ลดความเสี่ยง-ลดอุบัติเหตุ


เพิ่มเพื่อน    


    เดินหน้าไม่หยุดสำหรับการปรับปรุงและการเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยการใช้รถใช้ถนน ล่าสุด รมว.คมนาคม ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้รับชมและรับทราบผลการทดสอบแผ่นยางหุ้มแบริเออร์คอนกรีต หรือ (Barriers Rubber Fender) พร้อมทั้งมีกำหนดการที่จะลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกระทรวงคมนาคมของประเทศเกาหลีใต้ ในการร่วมกันบูรณาการด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยทางถนน และระบบจราจรอัจฉริยะ หรือ Intelligent Transport System-ITS
    ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้มีการทดสอบเบื้องต้น ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจ และเป็นไปตามสมมุติฐานที่วางไว้ คือ มีความแข็งแรง รวมถึงสร้างความปลอดภัยจากแรงปะทะได้ถึง 30% เมื่อใช้ความเร็วรถ 120 กม./ชม. จากเดิมแบริเออร์คอนกรีตรับได้ 90 กม./ชม.
    สำหรับผลทดสอบที่เกาหลีใต้พบ แผ่นยางครอบแบริเออร์ที่ ทช.นำไปทดสอบสามารถรับแรงกระแทกได้ดี ทำให้รถยนต์เสียหายเฉพาะด้านชน ไม่พลิกคว่ำ และไม่มีการเหินของรถ เหมือนแบริเออร์คอนกรีต ซึ่งหลังจากนี้ ทช.จะนำมาต่อยอดพัฒนาแท่งแผ่นยางพาราครอบแบริเออร์ เพื่อนำมาใช้ในงานก่อสร้างทาง เพื่อความปลอดภัยบนสายทางของ ทช.ทั่วประเทศ
    ส่วนข้อสงสัยที่ว่าแล้วเกาะกลางถนนที่มีอยู่เดิมนั้นจะรื้อหรือไม่ รมว.คมนาคม ชี้แจงว่าไม่มีการรื้ออย่างแน่นอน แต่อาจจะปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยด้วยการติดตั้งแผ่นยางหุ้มแบริเออร์เข้าไปแทน โดยมั่นใจว่าสถิติในเรื่องการเกิดอุบัติเหตุจะลดลง และชี้แจงว่าแนวทางดังกล่าว จะมีต้นทุนถูกกว่าการทำเกาะหญ้า และได้พื้นที่การจราจรมากกว่า รวมถึงการก่อสร้างเร็วกว่า อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนในการบำรุงรักษามากกว่าอีกด้วย
    ต้องยอมรับกันว่าเมื่อมีการลงทุนหรือสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศทุกครั้งมักจะมีข้อกล่าวหาสารพัดรอบทิศทาง  โดยเพาะในด้านใครได้ใครเสีย ต้องบอกเลยว่าเมื่อใช้แผ่นยางหุ้มแบริเออร์ งบประมาณที่จะลงทุน จะไปถึงมือเกษตรกรชาวไร่สวนยางโดยตรง เพราะหลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะมีการ MOU กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการให้สหกรณ์ชาวสวนยางเป็นผู้ผลิตตามรูปแบบและมาตรฐานของกรมทางหลวง (ทล.) และ ทช.รับซื้อยางพาราโดยตรง 
    ในขณะเดียวกัน ได้มีเสียงจากภาคเอกชนออกมาแสดงความเห็นว่านโยบายในเรื่องการนำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้าง นั้นจะเกิดประโยชน์กับเกษตรกรและชาวสวนยางมากที่สุด เพราะนโยบายนี้จะทำให้มีการใช้ยางพารามากขึ้น ส่งผลให้ราคายางเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ชาวสวนมีงานทำจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางไปใช้ในการก่อสร้าง โดยเฉพาะเรื่องของผลิตภัณฑ์ยางพารา ที่กระทรวงคมนาคมออกมาหนุนการใช้ยางพาราของเกษตรกร จุดมุ่งหมายเพื่อนำไปครอบแบริเออร์นั้น บรรดาสหกรณ์ต่างๆ ที่มีเครื่องจักรพร้อมที่จะทำการผลิตมีทั้งที่ภาคใต้ เหนือ และภาคอีสาน มีกำลังผลิตเพียงพอแน่นอน
    เรียกได้ว่าเมื่อมองลึกๆ นโยบายนี้ได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้รถใช้ถนน ที่ไม่รู้ว่าวันดีคืนดีขับขี่รถอยู่ๆ เกิดหลับในขึ้นมา กรณีที่ชนกับแผ่นยางหุ้มแบริเออร์แน่นอนว่าจะช่วยลดแรงกระแทกได้ดี ทำให้รถยนต์เสียหายเฉพาะด้านชน ไม่พลิกคว่ำ และไม่มีการเหินของรถ เหมือนแบริเออร์คอนกรีต จะช่วยลดความเสี่ยงในชีวิตอีกด้วย 
    ขณะที่ชาวเกษตรกรชาวสวนยางพาก็ได้รับประโยชน์โดยตรง โดยไม่ผ่านมือคนกลาง เมื่อทุกฝ่ายลงมือปฏิบัติจริงเชื่อว่าแผนที่วางไว้จะสำเร็จอย่างแน่นอน แว่วๆ มาว่าช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2563 นี้ ทช.และ ทล.จะนำร่องในพื้นที่จุดเสี่ยงอันตรายจากนั้นจะประเมินผล ถ้าได้ผลดีจะขยายผลมาใช้ในถนนทางหลวงต่อไป
    อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีๆ ที่ชาวสวนยางจะได้รับประโยชน์โดยตรง แต่ทั้งหมดนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่โปร่งใส ไร้ทุจริต และตรวจสอบได้ จึงจะไร้ข้อครหา จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กรจนได้ชื่อว่าปลอดทุจริตอย่างแท้จริง.

กัลยา ยืนยง​​​​​​​


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"