราใช้ภาษีในการทำคดีไป 2,800 ล้านบาทเพื่อผลิตความยากจนและความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นในครอบครัวเหล่านั้น เพราะคนเหล่านี้กลายเป็นคนไร้ที่ดินทันทีเมื่อถูกดำาเนินคดี ยังไม่นับรวมต้นทุนของชาวบ้านที่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน นำางินไปประกันตัว ลูกเต้าไม่มีเงินเรียน” สุมิตรชัยยกตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น

 

 กรณีตัวอย่าง นางวันหนึ่ง ยาวิชัยป้อง ชาวบ้านแม่กวัก อ.งาว จ.ลำาปาง ถูกเจ้าหน้าที่อุทยาน(เตรียมจัดตั้งอุทยานฯ) แห่งชาติถ้ำาผาไท บังคับให้ตัดฟันยางพาราในพื้นที่ทำากิน 12 ไร่ในปี 2556 และปี 2558 ประมาณ 760 ต้น และถูกเจ้าหน้าที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โป่งดำเนินคดีตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 ทั้งที่มีหลักฐานว่าครอบครัวของนางวันหนึ่งได้เข้าครอบครองทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่าสงวนฯ ป่าแม่โป่งในปี 2514 ทำให้ครอบครัวต้องลำบาก ไม่มีที่ดินทำกิน ต้องไปรับจ้างกรีดยางพารา มีรายได้ไม่พอกินเพราะต้องเอาเงินไปสู้คดีจนลูกต้องออกจากโรงเรียน

 

 

 กรณีชาวบ้านอำเภอโขงเจียม จ.อุบลราชธานี โดนข้อหาบุกรุกอุทยานแห่งชาติผาแต้มและป่าสงวนฯ ตามนโยบายทวงคืนผืนป่า โดยในเดือนพฤศจิกายน 2561 หัวหน้าอุทยานฯ ผาแต้มได้แจ้งความดำาเนินคดีกับชาวบ้านท่าล้งจำนวน 6 ราย โดยกล่าวหาว่ากระทำผิด พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และกระทำาผิด พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 เช่น ก่อสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่าหรือเข้ายึดถือ ครอบครองป่า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ฯลฯ และดำาเนินคดีกับชาวบ้านตามุย 1 รายในเดือนเมษายน 2562 ในข้อหาเดียวกัน ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินคดี โดยชาวบ้านส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเพียงเล็กน้อย

เช่น ฤทธิ์ จันทร์สุข ชาวบ้านตามุยซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและติดกับอุทยานฯ ผาแต้ม ครอบครองที่ดินต่อมาจากพ่อที่เข้าทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่าสงวนฯ และอุทยานฯ ผาแต้ม (ตอนนี้พ่ออายุ 88 ปี ป่าสงวนฯ ประกาศปี 2516 อุทยานฯ ประกาศปี 2534) เนื้อที่ 2 ไร่เศษ เพื่อปลูกมันสำาปะหลัง โดยเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาแจ้งให้ฤทธิ์ออกจากพื้นที่ทำากิน โดยนำาภาพถ่ายทางอากาศเปรียบเทียบแล้วแจ้งว่าฤทธิ์บุกรุกพื้นที่อุทยานฯ หลังคำาสั่ง คสช.(17 มิ.ย.2557) แต่เขาไม่ยอมออกจากพื้นที่ทำากิน พร้อมยืนยันว่าพ่อของตนครอบครองที่ดินมาก่อน

“อุทยานฯ จะให้ผมเซ็นต์ยอมคืนพื้นที่ แต่ผมไม่ยอม เพราะมีที่ดินทำกินแค่ 2 ไร่ เป็นที่ดินที่พ่อทำากินมานานแล้วก่อนประกาศเป็นป่าสงวนฯ เมื่อผมไม่ยอมอุทยานฯ เขาก็ฟ้องคดีกับผม ผมก็ต้องสู้ เพราะถ้าไม่สู้ก็ไม่มีที่ทำกิน จะไปหาปลาตอนนี้น้ำโขงก็แล้ง ขึ้นลงไม่เป็นเวลา เพราะมีการสร้างเขื่อนมากมาย ปลาก็หายไป จับได้เล็กๆ น้อย ไม่พอเลี้ยงครอบครัว” ฤทธิ์บอก

