พอช.ชี้แจงกรณีชาวชุมชนคลองตันได้รับผลกระทบจากโครงการป้องกันน้ำท่วมคลอง 13 จ.ปทุมธานี ยืนยันไม่ได้บังคับให้ชาวบ้านเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง แต่ให้ประชาชนเลือกอนาคตของตนเอง


เพิ่มเพื่อน    

เจ้าหน้าที่ พอช.ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนคลองตัน

 

กระทรวง พม. / พอช.ชี้แจงกรณีชาวชุมชนคลองตันได้รับผลกระทบจากโครงการป้องกันน้ำท่วมคลอง 13 จ.ปทุมธานี โดยกรมชลประทานจะใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างประตูระบายน้ำและแนวกำแพงป้องกันน้ำท่วม  แต่ติดปัญหาชาวบ้านปลูกบ้านรุกล้ำแนวก่อสร้าง   โดยกรมชลฯ เสนอให้ใช้พื้นที่ว่างพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย  แต่ต้องรวมตัวกันเป็นสหกรณ์เคหสถานเพื่อขอเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์  เปลี่ยนจากผู้บุกรุกเป็นเช่าที่ดินอย่างถูกต้อง  สร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย  โดย พอช.จะให้การสนับสนุนตามโครงการบ้านมั่นคง  ยืนยันไม่ได้บังคับให้ชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ  แต่ให้ประชาชนเลือกอนาคตของตนเอง

 

ตามที่ปรากฎข่าวในหนังสือพิมพ์และสถานีโทรทัศน์บางสำนักเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า  ชาวบ้านชุมชนคลองตัน (คลอง 13)  ต.บึงน้ำรักษ์  อ.ธัญบุรี  จ.ปทุมธานี  ได้ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนกรณีได้รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัยจากโครงการก่อสร้างคลองส่งน้ำและประตูระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมของกรมชลประทานบริเวณคลอง  13  อ.ธัญบุรี  ซึ่งจะต้องมีการรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวก่อสร้างของกรมชลประทาน  รวม 62 หลังคาเรือน  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ เตรียมโครงการบ้านมั่นคงรองรับ  แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่อยากเข้าร่วมโครงการ  เพราะมีรายได้น้อย  ไม่อยากกู้เงินจาก พอช.มาสร้างบ้านใหม่นั้น

             

วันนี้ (7 ก.พ.) ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กรุงเทพฯ  นางสาวเฉลิมศรี ระดากูล  ผู้อำนวยการภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้ชี้แจงกรณีชาวบ้านชุมชนคลองตัน  ต.บึงน้ำรักษ์  อ.ธัญบุรี  จ.ปทุมธานี  ร้องเรียนว่า  โครงการดังกล่าว  กรมชลประทานมีแผนระบายน้ำในช่วงน้ำท่วม   โดยการผันน้ำผ่านคลองตันที่เชื่อมระหว่างคลอง 13 กับคลองรังสิตประยูรศักดิ์  จึงจำเป็นต้องขุดเปิดคลองตันที่ถูกปิดด้วยดินทั้ง 2 ฝั่ง  และสร้างสะพานทดแทนเพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจร  พร้อมทั้งสร้างอาคารประตูระบายน้ำกว้าง 6 เมตร  จำนวน 3 ช่อง  และตลอดแนวลำคลองจะสร้างแนวกำแพงป้องกันน้ำท่วม  ความยาว 1,646 เมตร  สร้างถนนเลียบคลองความกว้าง 12 เมตร 

 

พื้นที่แนวก่อสร้างกำแพงป้องกันน้ำท่วม (ซ้าย) และคลอง 13 (ขวา)

 

โดยกรมชลประทานเริ่มก่อสร้างโครงการดังกล่าวในปี 2561  คือ  สะพานทิศเหนือ  ทิศใต้  และประตูระบายน้ำ  ต่อมาในปี 2562  จะสร้างแนวกำแพงป้องกันน้ำท่วม  แต่มีปัญหาอุปสรรค  คือบ้านเรือนของชาวบ้านที่ปลูกสร้างอยู่ริมคลอง  ซึ่งเป็นที่ดินราชพัสดุอยู่ในการครอบครองของกรมชลประทาน  โดยมีชาวบ้านหมู่ที่ 3  และหมู่ที่ 5 ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่จำนวน 62 หลังคาเรือน  กรมชลประทานจึงมีมาตรการให้ชาวบ้านรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวก่อสร้าง 

 

ต่อมาชาวบ้านได้ร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรม จ.ปทุมธานี   ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น  พมจ.ปทุมธานี   สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  ธนารักษ์ จ.ปทุมธานี  เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้  ฯลฯ  ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561  ต่อมาในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านที่ร้องเรียนได้ประชุมร่วมกันที่ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี  โดยมีข้อสรุปเบื้องต้นในการแก้ไขผลกระทบด้านที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน  ดังนี้

 

บ้านเรือนของชาวบ้าน(ขวา)ที่ปลูกสร้างอยู่ในแนวก่อสร้างของกรมชลประทาน

 

