ไทยเป็นเจ้าภาพ“ประชุมผู้นำสตรีโลก 2020” ตอกย้ำสถานะมี"ผู้นำองค์กรหญิง"มากที่สุด


เพิ่มเพื่อน    


                    
    ถ้าตามคติคนไทยโบราณบอกว่า"ผู้หญิง"เป็นช้างท้าวหลัง ผู้ชาย เป็น"ช้างเท้าหน้า"  แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป   ก็ทำให้ปัจจุบันมีการเปิดโอกาสให้ผู้หญิ "ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญ ทั้งในระดับองค์กร ระดับประเทศ มากมาย ในวันนี้ เราเห็นผู้หญิงเป็นประธานาธิบดี เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หลายประเทศ  หรือบางคนนั่งเก้าอี้ซีอีโอใหญ่ขององค์กรระดับข้ามชาติ  รวมถึงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ อีกมากมายหลายคน  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบทบาทของ"ผู้หญิงต่อโลกนี้เปลี่ยนไป และมีอิทธิพลสามารถสร้างแรงกระเพื่อมต่อประชาคมโลกได้ไม่มากก็น้อยไปกว่าเพศชาย


    ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้หญิงนั่งตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากที่สุด ซึ่งจากงานวิจัยหลาย ๆ ผลงานแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการมีทีมผู้บริหารที่มีความหลากหลาย รวมไปถึงความหลากหลายทางเพศ  ในส่วนของผู้หญิงจะมีจุดแข็งในเรื่องของการตัดสินใจ และการบริหารการเงิน  จึงทำให้ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงาน   "ประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2020" (Global Summit of Women 2020) ระหว่างวันที่ 23-25 เม.ย.2563 ณ โรงแรมเซนทาราแกรนด์ แบงคอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ กรุงเทพฯ ภายใต้ธีม "Women Revolutionizing Economies" (พลังสตรีพลิกเศรษฐกิจ) โดยการสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. และบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญ และบทบาทของสตรีในเวทีโลก 


    การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก เป็นเวทีระดับโลกที่มีความสำคัญในการเชื่อมนักธุรกิจ นักวิชาชีพ ผู้บริหาร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคมจากทั่วโลกมากกว่า 60 ประเทศ มาสร้างเครือข่ายความร่วมมือ รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน และในปีนี้ยังมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นปีฉลองครบรอบ 30 ปี ของจัดประชุม จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับประเทศไทยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้ไปสู่สายตาเวทีโลก และตอกย้ำว่า การที่ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อบทบาทของสตรีในภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พัฒนาประเทศ  

 

ไอรีน นาทิวิแดท แถลงข่าวการประชุม


    นางสาวไอรีน นาทิวิแดท (Irene Natividad) ประธานจัดการประชุมวุดยอดสตรีโลก กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมกลุ่มผู้หญิงที่เป็นผู้นำด้านธุรกิจทั้งภาครัฐ เอกชนจากหลากหลายประเทศมากกว่า 60 ประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ประสบการณ์การทำงานที่แต่ละคนพบเจอ ไม่ใช่เวทีที่จะพูดคุยกันถึงปัญหาและการแก้ปัญหา แต่เน้นการเชื่อมสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายในการพาผู้นำหญิงมีโอกาสเป็นที่รู้จักในเวทีโลก ซึ่งภายในงานจะมีทั้งรัฐมนตรีหญิงจากนานาประเทศ 30 ท่าน แล้วก็มีสตรีที่เป็นผู้นำจากประเทศต่างๆ ทั้งสวีเดน คาซัคสถาน ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย กัมพูชา ตุรกี เวียดนาม ฯลฯ และเหตุที่เลือกจัดการประชุมที่ประเทศไทย เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่โดดเด่นแค่เรื่องการท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่ไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว 

ไอรีน นาทิวิแดท พร้อมด้วยกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร และคณะกรรมการ ร่วมแถลงข่าว


