'ดีเอสไอ' งัดข้อ 'อัยการ' เตรียมทำความเห็นแย้งไม่สั่งฟ้อง'ชัยวัฒน์-พวก'คดีฆ่าบิลลี่


เพิ่มเพื่อน    

27​ ม.ค.63​ - ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)  พ.ต.ท.เชน กาญจนาปัจจ์ ผอ.กองคดีปฏิบัติการคดีพิเศษภาค พร้อมด้วย พ.ต.ท.เสฏฐ์สถิตย์ สุวรรณกูด รองผอ.กองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ รองโฆษกดีเอสไอ และน.พ.วรวีร์ ไวยวุฒิ ผอ.กองสารพันธุกรรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ร่วมกันแถลงกรณีอัยการมีความเห็นไม่ฟ้องคดีฆาตกรรมนายบิลลี่ 7 ข้อหา

น.พ.วรวีร์ กล่าวว่า วิธีพิสูจน์หลักฐานด้วยการตรวจสอบไมโทคอนเดรียดีเอ็นเอไม่ได้ใช้เฉพาะในประเทศไทย แต่ทั่วโลกก็ใช้วิธีนี้ ในประเทศไทยใช้พิสูจน์บุคคลสูญหาย กรณีที่โครงกระดูกมีความเสื่อมสภาพ ซึ่งมีหลายคดีที่ใช้ตรวจหาสารพันธุกรรมในวัตถุเสื่อมสภาพในชั้นศาล ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ไมโทคอนเดรียจะเป็นการสืบสายพันธ์จากแม่สู่ลูก  โดยสามารถติดตามได้ 2 รุ่น เมื่อถึงรุ่นที่ 3 ไมโทคอนเดรียจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุกรรม ซึ่งชิ้นส่วนกระดูกที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้จากดีเอสไอ เมื่อเปรียบเทียบกับนางโพเราะจี รักจงเจริญ มารดาของนายบิลลี่ พบว่าไมโทคอนเดรียตรงกันทุกประการ ทำให้เราตีกรอบว่ากระดูกนี้น่าจะมีการสืบสายโลหิตในไมโทรคอนเดรียเดียวกัน เรายืนยันในเรื่องการสืบสายโลหิตหรือการมีแม่คนเดียวกันเท่านั้น ส่วนการยืนยันตัวบุคคลต้องใช้หลักฐานจากการสืบสวนสอบสวนถึงสายพันธุกรรมของนางโพเราะจี 

น.พ.วรวีร์ กล่าวอีกว่า หลายคดีที่โครงกระดูกเสื่อมสภาพไม่สามารถตรวจดีเอ็นเอปกติได้ จะใช้ไมโทคอนเดรียเป็นตัวเชื่อมโยงและใช้การสืบสวนประกอบว่าใครบ้างที่อยู่ในสายโลหิตนี้แล้วหายตัวไปในช่วงเวลาใด จากนั้นจะนำมาตีกรอบว่าเป็นบุคคลนี้ที่หายตัวไป ซึ่งมีหลายคดีที่ใช้ไมโทคอนเดรียเป็นหลักฐานประกอบให้ศาลรับฟัง ย้ำอีกครั้งว่าไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ทุกประเทศทั่วโลกใช้หลักฐานไมโทคอนเดรียยืนยันตัวบุคคล ร่วมกับหลักฐานอื่นประกอบด้วย

ด้าน พ.ต.ท.เสฏฐ์สถิตย์ กล่าวว่า กระบวนการติดตามตัวนายบิลลี่ ดีเอสไอดูข้อมูลและพยานหลักฐานสภาพพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ว่าพื้นที่ใดเป็นจุดผิดปกติจนกระทั่งปี 2562 ดีเอสไอพบสถานที่ผิดปกติบริเวณใต้สะพานแขวน ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำไม่เคยแห้งเหมาะสมที่กลุ่มคนร้ายจะนำของกลางไปซุกซ่อนไว้ ดีเอสไอจึงนำโดรนสำรวจใต้นำสำรวจจนได้ชิ้นส่วนกระดูกและวัตถุพยานอื่นๆ ขึ้นมา ยืนยันว่าทุกขั้นตอนดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมาย

