วงเสวนา 'รร.เสธ.ทบ.' ยกทฤษฎีความขัดแย้งนำไปสู่การปฏิรูป ฟันเปรี้ยงเหตุกราดยิงจะเกิดขึ้นได้ยากหลังจากนี้


เพิ่มเพื่อน    

15 ก.พ.63 - ที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกจัดสัมมนาในหัวข้อเรื่องความมั่นคงกับชีวิตของผู้คนในสังคมไทยปัจจุบัน ตามโครงการพัฒนาด้านความมั่นคงศึกษาประจำปี 2563 ร่วมกับอีก 5 สถาบันการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ราชภัฎสวนสุนันทา

พลตรีดิเรก ดีประเสริฐ ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ระบุว่า โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจาก 5 สถาบัน จัดขึ้น 2เดือนครั้ง ซึ่งเป็นสัมมนาทางวิชาการ ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน สถาบัน เพื่อให้มีมุมมองหลากหลายต่อยอดความมั่นของชาติต่อไป

พลตรี ดิเรก   กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมา ทำให้หลายภาคส่วนตื่นตัว และในฐานะนักวิชาการ กังวลต่อปรากฎการณ์นี้ และไม่เฉพาะเหตุการณ์นี้ แต่ในปัจจุบันสังคมไทยมีการใช้ความรุนแรงมากขึ้นสะท้อนว่าสังคมไทยกำลังป่วยหรือไม่  และเป็นสัญญาณอันตรายที่เตือนให้ทุกภาคส่วนต้องตระหนักถึงปัญหาความมั่นคงปลอดภัย โดยมองว่าบางครั้งกฎหมายก็อาจจะไม่ใช่เครื่องมือแก้ปัญหาความรุนแรงได้ทั้งหมด  แต่ขึ้นอยู่กับการตระหนักของคนในสังคม ซึ่งที่ผ่านมาสังคมไทยมองเรื่องความมั่นคงปลอดภัยเป็นเรื่องไกลตัว และมีการใช้ความรุนแรงผ่านโลกออนไลน์ใช้โซเชียลเป็นช่องทางสร้างความรุนแรง เฟคนิวส์ จนซึมซับคนในสังคม รวมทั้งเยาวชน

"เชื่อว่า  เหตุทหารนำอาวุธปืนออกมาทำร้ายประชาชนหลังจากนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก หรืออาจไม่เกิดขึ้นอีก โดยยกทฤษฎีทางวิชาการด้านความมั่นคงที่ชี้ว่าความขัดแย้งในสังคมนำมาซึ่งการปฏิรูปครั้งใหญ่ รวมไปการปฎิรูปกองทัพอื่นๆทั้งสวัสดิการเชิงพาณิชย์ของกองทัพและธุรกิจสื่อของกองทัพ เช่นเดียวกับเหตุชุมนุมทางการเมืองที่มีการมาตรการจัดการที่เข้มงวดขึ้น"

พลตรี ดิเรก มองว่าสัญญาณอันตรายในสังคมที่น่ากังวลคือกลุ่มคนที่จิตอ่อนมีพฤติกรรมเลียนแบบ โดยเฉพาะเด็ก และคนที่นิยมใช้ความรุนแรงอยู่แล้ว นอกจากนั้น เหตุการณ์รุนแรงที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นกรณีศึกษาในการดูแลความปลอดภัยชีวิตคน ระงับยับยั้งเหตุรุนแรงโดยเร็ว และสร้างการตื่นตัว ตระหนักรู้ให้คนในสังคม โดยเสนอว่าสถานที่ชุมชนต้องมีระบบเตือนภัย รักษาชีวิตผู้คน ในขณะที่ลักษณะการก่อเหตุแบบกราดยิงที่เกิดขึ้นทั่วโลกก็ถือว่าเป็นอาชญากรรม ไม่ใช่การก่อการร้าย ผู้ก่อเหตุไม่มีข้อเรียกร้อง ไม่ได้ทำบนพื้นฐานความเชื่อความคิดทางการเมือง  ต่อไปในแนวทางป้องกันของเจ้าหน้าที่คงต้องมีการหารือในเรื่องของยุทธวิธี  เช่น การปฏิบัติในการค้นหาผู้ก่อเหตุ การเข้าถึงตัวผู้ร้ายด้วยยุทธวิธี และ อุปกรณ์ต่างๆ

พลตรี ดิเรก กล่าวว่า บางครั้งกฎหมายก็อาจจะไม่ใช่เครื่องมือแก้ปัญหาความรุนแรงได้ทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับการตระหนักของคนในสังคม ซึ่งที่ผ่านมาสังคมไทยมองเรื่องความมั่นคงปลอดภัยเป็นเรื่องไกลตัว และมีการใช้ความรุนแรงผ่านโลกออนไลน์ใช้โซเชียลเป็นช่องทางสร้างความรุนแรง เฟคนิวส์ จนซึมซับคนในสังคม รวมทั้งเยาวชน