    อีกทั้ง ยังเป็นประเทศที่มีผู้นำหญิงระดับองค์กร หรือซีอีโอ มากถึง 40% แล้วก็มีซีเอฟโอ ผู้ดูแลเรื่องการเงินขององค์กรราว 42% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ขณะที่สหรัฐอเมริกาเองก็น่าจะมีผู้นำที่เป็นซีอีโอเพียง 5% เท่านั้น เพราะฉะนั้นก็เชื่อว่า จะเป็นการยกระดับให้ผู้นำหญิงมีโอกาสขยายขอบเขตการทำธุรกิจไปสู่ระดับโลกผ่านการประชุมนี้ และทำให้คนทั่วโลกรู้จักประเทศไทยมากกว่าการเป็นประเทศท่องเที่ยว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ปีนี้ เป็นปีที่จะมีการพูดถึงเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย และยังจะมีการเชิญชวนนักศึกษามากกว่า 200 คนมาร่วมประชุมโดยจะมีผู้นำหญิงรุ่นเยาวว์ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจมาให้แรงบันดาลใจในงาน


    “บทบาทของผู้หญิงนั้นมีส่วนสำคัญในหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องของการรับผิดชอบ ผู้หญิงนอกจากจะรับผิดชอบเรื่องงานธุรกิจของตนเองแล้ว ยังมีความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน ลูกค้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงชุมชนโดยรอบที่เขาเข้าไปทำธุรกิจ อีกบทบาทหนึ่งคือผู้หญิงส่วนใหญ่มักเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ ได้ดี เช่น การซื้อของ ซื้ออาหาร ซื้อรถ และเราก็หวังว่าการประชุมจะเป็นการรวมพลังของผู้หญิงที่สามารถพัฒนาธุรกิจไปยังระดับโลกได้อย่างดี” นางสาวไอรีน กล่าว 


    ขณะที่นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการจัดงานของไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และประธาน บริษัท โตชิบาไทยแลนด์ เผยว่า การประชุมครั้งตนอยากจะตั้งหัวข้อและคำถามออกเป็นสามข้อหลักๆ ข้อแรก เหตุที่เรารับเป็นเจ้าภาพ เพราะคิดว่าการที่ผู้หญิงมารวมตัวกันจากหลากหลายประเทศ เป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการสละเวลาทำงาน สละทุกอย่างเพื่อมาพบปะและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน อีกทั้งยังทำให้คนทั่วโลกได้รู้จักผู้หญิงไทย รู้จักประเทศไทย รู้จักการทำธุรกิจในไทย เราเชื่อว่าผู้หญิงที่มาจาก 60 ประเทศทั่วโลก น่าจะเป็นทูตให้กับประเทศเราได้ดีที่สุด จากการที่เขาได้มาเห็นและสัมผัสด้วยตนเองจากการประชุม ข้อต่อมาคือ เรามีความเชื่อมั่นว่า ไทยเป็นประเทศที่ผู้หญิงไทยมีโอกาสทำงาน แล้วมั่นใจว่าผู้หญิงที่มาจากหลากหลายชาติจะได้อะไรกลับไปจากการประชุม และสุดท้าย การประชุมนี้ ไม่ใช่การประชุมเพื่อผู้หญิงเอง แต่เป็นเวทีช่วยสร้างคนในระดับโลก 


    นางกอบกาญจน์ กล่าวต่อว่า ตั้งใจให้การประชุมนี้ ให้พิเศษสมกับเป็นการฉลอง 30  ปีของการประชุมสตรีโลก โดยจะเน้นการประชุมเพื่อสิ่งแวดล้อม Carbon Neutral พร้อมนำเสนอสินค้าชุมชนท้องถิ่นจากทั่วประเทศไทย สร้าง โอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นพัฒนาเป็นนักธุรกิจระดับนานาชาติ ทั้งยังเชื่อมั่นว่าครั้งนี้ จะก่อเกิดพลังสตรีไทย ในการเรียนรู้และเติบโตจากสตรีผู้นำจากทั่วโลก พัฒนาเครือข่ายความเข้มแข็งทางธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือของคนทุกภาค ส่วน สร้างคนรุ่นใหม่ รวมพลังไทย อาเซียน และโลก ที่จะปฏิวัติเศรษฐกิจ เพื่อโลกที่ดีขึ้น

สุพัตรา จิราธิวัฒน์ และ ขัตติยา อินทรวิชัย ผู้ร่วมแถลงข่าว

พัชรพิมล ยังประภากร และ ศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์

 

ศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์%2c ม.ล.ปรียพรรณ ศรีธวัช%2c ชาลอต โทณวณิก%2c ชฎาทิพ จูตระกูล และเกศรา มัญชุศรี

 

 

 


 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"