พม่าเล็งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดึงทุนนอก


เพิ่มเพื่อน    


อองซาน ซูจี

สื่อทางการเมียนมารายงานเมื่อวันพุธว่า รัฐบาลของนางอองซาน ซูจี เตรียมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นประมาณวันละ 115 บาท หวังกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่เคยวางไว้เมื่อครั้งสืบทอดอำนาจจากรัฐบาลทหารเมื่อกว่า 2 ปีก่อน

สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์โกลบอลนิวไลต์ออฟเมียนมา เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2560 ว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 4,800 จ๊าต หรือราว 115 บาท เป็นการขึ้นค่าแรง 33% จากค่าแรงขั้นต่ำที่เมียนมากำหนดเป็นครั้งแรกในสมัยรัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลังเมื่อปี 2558

รายงานกล่าวว่า ค่าแรงขั้นต่ำใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ทั่วทุกภูมิภาคและทุกรัฐ และใช้กับธุรกิจทุกประเภทที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของนางซูจี ชูธงด้านเศรษฐกิจเป็นงานหลักของพรรคระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง กระทั่งชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลเมื่อเดือนเมษายน 2559 แต่นักวิจารณ์กล่าวกันว่า รัฐบาลของนางซูจียังไม่สามารถสร้างความก้าวหน้าอย่างแท้จริง ยังต้องดิ้นรนผ่านกฎหมายที่ทำให้เมียนมาเอื้อต่อการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น หรือสื่อให้เห็นวิสัยทัศน์ที่กระจ่างชัด

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เคยกล่าวไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ว่าจีดีพีของเมียนมาในปี 2560 ขยายตัวช้าลง อยู่ที่ 5.9% และประมาณการว่าจีดีพีจะขยายตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.7% ในปีนี้

ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลพากันโต้เถียงว่า เวลานี้ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินการทำงานของรัฐบาลที่ต้องรับมรดกภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดอยู่แต่เดิม

ฌอน เทอร์เนลล์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลเมียนมา กล่าวว่า รัฐบาลของนางซูจีประสบความสำเร็จอย่างสูงในการรับมือกับอัตราเงินเฟ้อสูง, หนี้สิน และการขาดดุลงบประมาณที่ตกทอดมาจากยุคที่ระบอบทหารปกครองเมียนมายาวนานหลายทศวรรษ การทำงานลำดับแรกของรัฐบาลชุดนี้จึงเป็นการสร้างเสถียรภาพของสิ่งต่างๆ ข้างต้น

เมียนมามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรอยู่ที่ประมาณ 36,835 บาทต่อปี และราวร้อยละ 37 ของประชากร 51 ล้านคนมีชีวิตอยู่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับเส้นกำหนดความยากจน

ค่าแรงขั้นต่ำของเมียนมายังต่ำกว่าคู่แข่งเศรษฐกิจร่วมภูมิภาคนี้ ทั้งกัมพูชา, ไทย และเวียดนาม เมียนมาจึงต้องการล่อใจนักลงทุนเข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเมียนมากลับไม่สดใสนัก เมื่อเดือนตุลาคม ธนาคารโลกประเมินว่าเศรษฐกิจและการลงทุนในเมียนมาจะขยายตัวช้าลง แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมจะมีเสถียรภาพ

ธนาคารโลกยังกล่าวด้วยว่า วิกฤติในรัฐยะไข่ ซึ่งทำให้ชาวมุสลิมโรฮีนจาอพยพเข้าบังกลาเทศมากกว่า 655,000 คน อาจส่งผลกระทบทางลบต่อการหลั่งไหลเข้ามาลงทุน ซึ่งได้รับผลกระทบอยู่แต่เดิมจากภาพความเข้าใจของนักลงทุนเรื่องการปฏิรูปที่เชื่องช้า

ตามข้อมูลขของสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอเมียนมา ก่อนที่ค่าแรงขั้นต่ำจะเริ่มมีผลบังคับใช้ ผู้ที่คัดค้านสามารถยื่นคำร้องคัดค้านหรือขอให้สอบถามความคิดเห็นสาธารณะได้ ภายใน 60 วัน

รายงานกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าพวกนายจ้างน่าจะคัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก และธุรกิจที่ว่าจ้างแรงงานตามฤดูกาลราคาถูก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"