ส.ว.ถกงบ63 แนะกลาโหม ‘โชว์ผลงาน’


เพิ่มเพื่อน    

 วุฒิสภาถกงบ 63 จันทร์นี้ เปิดรายงาน กมธ.วิสามัญฯ เสนอยกเลิกการลดหย่อนภาษีที่ไม่มีความจำเป็น แนะกลาโหมประชาสัมพันธ์การทำงานของหน่วยงาน ศาลรัฐธรรมนูญควรอธิบายคำวินิจฉัยคดีสำคัญให้ประชาชนทราบ เพื่อป้องกันการให้ข่าวที่บิดเบือน

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 20 ม.ค. เวลา 10.00 น.จะมีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาทของวุฒิสภา เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดของรัฐธรรมนูญ มาตรา 143 ให้ ส.ว.ต้องพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 20 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสภา คือวันที่ 13 ม.ค.  
    ในการประชุมดังกล่าวจะมีการนำเสนอของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาร่าง  พ.ร.บ.งบฯ 2563 ของวุฒิสภา ที่มีนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ส.ว.เป็นประธาน กมธ. ซึ่งรายงานของ กมธ.ชุดดังกล่าวได้จัดทำข้อสังเกตต่อร่าง พ.ร.บ.งบฯ 63 ในหลายประเด็น และสาระสำคัญ อาทิ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ปี 2563 จำนวน 307,950 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2562 มากถึง 31,819.9 ล้านบาท รัฐบาลควรพิจารณาปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เน้นงานเชิงสนับสนุน ส่งเสริม และเป็นฝ่ายติดตามผลการดำเนินงานหรือจัดบริการสาธารณะของ อปท.?ระดับล่าง เช่น เทศบาล, อบต.และเมืองพัฒนา 
    รวมถึงทบทวนรูปแบบการจัดสรรเงินอุดหนุนรูปแบบรายหัว หรืองบส่งเสริมที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์?ปัญหาของท้องถิ่นแต่ละจังหวัด นอกจากนั้นรัฐควรนำระบบประเมินการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน หรือดัชนีการพัฒนามนุษย์ มาเป็นเครื่องมือจัดสรรงบประมาณ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนแต่ละพื้นที่ที่สอดรับกับสถานการณ์ 
    ขณะที่การปรับโครงสร้างทางรายได้ของรัฐบาลได้เสนอ 3 แนวทาง คือ ยกเลิกการลดหย่อนภาษีที่ไม่มีความจำเป็น, สร้างแนวทางเพิ่มสัดส่วนรายได้ของท้องถิ่นในระยะยาวต่อรายได้รัฐบาลเพื่อให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง และปรับโครงสร้างภาษีอากรให้ครอบคลุมฐานภาษีที่ครบถ้วน ทั้งรายได้ ฐานการบริโภค  ฐานทรัพย์สิน ที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 
    ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพ อาทิ เร่งรัดรายจ่ายด้านการลงทุน เช่น ส่งเสริมเร่งรัดโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับอนาคต นอกจากนั้นรัฐบาลต้องมีมาตรการควบคุมสัดส่วนรายจ่ายไม่ให้เพิ่มขึ้น อาทิ คุมอัตรากำลังของข้าราชการ, ปรับลดหรือจำกัดการขยายตัวของบุคลากรภาครัฐอย่างเคร่งครัด และทบทวนโครงการจัดอบรมที่ซ้ำซ้อน, เร่งรัดกระบวนการตั้ง ควบรวม หรือยุบเลิกเงินทุนหมุนเวียนที่มีภารกิจซ้ำซ้อน 
    กมธ.ยังมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ อาทิ กระทรวงกลาโหม ให้เน้นการประชาสัมพันธ์การทำงานของหน่วยงาน, เน้นงานวิจัยและพัฒนาด้านอาวุธ แทนการนำเข้าจากต่างประเทศ, กระทรวงการต่างประเทศ หากพบกรณีที่ใช้ต่างประเทศเป็นฐานโจมตีประเทศไทย ผ่านสื่อต่างๆ ควรมีมาตรการป้องกันเชิงลึกในการประสานงานกับประเทศที่ถูกใช้เป็นฐานการโจมตี ให้รับทราบข้อเท็จจริง รวมถึงติดตามประเด็นที่โจมตีเพื่อชี้แจงอย่างทันท่วงที
    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์? ประเด็นการห้ามใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด คือ พาราควอต, คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ต้องใช้งบประมาณสูง กรมวิชาการการเกษตรควรมีข้อแนะนำการใช้และให้ใช้สารเคมีดังกล่าวจนหมดก่อนประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะสารเคมีดังกล่าวหากใช้ถูกต้องจะไม่เป็นอันตราย หรือกรณีไม่ต้องการให้ใช้สารเคมีดังกล่าวภายในประเทศ ควรเปิดโอกาสให้ส่งออกไปยังประเทศที่ไม่มีข้อห้ามการใช้จนหมด ก่อนออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อประหยัดงบประมาณ 
    หากออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างเหมาะสม จะทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหาย ฐานเป็นผู้ถือครองวัตถุที่ผิดกฎหมาย ขณะที่งบประมาณของกรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งถูกปรับลด ต้องใช้งบเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติเพื่อสร้างนวัตกรรมและพัฒนาให้เป็นเกษตรอัจฉริยะ 
    หน่วยงานของศาล เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ควรอธิบายคำวินิจฉัยคดีสำคัญให้ประชาชนทราบ เพื่อป้องกันการให้ข่าวที่บิดเบือน หรือให้ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน จนสร้างความเข้าใจผิดและสร้างความสับสนในสังคม.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"