สร้างคุณค่าความงามภายใน วัยรุ่นไม่เป็นเหยื่อ "บูลลี่"


เพิ่มเพื่อน    

 

      สาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น คือการถูกล้อเลียน ว่าไม่สวย ไม่หล่อ อ้วน ดำ ซึ่งเป็นพฤติกรรม “บูลลี่” ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ กระทั่งกลายเป็นคนเก็บตัวและเก็บกด และเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด แม้ว่าอาการป่วยทางสุขภาพจิตดังกล่าว ส่วนหนึ่งอาจมาจากความผิดปกติของสารเคมีบางตัวในสมองก็ตาม

(วรดา เอลสโตว์)

      ดังนั้นการสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง เพื่อให้เด็กวัยรุ่นไทยเห็นคุณค่าในตัวเอง และห่างไกลปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าว “เดอะนุก (The Nook) กิจกรรมป๊อปอัพ 4 วัน เมื่อเร็วๆ นี้ จัดขึ้นโดยองค์การที่มุ่งพัฒนาสังคมอย่าง บริษัท เลิฟ แฟรงกี้ (Love Frankie) ร่วมกับบริษัท Acorn & Associates กิจกรรมในงานได้เชื้อเชิญ คุณเมย์-วรดา เอลสโตว์ นางแบบและนักเขียนอิสระ มาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเห็นความงามรอบตัวเอง และความงามภายในตัวเองให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น

      สำหรับกิจกรรมภายในงานนั้น เริ่มจากการที่ คุณเมย์-วรดา ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการมองเห็นคุณค่าในตัวเองผ่านการละลายพฤติกรรม โดยการให้ทุกคน “บอกข้อดีของเพื่อนๆ ที่อยู่ตรงหน้า และบอกข้อดีของตัวเองอย่าง 3 ข้อ” เช่น ข้อดีของตัวเองนั้น ได้แก่ การเป็นคนที่สบายๆ ไม่คิดมาก, การเป็นตัวของตัวเอง, รักอิสระ, ชอบแต่งตัว, ใจเย็น การพยายามเข้าใจผู้อื่น, จริงใจ, ฉลาด, ใฝ่รู้, ไม่ตัดสินคนอื่น ฯลฯ หรือแม้แต่การที่เรามองเห็นข้อดีของเพื่อนที่อยู่ข้างหน้า เช่น เพื่อนรักความสะอาด, จริงใจ, รักการแต่งตัว, กล้าพูด, เปิดเผย, รักเพื่อน

      นอกจากนี้ก็ให้ “ชมตัวเองอย่างน้อย 3 ข้อ” เนื่องจากการชมตัวเองนั้น เช่น รู้จักเห็นใจคนอื่น, พร้อมรับฟังปัญหา, ใจเย็น, รักสงบ ฯลฯ จะทำให้เราเห็นข้อดีในตัวเอง แม้ว่าบางครั้งการที่เราชมผู้อื่นจะง่ายกว่าการชมตัวเองก็ตาม เพราะการที่เราชมผู้อื่นนั้นจะทำให้กล้าพูดถึงเพื่อนหรือผู้ที่อยู่รอบข้างเรา ที่สำคัญก็จะทำให้มองเห็นข้อดีของตัวเองมากขึ้นเช่นกัน ไล่มาถึงกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าร่วม “ถ่ายรูป 3 ภาพที่คิดว่าสวยงามสำหรับตัวเอง” อาทิ ป้ายโฆษณาที่มีสติกเกอร์ติดอยู่จำนวนมาก, สนิมที่อยู่ในเบาะรถยนต์เก่า, ริมคลอง, พิธีกร, ต้นไม้ริมคลอง ฯลฯ

      “กิจกรรมทั้งหมดที่ผู้ร่วมงานได้ทำนั้นเป็นประสบการณ์ที่ดี หรือเป็นจุดเริ่มต้นในการพูดกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการชมผู้อื่น ชมตัวเอง กระทั่งการมองภาพที่สวยงามในแบบของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการทำให้เรารู้จักกับตัวเอง รู้จักคนรอบข้าง ที่สำคัญทำให้เราหยุดคิดและมองเห็นความสวยงามในแบบธรรมดา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนคนอื่น ที่สำคัญรูปที่เราถ่ายทั้งหมด 3 รูปนั้น จะช่วยทำให้เรามองเห็นความสวยงามจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ทั้งนี้ หากวันไหนที่เรามองออกไปข้างนอกแล้ว รู้สึกว่าโลกมืดมน กิจกรรมถ่ายรูปความงดงามในแบบของตัวเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้ปรับมุมมองและทัศนคติ ในการใช้ชีวิตที่คิดลบได้เช่นกันค่ะ”