“การที่ผู้ก่อเหตุนำอาวุธปืนออกมาทำร้ายประชาชน ผมคิดว่าหลังจากนี้จะเกิดขึ้นได้ยาก หรืออาจไม่เกิดขึ้นอีก จากทฤษฎีทางวิชาการด้านความมั่นคงที่ชี้ว่าความขัดแย้งในสังคมนำมาซึ่งการปฏิรูปครั้งใหญ่ รวมไปการปฏิรูปกองทัพอื่นๆ ทั้งสวัสดิการเชิงพาณิชย์ของกองทัพและธุรกิจสื่อของกองทัพ เช่นเดียวกับเหตุชุมนุมทางการเมืองที่มีการมาตรการจัดการที่เข้มงวดขึ้น  ที่สำคัญคืออย่าโทษใครว่าเป็นจำเลย เพราะทุกคนล้วนเป็นจำเลย ตอนนี้ผู้ก่อเหตุนอกจากเสียชีวิตแล้วยังถูกสังคมลงโทษ ไม่ใช่คำตอบว่าการเสียชีวิตของคน 30 คนจะแลกมาในสิ่งที่คุ้มค่า  แต่เป็นการสร้างความทรงจำที่ชั่วร้าย เป็นหน้าที่ของสังคมต้องเรียนรู้และรับผิดชอบร่วมกัน  ในภาวะของโลกที่มีทั้ง สงครามตัวแทน  (proxy war)  สงครามเสมือนจริง (virtual war ) ที่ผ่านมาเราหลงลืมในเรื่องของการกล่อมเกลา ปลูกฝังคน พัฒนาแต่ด้านเทคโนโลยี มุ่งแต่ประโยชน์ ละเลยระบบจริยธรรม คุณธรรม แนวทางพระคือหิริโอตัปปะ ไม่เฉพาะแต่ทหาร แต่หมายรวมถึง ครอบครัว สังคมแวดล้อมในการสร้างคนๆนึงที่เติบโตขึ้นมาในสังคม “พลตรีดิเรกกล่าว

ผศ.ดร.ศรีรัฐ โกวงศ์ อาจารย์ด้านรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า โลกปัจจุบันอยู่ในยุคเน็ตสเตท และมีพลเมืองทางไซเบอร์ ซึ่งไม่อยู่กรอบการควบคุมของรัฐ เข้าถึงการใช้เว็บไซท์ใต้ดิน หรือ deepweb ได้อย่างอิสระ สามารถซื้อขายสกุลเงินกันโดยไม่มีการตรวจสอบการเป็นเจ้าของ ปริมาณเงิน ที่ไปที่มาได้ แต่สามารถใช้คำสั่งซื้อนั้น ไปซื้อของผิดกฎหมาย ยาเสพติด ซื้ออาวุธ ฟอกเงิน หลีกเลี่ยงภาษี แล้วมีการนำไปก่ออาชญากรรม จึงถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวของสังคม ที่ผ่านมาหลายประเทศพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งตนเสนอว่าการให้ความรู้เรื่องdigital currency รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ควรเน้นการให้ความรู้ควบคู่กับ จริยธรรม และคุณธรรมด้วยไม่เน้นความมั่งคั่ง สร้างมูลค่าอย่างเดียว นอกจากนั้น ควรมีหน่วยงานตรวจสอบควบคุม เรียกว่า REGULATORY และควรมีฑูตเทคโนโลยี ในการพูดคุยเจรจาเหมือนบางประเทศ แก้ไขปัญหาในเมืองสำคัญๆ ที่เป็นเว็บฯ ต้นทาง

ผศ.ดร.ธนพร ศรียากูล  ความมั่นคงแห่งชาติ ตาม พรบ.ความมั่นคงฯ นั้นครอบคลุมความมั่นคงทุกรูปแบบ และนิยามของภัยคุกคามตามกฎหมาย คือความรุนแรงและซับซ้อน เบื้องหลังความรุนแรงในเชิงโครงสร้าง คือ เขาอาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรม คือเป็นผู้ถูกกระทำ ยกตัวอย่าง ปัญหาแม่น้ำโขงที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์อย่างมีนัยสำคัญ เพราะตามลำน้ำโขงเราจะพบการสร้างเขื่อนเต็มไปหมด ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในปี 2562 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะ บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาลุ่มน้ำโขงก็ถือว่าได้รับความรุนแรงเชิงโครงสร้างเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม ลักษณะการแสดงออกความรุนแรงได้เปลี่ยนแปลงจากการทำร้ายตัวเองมาเป็นการทำร้ายสังคม ปัญหาทั้งสองเรื่องเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่ต้องรีบแก้ไข เพื่อให้ความรู้สึกที่ถูกทับไว้คลี่คลายออกไป ทำให้ปัญหาความรุนแรงที่จะถูกแสดงออกลดทอนลงไป อย่าปล่อยให้เป็นไฟไหม้ฟาง สังคมต้องติดตามต่อไปคือสิ่งที พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ประกาศไว้.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"