รัฐปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 2% วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท พร้อมลดภาษีให้ผู้ประกอบการ สู้วิกฤตโคโรนา


เพิ่มเพื่อน    


11 มี.ค.2563 นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามที่กระทรวงการคลังได้เสนอไป โดยมีมาตรการด้านการเงิน ประกอบด้วย 4 มาตรการ ดังนี้ 1.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ดอกเบี้ยไม่เกิน 2% เป็นเวลา 2 ปี ปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย ในวงเงิน 150,000 ล้านบาท 2.มาตรการพักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ ของสถาบันการเงินทั้ง ออมสิน ธ.ก.ส และ ธพว.

3. มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกแนวทาง ผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อปกติ เพื่อให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ 4.มาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของสำนักงานประกันสังคม ที่จะร่วมกับสถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 30,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3% ระยะเวลา 3 ปี ให้แก่สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน

ขณะเดียวกันยังมีมาตรการภาษี ประกอบด้วย 4 มาตรการ ดังนี้ 1.มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ โดยลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากอัตรา 3% เหลืออัตรา 1.5% สำหรับการจ่ายเงินตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2563 - 30 ก.ย. 2563 2. มาตรการภาษีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีที่เข้าร่วม สามารถหักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับรายจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เม.ย. - 31 ธ.ค. 63

3.มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงาน โดยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถนำรายจ่ายมาหักรายจ่ายมาหักภาษีได้ 3 เท่า 4.มาตรการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ ที่ยื่นทางอินเทอร์เน็ตจะได้รับคืนภายใน 15 วัน

ขณะที่มาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ ประกอบด้วย 6 มาตรการ ดังนี้ 1.มาตรการบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ รัฐวิสาหกิจ 2. มาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง จากอัตรา 5% เป็น 0.1% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลา 3 เดือน 3.ลดหรือชะลอหรือเลื่อนการเก็บค่าธรรมเนียมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ 4. ให้หน่วยงานเร่งเบิกจ่ายเงินงบลงทุนวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค. 2563

5. มาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน โดยให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ไม่น้อยกว่า 65% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี 6.มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 สร้างแรงจูงใจในการคงการจ้างงาน โดยได้เตรียมวงเงิน 20,000 ล้านบาท จากงบกลางรองรับการดำเนินการ

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกำหนดมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามที่กระทรวงพลังงานเสนอมา ได้แก่การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าวงเงิน 300 ล้านบาท การเร่งรัดเบิกจ่ายกองทุนพัฒนาไฟฟ้าพื้นที่ 72 จังหวัดวงเงินรวม 4,064 ล้านบาท การกำกับดูแลอัตราค่าไฟ วงเงินประมาณ 4,534 ล้านบาทและมาตรการอื่นๆของการไฟฟ้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"