      ทั้งนี้ การรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น ที่ถูกเพื่อนล้อว่า “อ้วน ไม่สวย ดำ ขี้เหร่” ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำลายความมั่นใจในตัวเอง กระทั่งกลายเป็นสิ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิตนั้น คุณเมย์-วรดา บอกว่า อันที่จริงแล้วการสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองเวลาที่เราถูกล้อนั้นมันเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะเด็กวัยรุ่นส่วนหนึ่งเขามีประสบการณ์น้อยที่จะรับมือกับการถูกล้อเลียน หรือเวลาอยู่ในโรงเรียนก็มักจะอยู่กับเพื่อนหรือติดเพื่อน แต่ทว่าการที่เด็กเล่นโซเชียล ข้อดีอย่างหนึ่งคือการที่ทำให้เขาได้เห็นโลกกว้าง หรือได้เห็นยังมีคนที่เหมือนกับเขา หรือมีปัญหาเหมือนกับเขา ไม่ใช่มีแต่เขาคนเดียวที่มีประสบการณ์ถูกบูลลี่ดังกล่าว ตรงนี้ก็ช่วยได้ทางหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญคือการที่ผู้ปกครอง อบรมให้บุตรหลานรู้ว่า การที่เราแตกต่างกันอันที่จริงแล้วเราสามารถอยู่ด้วยกันได้

      ส่วนตัวเมย์คิดว่าการที่เด็ก สามารถเปิดโลกทัศน์ให้ตัวเอง โดยการใช้อินเทอร์เน็ตหรือการเล่นโซเชียลที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ตรงนี้น่าจะช่วยให้เขารู้ว่ามันมีคนที่เหมือนเขา และก็เป็นเรื่องของเด็กวัยรุ่นที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน อีกทั้งเด็กวัยรุ่นจะให้ความสำคัญกับคนที่เขาอยู่ด้วย ดังนั้นสิ่งที่ช่วยทำให้เขามั่นใจในตัวเอง เมย์คิดว่าเราต้องให้ความรู้กับเขา เช่น พ่อแม่ให้ความรู้กับลูก โดยการอบรมสอนให้ลูกตัวเองไม่แกล้ง ไม่ล้อเพื่อน เช่น การสอนให้ลูกรู้ว่าทุกคนนั้นมีความแตกต่างกัน อีกทั้งสอนให้เข้าใจว่าคนเราทุกคนนั้นเกิดมาไม่เหมือนกัน มีบางคนเกิดมาแตกต่างจากเรา แต่เด็กๆ ไม่จำเป็นต้องทำให้เพื่อนแตกต่างจากเรา

      เช่น ให้เด็กเล็กมองดูสิ่งรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นสัตว์หรือผลไม้ โดยให้ลูกดูสิว่าผลไม้บางลูกนั้นมันก็แตกต่างกัน บางลูกก็กลมสวย แต่บางลูกก็บูดเบี้ยว แต่เนื้อข้างในมันก็อร่อยเหมือนกันนะ หรือดูว่าสุนัขมีมากมายหลายพันธุ์ เช่น หมาร็อตไวเลอร์ กับหมาชิวาวา ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน และมีลักษณะต่างกัน แต่สุดท้ายมันก็เป็นสัตว์เหมือนกัน” ต้องเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว โดยสอนเขาตั้งแต่เด็กๆ พอเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นเขาก็จะเข้าใจความแตกต่าง โดยเฉพาะเวลาที่ถูกล้อ หรือถูกชี้ปมด้อยของตัวเอง ซึ่งอันที่จริงแล้วการที่เด็กล้อเลียนผู้อื่น มันไม่ใช่เรื่องที่ทำให้คนอื่นแฮปปี้ ถึงแม้ว่าคนล้อจะรู้สึกสนุกก็ตาม”.

 

 

วัยรุ่นรับมืออย่างไรเมื่อถูกล้อ"อ้วน ดำ ขี้เหร่"???

        คุณเมย์-วรดา บอกอีกว่า “สำหรับปัญหาสุขภาพจิตในเด็กวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ค่อนข้างอันตรายมากๆอยู่แล้ว แต่เมย์คิดว่าการดูแลใกล้ชิดและเข้าใจเด็ก โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น ซึ่งคำว่าเข้าใจใกล้ชิดนั้น ผู้ปกครองต้องเปิดพื้นที่สำหรับเขา เพื่อให้เป็นตัวของตัวเอง แต่ให้ดูแลใกล้ชิดในแง่ของการคอยสังเกต พฤติกรรมเด็กอยู่ห่างๆ ที่สำคัญการที่เด็กวัยรุ่นให้กำลังใจด้วยเอง ผ่านการชมตัวเองก็ดี หรือการที่เรามองว่าการที่เราแตกต่างจากคนอื่นนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี แต่ว่ามันคือว่าเป็นเอกลักษณ์ของเรา ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า “Uniqueness” (ยูนิก) ซึ่งไม่ใช่การแปลกแยก หรือไม่ใช่การที่เราไม่เหมือนใคร เพราะถ้าเราคิดว่าเราแตกต่างจากคนอื่น นั่นจะทำเรารู้สึกว่าเราไม่มีคุณค่า ดังนั้นให้ลองหาคุณค่าให้ตัวเอง เช่น ถ้าเรารู้สึกเกิดมาไม่สวย ไม่หล่อ เตี้ย และถูกล้อดำ อ้วน เราสามารถหาคุณค่าให้กับตัวเอง เช่น เรียนหนังสือให้เก่ง หรือหากิจกรรมที่โดดเด่นทำ เช่น เป็นนักกีฬาของโรงเรียน, เล่นดนตรีเก่ง กระทั่งประพฤติตัวเป็นคนดี ใจดี ซึ่งคิดว่าช่วยได้ค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"