ต้องแก้รธน. 'วัฒนา' ชี้เปรี้ยงคำวินิจฉัยร่างพรบ.งบฯปี63 ไม่ชอบด้วยรธน. 6 ประการ


เพิ่มเพื่อน    

8 ก.พ.63 - นายวัฒนา เมืองสุข  สมาชิกพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า คำว่า “ชอบด้วยกฎหมาย” ในทางนิติศาสตร์จะต้องชอบด้วยเนื้อหาสาระ (substance) และชอบด้วยกระบวนการหรือวิธีการ (procedure) จึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณากำกับกระบวนการต่างๆ ว่าจะต้องกระทำอย่างถูกต้องที่เรียกว่า “ศุภนิติกระบวน” (due process of law) เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่กำกับการทำงานของพนักงานสอบสวน อัยการ และศาล เป็นต้น

สำหรับความชอบด้วยกฎหมายของการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญก็เช่นกัน จะต้องชอบด้วยเนื้อหาสาระและชอบด้วยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ โดยในส่วนของเนื้อหาสาระรัฐธรรมนูญมาตรา 148 วรรคสามและสี่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยเนื้อหาสาระของกฎหมายนั้นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญหรือไม่ หากขัดในสาระสำคัญกฎหมายนั้นจะตกไปทั้งฉบับแต่หากไม่ใช่สาระสำคัญจะตกไปเฉพาะส่วนที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ

ส่วนกระบวนการตรากฎหมายที่ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เช่น การเสียบบัตรแทนกันที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญเพราะ ส.ส. มีสิทธิออกเสียงได้หนึ่งคนหนึ่งเสียง นั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจไปวินิจฉัยว่ากระบวนการใดเป็นสาระสำคัญหรือไม่ ดังนั้น หากกระบวนการตรากฎหมายไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็จะทำให้กฎหมายนั้นเสียไปทั้งฉบับ ดังเช่นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายที่ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลออกเสียงแทนกันที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้สภาผู้แทนราษฏรนำร่างกฎหมายงบประมาณฯ ไปดำเนินการใหม่เฉพาะในวาระที่สองและสาม นั้น ผมเห็นว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลายประการ กล่าวคือ

(1) รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจศาลมีอำนาจวินิจฉัยในส่วนที่เป็นกระบวนการว่าเป็นสาระสำคัญหรือไม่ ดังนั้น หากกระบวนการตรากฎหมายซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนรวมสามวาระ หากขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งทำไม่ถูกต้องก็จะต้องเสียไปทั้งหมด

(2) สภาผู้แทนราษฏรได้ลงมติในวาระที่สามเสร็จสิ้นแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่จะให้ย้อนกลับไปทำใหม่ เปรียบเทียบได้กับการนำคดีที่สอบสวนโดยไม่ชอบมายื่นฟ้องต่อศาล ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าชอบหรือไม่ชอบเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนกลับไปสอบสวนใหม่เพราะล่วงเลยเวลาของขั้นตอนนั้นแล้ว

(3) นอกจากนี้ ร่างกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญให้นำกลับมาลงมติใหม่ในวาระที่สองและสามคือร่างที่ถูกแปรญัตติแล้วซึ่งล่วงเลยเวลา 105 วัน ตามมาตรา 143 วรรคแรก เป็นผลให้ร่างที่จะนำมาลงมติใหม่นั้นใช้บังคับไม่ได้ตามวรรคสอง ผลคือแม้ลงมติแล้วแต่จะต้องนำเอาร่างแรกที่ ครม. เสนอต่อสภาในชั้นรับหลักการส่งให้ ส.ว. พิจารณาแทน

(4) หาก ส.ว. ยอมรับร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนนำกลับมาลงมติลงมติใหม่ไว้พิจารณาก็จะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 143 วรรคสอง เพราะร่าง พรบ. งบประมาณฯ นั้นถูกเสนอมาเลยเวลา 105 วัน

(5) อำนาจและหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้มีตามมาตรา 210 (1) คือ พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมายเท่านั้น ผมจึงเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจไปสั่งให้สภาผู้แทนราษฎรนำเอาร่างกฎหมายไปพิจารณาใหม่ ส่วนที่อ้างมาตรา 74 ของกฎหมายวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญก็เกินจากอำนาจตามรัฐธรรมนูญ

(6) ในส่วนของผู้แทนราษฏรไม่มีหน้าที่จะต้องไปทำตามที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่ง เพราะ ส.ส. ไม่ใช่จำเลยหรือคู่ความในคดี ส.ส. มีหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

นี่เป็นอีกสาเหตุที่ผมและพรรคเพื่อไทยเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมี สสร. ที่มาจากประชาชนยกร่างขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกติกาการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคมจะต้องให้คนในสังคมนั้นเป็นผู้กำหนดไม่ใช่ปล่อยให้พวกที่เผด็จการแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้กำหนดอันจะนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างไม่รู้จบ ความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ภายใต้ความยุติธรรมที่มีบรรทัดฐานเดียวกันเท่านั้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"