เมื่อถามว่า ผู้สืบสายโลหิตฝ่ายแม่ของนายบิลลี่มีกี่คน และมีผู้ใดเสียชีวิตไปแล้ว เพราะอัยการไม่เชื่อว่าเป็นกระดูกศรีษะของนายบิลลี่ โดยอาจจะเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีสายโลหิตเดียวกัน พ.ต.ท.เชน กล่าวว่า ดีเอสไอสอบปากคำพยานไว้อย่างละเอียด ยืนยันว่าญาติพี่น้องร่วมมารดาของนายบิลลี่ไม่มีรายใดเสียชีวิต ทุกคนยังมีชีวิตอยู่ ส่วนญาติพี่น้องในรุ่นยายหรือแม่ของแม่บิลลี่ที่เสียชีวิตไปแล้วได้ประกอบพิธีทางศาสนาคือฝังตามธรรมชาติ มีแค่นายบิลลี่คนเดียวที่หายไปโดยไม่มีที่มาที่ไป เช่น พี่น้อง 4 คนไมโทคอนเดรียเดียวกัน แต่มีคนเดียวที่หายตัวไป เราไม่ได้ฟันธงว่ากระดูกเป็นนายบิลลี่ แต่ภาพรวมการสืบสวนบ่งชี้ว่าเป็นนายบิลลี่ หากถามว่ากระบวนการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานมีความรัดกุมมากน้อยเพียงใด ยืนยันว่าเราไม่ได้ทำสำนวนปกติ แต่ทำสำนวนเสนอศาลให้พิจารณาออกหมายจับ และยังดึงผู้เชี่ยวชาญจากหลายองค์กรรวมถึงอัยการเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาคดีพิเศษ มาตรฐานไม่แตกต่างจาก สำนักสอบสวนกลางสหรัฐอเมริกา​ (เอฟบีไอ)​  

“การพิจารณาสำนวนเป็นเรื่องของมุมมอง นักศึกษาที่เคยให้การกลับไปกลับมายืนยันว่าดีเอสไอไม่เคยใช้กำลังข่มขู่ การสอบสวนตรงไปตรงมา พยานให้การอย่างมีวุฒิภาวะ เดิมพยานอาจจะยังเป็นเด็กไปฝึกงานจึงให้การไปในลักษณะหนึ่ง แต่ปัจจุบันเรียนจบทำงานแล้ว เป็นผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะทราบว่าอะไรควรเป็นอะไร จึงพูดไปตามความเป็นจริง”พ.ต.ท.เชน กล่าว

เมื่อถามว่า หากผู้เสียหายอาจหมดหวัง และต้องการขอพยานหลักฐานไปฟ้องคดีอาญาเอง พ.ต.ต.วรณัน กล่าวว่า ขั้นตอนการสอบสวนและการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐยังไม่สิ้นสุดแม้ผู้เสียหายจะมีสิทธิฟ้องคดีอาญาเองได้ แต่เมื่อกระบวนการยังไม่สิ้นสุด จึงขอให้กระบวนการยุติธรรมได้ทำงานก่อน ทั้งนี้ คดีนี้มีการสอบปากคำพยานไปแล้ว 131 ปาก เบื้องต้นดีเอสไอมีเวลา 1 เดือนในการทำความเห็นแย้ง หากพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงมีจำนวนมากก็สามารถขอขยายเวลาออกไปได้อีก  แต่คดีดังกล่าวดีเอสไอจะสอบสวนได้เท่าที่หลักฐานมีอยู่ในสำนวนเดิม ไม่สามารถสอบสวนเพิ่มเติมได้ เพราะอัยการไม่ได้สั่งให้สอบเพิ่ม แต่มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"