'ดร.พิชาย'ชี้ผลเสียหายสส.เสียบบัตรแทนต้องขจัดออกจากสภาฯพร้อมแนวทางแก้ปัญหา


เพิ่มเพื่อน    



24ม.ค.63-รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อดีตคณะบดีพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) และประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) โพสต์ข้อความบนโพสต์บุ๊ก Phichai Ratnatilaka Na Bhuket  เรื่อง เสียบบัตรแทน พฤติกรรมที่ต้องขจัดออกให้สิ้นซากจากสภาผู้แทนราษฎร มีเนื้อหาดังนี้


การเสียบบัตรแทนส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งแก่ประเทศและสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
๑. ประเทศเสียหาย เพราะ พ.ร.บ. งบประมาณล่าช้าไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือน จักรกลทางเศรษฐกิจไม่อาจขับเคลื่อนได้อย่างเต็มกำลัง อันเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่แย่อยู่แล้ว ให้แย่ยิ่งขึ้นไปอีก
๒. รัฐบาลเสียหาย เพราะ ประชาชนจะมองว่า รัฐบาลขาดสมรรถนะในการจัดการกำกับดูแลพฤติกรรมของสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องเที่ยงธรรม ปล่อยให้กระทำการที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น จนกลายเป็นปัญหาที่กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง
๓. สภาผู้แทนราษฎรเสียหาย เพราะว่า ประชาชนจะมองว่า สภาฯ ไม่สามารถจัดระบบการลงคะแนนที่รัดกุม รวมทั้งขาดระบบการตรวจสอบการลงคะแนนที่มีประสิทธิภาพ จนเปิดช่องให้ ส.ส.สามารถกระทำพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญได้
๔. พรรคการเมืองเสียหาย โดยเฉพาะพรรคที่ ส.ส.ผู้นั้นสังกัด ประชาชนจะมองว่า พรรคการเมืองคัดเลือกคนที่ไร้ความรับผิดชอบ และขาดสติปัญญาในการจำแนกแยกแยะจัดลำดับความสำคัญของการทำหน้าที่ให้มาเป็น ส.ส.
๕. ระบอบประชาธิปไตยเสียหาย เพราะพฤติกรรม ส.ส. ที่ไร้ความรับผิดชอบ และขาดวิจารณญาณในการตัดสินว่าสิ่งใดสำคัญมากสิ่งใดสำคัญน้อย จนสร้างความเสียหายแก่ประเทศ ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายเสื่อมศรัทธาต่อสภาผู้แทนราษฎร และเป็นเหตุให้มีการนำไปเป็นเงื่อนไขของการทำรัฐประหารได้


การแก้ปัญหาควรทำอย่างไร
๑. นักการเมืองทั้งหมดที่มีพฤติกรรมดังกล่าว ควรแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกจากการเป็น ส.ส. และแถลงขอโทษประชาชน ที่กระทำอันเป็นการสร้างความเสียหายแก่ประเทศ
๒. หากนักการเมืองที่มีพฤติกรรมเช่นนั้นไม่ลาออก พรรคที่สังกัดก็ต้องแสดงความรับผิดชอบโดยลงมติขับออกจากพรรค เพื่อให้พ้นสภาพการเป็น ส.ส. พร้อมกับแถลงขอโทษประชาชน ที่ ส.ส.ในพรรคสร้างปัญหาแก่ประเทศ
๓. หากพรรคการเมืองนั้นไม่ขับออก ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส. อื่น ๆ ที่อยู่ในสภา โดยเฉพาะพรรคฝ่ายค้าน ควรดำเนินการทั้งมาตรการทางกฎหมายและสังคม เพื่อกดดันให้ ส.ส.เหล่านั้นพ้นสภาพ
๔. และที่ควรดำเนินการควบคู่กันไปคือ รัฐบาล นายกรัฐมนตรีและแกนนำรัฐบาลต้องกดดันให้ พรรคร่วมรัฐบาลที่มี ส.ส.เหล่านั้นสังกัด ดำเนินมาตรการใดก็ตามที่ทำให้ ส.ส. ทั้งหมดที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจนสร้างปัญหาแก่ประเทศ พ้นสภาพจากการเป็น ส.ส. และรัฐบาลต้องขอโทษประชาชนต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
๕. ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะที่เป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ต้องออกมาแถลงขอโทษประชาชน และต้องปรับปรุงระบบการทำงานในเรื่องการลงมติ เพื่อป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดเช่นนี้เกิดขึ้นอีก

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"