1.พื้นที่ว่างหลังแนวก่อสร้างถนน  ความกว้าง 12  เมตร  ความยาว 1,646 เมตร   ซึ่งเดิมกรมชลประทานจะใช้พื้นที่เพื่อปรับภูมิทัศน์  สามารถพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านได้ถูกต้องตามกฎหมาย   โดยให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ สำรวจข้อมูลและวางแผนการใช้พื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย  หลังจากนั้นจึงส่งเรื่องให้กรมชลประทาน  เพื่อให้กรมชลประทานแจ้งคืนพื้นที่ให้แก่ธนารักษ์พื้นที่ จ.ปทุมธานี 

 

2.ชาวบ้านที่ประสงค์จะเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์เคหสถานขึ้นมาเพื่อขอเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์อย่างถูกต้อง  ในอัตราผ่อนปรน  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ จะสนับสนุนเรื่องงบประมาณตามโครงการบ้านมั่นคง  เช่น  การก่อสร้างสาธารณูปโภค  งบช่วยเหลือก่อสร้างบ้าน  และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ  ผ่อนชำระคืนระยะยาว

 

ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ผ่านมา  พบว่า  มีชาวบ้านปลูกสร้างบ้านในที่ดินแนวก่อสร้างของกรมชลประทานทั้งหมด 62  หลังคาเรือน  ชาวบ้านมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง 10 หลังคาเรือน  (12 ครัวเรือน)   มีความประสงค์จะเช่าที่ดินอย่างเดียวจำนวน 32 หลังคาเรือน   ย้ายออกไปซื้อที่ดินใหม่ 13  หลังคาเรือน  ย้ายออกไปโดยไม่มีเงื่อนไข 6 หลังคาเรือน  และไม่แจ้งความจำนงค์ 1 หลังคาเรือน

 

 “โครงการบ้านมั่นคง  เป็นโครงการที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวบ้านที่มีรายได้น้อย  ไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย  และต้องการให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเหลือ   โดยมีหลักการ  คือ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและตัดสินใจในการเลือกอนาคตของตัวเอง  และทำตามความต้องการของพี่น้องประชาชน   ไม่ได้บังคับให้พี่น้องประชาชนเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงแต่อย่างใด”  นางสาวเฉลิมศรีกล่าวชี้แจง

 

เจ้าหน้าที่ พอช. ลงพื้นที่ชุมชนคลองตันเพื่อสำรวจข้อมูลความเดือดร้อนของชาวบ้าน

 

สำหรับชาวบ้านชุมชนคลองตัน 62 หลังคาเรือนที่อยู่อาศัยในแนวก่อสร้างโครงการของกรมชลประทานนั้น  นางสาวเฉลิมศรีกล่าวว่า  ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน   ส่วนครอบครัวที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมกับโครงการบ้านมั่นคงชาวบ้านก็จะต้องรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์เคหสถาน  เพื่อขอเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์อย่างถูกต้อง  เปลี่ยนสถานะจากผู้บุรุกเป็นผู้เช่าที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  โดยเบื้องต้นกรมธนารักษ์จะให้สัญญาเช่าช่วงแรก 30 ปี  เหมือนกับที่ดำเนินการในคลองลาดพร้าว  ทำให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง 

 

ส่วนพี่น้องในชุมชนคลองตัน ที่มีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจการในการดำเนินงานโครงการบ้านมั่นคง ให้ไปสอบถามเพิ่มเติมได้ที่เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ ซึ่งทางนายกเทศมนตรีฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยโครงการบ้านมั่นคงเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและได้รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ รวมทั่งการตรวจสอบสิทธิ์การรับรองการอยู่อาศัย หรือติดต่อได้ที่ พอช.โดยตรง

 

“นอกจากนี้สถาบันฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต  ส่งเสริมอาชีพชาวชุมชน  เพื่อให้มีรายได้ สำหรับประชาชนในส่วนที่เหลือที่มีความประสงค์อย่างอื่นก็เป็นภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาตามความต้องการของพี่น้องประชาชนต่อไป”  นางสาวเฉลิมศรีกล่าวในตอนท้าย

 

ทั้งนี้โครงการบ้านมั่นคงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2546  ทั้งในเมืองและชนบททั่วประเทศ  ปัจจุบันดำเนินการแล้ว  1,231 โครงการ   รวม  112,610 ครัวเรือน  และในปี 2563 นี้  จะดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ  รวม 21,115 ครัวเรือน  นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมา  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาชุมชนบุกรุกริมคลองที่ชุมชนแก้วนิมิตร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง  จำนวน 98  ครัวเรือน  ซึ่งเดิมปลูกบ้านรุกล้ำลำคลอง โดยชาวบ้านได้เข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง  โดยจัดซื้อที่ดินและสร้างบ้านใหม่  ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จและชาวบ้านเข้าอยู่อาศัยแล้ว

 

ชุมชนแก้วนิมิตรเดิม (ซ้าย) 

 

ชุมชนใหม่ที่รื้อย้ายออกจากคลอง

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"