เห็นสัญญาณดี หวังส่งออกธ.ค. ติดลบน้อยลง!


เพิ่มเพื่อน    

  แบงก์ชาติเชื่อส่งออก ธ.ค.62 ติดลบน้อยลง หลังเห็นสัญญาณที่ดีจากเจรจาการค้า คาดจีดีพี Q4/62 โตใกล้เคียง 2.5% ทั้งปี 2563 โต 2.5% โฆษกรัฐบาลฟุ้งผลงานเด่นของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรก เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

     เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม น.ส.พรเพ็ญ สดศรีชัย ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยในเดือน ธ.ค.62 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีจะดีขึ้นกว่าเดือนที่แล้ว โดยน่าจะติดลบน้อยลง ซึ่งเป็นผลมาจากเริ่มเห็นความชัดเจนของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในเฟสแรกที่จะมีขึ้นในต้นปี 63 นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับฐานการส่งออกในเดือน ธ.ค.61 ที่ต่ำ จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้มูลค่าการส่งออกเดือน ธ.ค.นี้ดีขึ้นกว่าเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา
    "เราคาดว่าส่งออก ธ.ค.นี้จะติดลบน้อยกว่า พ.ย. เพราะฐานธ.ค.ปี 61 ต่ำ นอกจากนี้ การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในเฟสแรกเริ่มจะมีความชัดเจน จากที่บรรยากาศยังอึมครึมในเดือนพ.ย. ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ตัวเลขการส่งออกในเดือน ธ.ค.นี้จะหดตัวน้อยกว่า พ.ย." น.ส.พรเพ็ญระบุ
    ทั้งนี้ ธปท.คาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในปี 62 นี้จะหดตัว -3.3% ขณะที่คาดว่าในปี 63 มูลค่าส่งออกจะขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 0.5%
     น.ส.พรเพ็ญยังกล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 63 ว่า ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 2.8% ซึ่งดีขึ้นกว่าปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตได้ 2.5% พร้อมมองว่าปัจจัยที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีหน้ายังมาจากภาคการส่งออกและการลงทุนเป็นหลัก ทั้งการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ ซึ่งในเรื่องการส่งออกนั้น แม้ปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์การค้าโลกยังคงมีอยู่ แต่เชื่อว่าการส่งออกปีหน้าจะเติบโตได้ดีกว่าปีนี้
    ส่วนการลงทุนนั้น ในด้านการลงทุนภาครัฐ จากที่ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จะมีผลใช้ได้ในช่วงต้นปี ก็เชื่อว่าจะทำให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้าไปสู่โครงการต่างๆ ของภาครัฐได้มากขึ้น ทำให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ยังเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยสร้างความมั่นใจให้กับการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นตามมา
     "อยากฝากความหวังไว้ที่การลงทุนภาคเอกชน อยากเห็นการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมายังลงทุนต่ำ ซึ่งมองว่าภาวะการเงินก็ยังเอื้อให้กับการลงทุนภาคเอกชนในการเตรียมความพร้อม เมื่อเศรษฐกิจกลับมาแล้ว ก็จะได้เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และสามารถเอื้อกับการส่งออกด้วย" น.ส.พรเพ็ญกล่าว
    โดยผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ย้ำว่าตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจคงจะหวังพึ่งแต่การส่งออกด้านเดียวคงไม่ได้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกยังมีความไม่แน่นอน ดังนั้นต้องเน้นเรื่องการลงทุนควบคู่กันไป เพราะการลงทุนนอกจากจะช่วยในเรื่องการพยุงเศรษฐกิจระยะสั้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่เศรษฐกิจในระยะยาวด้วย
    "ถ้าเป็นไปได้ อยากให้เพิ่มในเรื่องของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นลงทุนภาครัฐ ลงทุนภาคเอกชน เพื่อจะช่วยเสริมให้กับการส่งออกและการท่องเที่ยวด้วย เพราะการส่งออกสินค้ายังมีความไม่แน่นอนจากการค้าโลกอยู่" น.ส.พรเพ็ญกล่าว
    น.ส.พรเพ็ญกล่าวอีกว่า ธปท.คาดการณ์ว่า ในปี 63 การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวได้ 6.3% ส่วนการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวได้ 3.4% อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยเดือนพฤศจิกายน 2562 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ ส่งผลให้การนำเข้าสินค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรม และเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวสอดคล้องกัน สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวทั้งจากรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน ด้านเครื่องชี้การบริโภคเอกชนยังอยู่ในทิศทางชะลอตัว โดยมาตรการภาครัฐมีส่วนช่วยพยุงกำลังซื้อบางส่วน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง    
    ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานและอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานที่หดตัวน้อยลง สำหรับอัตราการว่างงานที่ขจัดปัจจัยฤดูกาล ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน ขณะที่จำนวนผู้มีงานทำทรงตัว ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจากด้านสินทรัพย์    โดยมูลค่าส่งออกสินค้าหดตัว -7.7% จากระยะเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับมูลค่าส่งออกที่ไม่รวมทองคำ โดยเป็นการหดตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า จากภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว, วัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังหดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ประกอบกับมีปัจจัยชั่วคราวจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันบางแห่งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าในหมวดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหดตัวทั้งด้านราคาและปริมาณ 
    นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างการผลิตและการค้าโลกจากสภาวะกีดกันทางการค้าที่ผ่านมา ยังทำให้สินค้าไทยบางส่วนถูกทดแทนด้วยสินค้าจากจีนในตลาดอาเซียน อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าในภาพรวมที่หดตัวส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวสอดคล้องกัน
    ด้านนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลงานเด่นของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ครอบคลุม 3 ด้านสำคัญ คือ คมนาคม รายได้เกษตรกร และผู้มีรายได้น้อย แยกได้ดังนี้ 1.การขยายโครงสร้างคมนาคม คือการดูแลประชาชนในการเดินทางและลดมลพิษ ด้วยการขยายโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ซึ่งนับเป็นผลงานต่อเนื่องมาจากรัฐบาลที่แล้ว เฉพาะในกรุงเทพมหานคร ได้มีการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมทั่ว กทม. อาทิ  สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค, บางซื่อ-ท่าพระ) 14 กม., สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) 19 กม., สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 22 กม., สายสีแดงอ่อน (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) 15 กม., สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 26.3 กม., สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 34.5 กม., และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30 กม. เมื่อรถไฟฟ้าเปิดใช้บริการครบทั้งหมด จะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางของคนกรุง ลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล นำไปสู่การลดมลพิษทางอากาศในที่สุด เป็นต้น 
    โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สำหรับเรื่องที่ 2 คือเรื่องรายได้เกษตรกร โดยดูแลเกษตรกรทั้งโครงการประกันรายได้สำหรับพืชเศรษฐกิจหลักหลายชนิด ซึ่งได้เริ่มจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างตรงเข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้ว และยังมีมาตรการคู่ขนานเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาของสินค้าเกษตร เช่น การอุดหนุนปัจจัยการผลิตสำหรับชาวนาผู้ปลูกข้าว ช่วยเหลือค่าปลูก  500 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว 500 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 20 ไร่ต่อครัวเรือน รวมตลอดถึงมาตรการสินเชื่อชะลอการขาย สินเชื่อรวบรวมผลผลิต นอกจากนี้ นโยบายรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมัน ด้วยการกำหนดให้น้ำมันไบโอดีเซลบี 10 เป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วพื้นฐาน ได้ส่งผลให้ราคาปาล์มสูงขึ้น เกิดประโยชน์โดยตรงกับเกษตรกร โดยไม่ต้องใช้งบประมาณของรัฐบาลเข้าไปพยุงราคา
    นางนฤมลกล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องที่ 3 คือเรื่องมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อย ดูแลผู้มีรายได้น้อย ด้วยมาตรการลดค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เช่น ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าไม่เกินครัวเรือนละ 50 หน่วย และมาตรการช่วยเหลือค่าน้ำไม่เกินครัวเรือนละ 100 บาท ไปจนถึง ก.ย.63 และยังคงมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เช่น ค่าเดินทางเดือนละไม่เกิน 500 บาท, ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเดือนละ 200/300 บาท, คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการ อีก 1% โอนเข้ากองทุนการออมแห่งชาติในนามเจ้าของบัตรสวัสดิการ เป็นต้น   
    นางนฤมลย้ำว่า รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบายที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน พร้อมกับพัฒนาประเทศไปข้างหน้า ซึ่งยังมีผลงานที่ปรากฏผลเป็นรูปธรรม และที่กำลังดำเนินงานอีกมาก ซึ่งรัฐบาลจะได้บอกเล่าสู่ประชาชนให้ได้รับรู้และติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"