เจาะตลาดอาหารไทย


เพิ่มเพื่อน    

 

    อาหารไทยถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอีกอย่างหนึ่ง โดยคนต่างชาติบางกลุ่มที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทยก็มักจะมีจุดมุ่งหมายคือต้องการมาชิมอาหารได้ แต่ในขณะเดียวกันนั้น ถึงอาหารไทยจะได้รับความนิยม แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้การันตีไปในด้านอุตสาหกรรมอาหารของไทย เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมนั้นต้องการปัจจัยหลายๆ เรื่องที่จะเข้ามาสนับสนุนให้เติบโตได้ ทั้งความต้องการของตลาด  ปัจจัยบวกในการส่งออก และต้นทุนการผลิต

                ในขณะที่แม้อาหารไทยจะได้รับความนิยมมากในประเทศ แต่เมื่อส่งออกไปแล้วเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา กลับมีตัวเลขที่ไม่สวยงามนัก โดยข้อมูลจากสถาบันอาหาร พบว่าในปี 2562 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี โดยลดลง 2% การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 57.8% ลดลงจาก 58.7% ในปีก่อน 

                เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศที่อ่อนตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ รายได้ครัวเรือนลดลง และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับภาคการส่งออกที่หดตัวลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว เงินบาทแข็งค่า และราคาส่งออกสินค้าอาหารที่ลดลงกระทบต่อรายได้เข้าประเทศ ซึ่งด้านการส่งออกอาหารของไทยในปี 62 มีมูลค่า 1,025,500 ล้านบาท หรือ 33,100 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวลง 3.8%  ในรูปเงินบาท ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 401,300 ล้านบาท หดตัวลง 0.1%

                โดยสินค้าอาหารส่งออกหลัก 6 รายการ ที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ ข้าว -22.0% น้ำตาลทราย -13.7% ปลาทูน่ากระป๋อง -6.0% แป้งมันสำปะหลัง -2.8% กุ้ง -9.2% และสับปะรด -15.7% ส่วนสินค้า 4 รายการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่ +0.8%  เครื่องปรุงรส +4.0% มะพร้าว +3.8% และอาหารพร้อมรับประทาน +4.6% ซึ่งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การแข็งค่าของเงินบาท และราคาอาหารโลกที่ปรับตัวลดลงเป็น 3 ปัจจัยหลักที่ฉุดมูลค่าส่งออกสินค้าอาหารไทยให้ลดต่ำลง

                ซึ่ง นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ออกมากล่าวว่า ในปี 2562 จีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับที่ 1 ของไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แทนที่กลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี หรือกัมพูชา  ลาว เมียนมา เวียดนาม โดยไทยส่งออกสินค้าอาหารไปจีนมูลค่า 150,749 ล้านบาท มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 34%  คิดเป็นสัดส่วน 14.7% ของมูลค่าการส่งออกอาหารทั้งหมด   มีสินค้าส่งออกหลักที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินค้าผักและผลไม้ ไก่สดแช่แข็ง รวมถึงกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง

                หากพิจารณาจากตลาดส่งออกหลักทั้ง 7 ตลาด ได้แก่ จีน ซีแอลเอ็มวี ญี่ปุ่น อาเซียนเดิม สหรัฐ สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA)  จะพบว่ามีเพียงตลาดจีน กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และสหรัฐ ที่มีการส่งออกเพิ่มสูงขึ้น โดยตลาดจีนและสหรัฐที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดจากอานิสงส์ที่ไทยได้รับจากสงครามการค้าระหว่างทั้งสองชาติ ส่วนตลาดอื่นๆ หดตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยภาพรวมการค้าอาหารโลกในปี 2562 ประเมินว่ามีมูลค่าราว 1.318 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งก็มีแนวโน้มที่ลดลงกว่า 0.6%

                ซึ่งในปี 2563 นี้เอง จากการประเมินของสถาบันอาหารนั้นมีแนวโน้มการส่งออกอาหารไทยในรูปเงินเหรียญสหรัฐอยู่ที่ราว 34,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.4% ส่วนในรูปเงินบาทคาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ระหว่าง 1,022,610-1,061,000 ล้านบาท โดยมีโอกาสหดตัวลง 0.3% จนถึงขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.5%

                เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ  และค่าเงินบาทมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ 2 ทิศทาง ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทอยู่ระหว่าง 29.30-30.40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และเศรษฐกิจโลกขยายตัว 3.4% กลุ่มสินค้าที่คาดว่ามูลค่าส่งออกจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ไก่ ปลาทูน่ากระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง กุ้ง เครื่องปรุงรส มะพร้าว สับปะรด และอาหารพร้อมรับประทาน

                จากข้อมูลดังกล่าวก็ทำให้เห็นว่าประเทศไทยควรจะมุ่งเน้นการส่งออกอาหารชนิดใด และทำตลาดที่ประเทศอะไรให้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องมาพิจารณาตลาดอื่นๆ ว่าควรจะเพิ่มหรือลดในส่วนไหนด้วย เพื่อทำให้ตอบโจทย์มากที่สุด ซึ่งประเทศไทยจะต้องสร้างความเข้มแข็งจากสินค้าที่มีปัจจัยบวกนี้ให้ได้ เพื่อสร้างโอกาสให้อุตสาหกรรมอาหารไทยเติบโตได้ตามชื่อเสียงที่เคยมีมา.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"