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงกรณีตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น และหากศาลตัดสินว่ามีความผิด นอกจากชาวบ้านเหล่านี้จะต้องติดคุกแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มาตรา 97 ซึ่งเป็นการคิดค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อม หรือเรียกว่า ‘คดีทำให้โลกร้อน’ คิดค่าเสียหายประมาณไร่ละ 150,000 บาทต่อปี เช่น หากครอบครองที่ดิน 2 ไร่นาน 3 ปี จะต้องชดใช้ค่าเสียหายประมาณ 900,000 บาท !!

 

 เสนอยกเลิกนโยบายทวงคืนผืนป่า-นิรโทษกรรมชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม

ผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าที่ชาวบ้านคนยากคนจนต้องตกเป็นจำเลย ขณะที่นักการเมืองและผู้มีอิทธิพลเข้าไปถือครองที่ดิน ส.ป.ก.โดยไม่ผิดกฎหมาย ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมหรือพีมูฟได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเวทีเสวนา “จากปารีณา 1,700 ถึงกรณีปัญหาที่ดินป่าไม้ของคนจน รัฐบาลประยุทธ์มีกี่มาตรฐาน” เมื่อต้นเดือน ธันวาคมที่ผ่านมา ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตอนท้ายของการจัดงาน พีมูฟและเครือข่ายได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังน

                1.การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เป็นอิสระและให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริงจากพื้นที่ พิจารณาให้มีการนิรโทษกรรมให้แก่ชาวบ้านที่โดนดำเนินคดีอันเนื่องมาจากนโยบายทวงคืนผืนป่าและคดีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนโยบายของรัฐ รวมถึงความบิดเบือนในการดำาเนินการ อาทิ คดีโลกร้อน โดยจะต้องมีการจัดตั้งกองทุนเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ฯลฯ

 2.รัฐบาลจะต้องยกเลิกนโยบายทวงคืนผืนป่า แผนแม่บทการพิทักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ พ.ศ.2557 โดยกองอำานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อยุติการขยายผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวทันที และจะต้องให้เอาหน่วยงานทหาร และหน่วยงานด้านความมั่นคงออกจากกลไกการแก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ดิน เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านที่ดินและทรัพยากรป่าไม้สามารถแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชนและผู้ได้รับผลกระทบ

3.การปฏิรูปกฎหมายป่าไม้ ทบทวนและแก้ไขนิยามคำว่าป่าไม้ตามมาตรา 4 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ที่ดินทุกฉบับ รวมทั้งคำสั่งภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากเป็นนโยบายและกฎหมายที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในวงกว้าง ฯลฯ และจะต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำา และประชาชนสามารถเข้าถึงที่ดินอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้อย่างเป็นธรรม

4.รัฐจะต้องเปิดเผยข้อมูลการครอบครองที่ดิน ยกเลิกการประกาศที่ดินรัฐทุกประเภทที่ซ้อนทับกับที่อยู่อาศัยและที่ดินหรือพื้นที่สาธารณะของชุมชน จัดการตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อผู้กระทำผิดในการออกเอกสารสิทธิที่ดิน และ/หรือผู้ที่ครอบครองที่ดินโดยผิดกฎหมาย โดยเฉพาะนายทุนและนักการเมืองที่มีการใช้อิทธิพลและอำานาจในการครอบครองที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.) หรือ ภบท. อย่างมิชอบ ฯลฯ

ทั้งนี้ข้อเสนอดังกล่าวนี้ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมจะนำมาเสนอต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมที่มีนายวิษณุ เครืองาม (รองนายกรัฐมนตรี) เป็นประธาน ซึ่งจะมีการประชุมกันในวันที่ 20 ธันวาคมนี้ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ให้ประชาชน คนยากจนได้รับความเป็นธรรม และมีสิทธิในที่ดินทำกินเพื่อเลี้ยงครอบครัว !! 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"