อีสานเผชิญพายุฤดูร้อน 


เพิ่มเพื่อน    


    เตือนพายุฤดูร้อน มีฝนฟ้าคะนอง ลมแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ 5 จังหวัดอีสาน และ 4 จังหวัดตะวันออกรับมือ 23 มี.ค.นี้ กทม.อุณหภูมิใกล้แตะ 40 องศา
    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2563)" ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2563
    ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
    จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 22 มีนาคม 2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม  ขอนแก่น ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
    ในช่วงวันที่ 23 มีนาคม 2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย และบึงกาฬ ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
    ทั้งนี้ เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ในขณะที่มีคลื่นอากาศในกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
    พยากรณ์อากาศ ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 23-28 มี.ค.63 อากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 22 มี.ค.63 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23-28 มี.ค.63 อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
    ภาคกลาง     ในช่วงวันที่ 23-28 มี.ค.63 อากาศร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
    ภาคตะวันออก    ในวันที่ 22 มี.ค.63 อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23-28 มี.ค.63 อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนบางแห่ง ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนโดยทั่วไปตลอดช่วง กับมีฝน ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
    นางรติฬส พ่วงพร้อม หัวหน้า สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิจิตร มอบหมายให้ น.ส.อัญชลี พันธุ์ปัญญา หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และการจัดการ สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิจิตร นำคณะลงพื้นที่สำรวจความเสียหายสืบเนื่องจากเมื่อคืนวันเสาร์ได้เกิดพายุฤดูร้อนฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ส่งผลให้บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายหลายหลัง ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่า พายุได้พัดบ้านเรือนราษฎรในเขตหมู่ 1, หมู่ 6, หมู่ 17 ได้รับความเสียหายรวม 20 หลังคาเรือน  แต่ที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดมี 4 หลังคาเรือน ที่หลังคาบ้านปลิวไปกับสายลมหายไปทั้งแถบ ไม่เว้นแม้แต่บ้านของผู้ใหญ่บ้านก็ถูกลมพายุพัดพาหลังคาบ้านปลิวไปติดอยู่บนหอกระจายข่าว
    เลย เกิดพายุฤดูร้อนและลูกเห็บพัดกระหน่ำในอำเภอเชียงคาน โดยเฉพาะบ้านน้อย หมู่ที่ 4 แก่งคุดคู้ ที่มีกลุ่มแม่บ้านสตรีอาหารพื้นเมืองไปทำอาหารเพื่อจำหน่ายคนที่มาเที่ยวบริเวณแก่งคุดคู้เสียหายไปกว่า 40 หลังคา เสียหายหมดทั้งชายหาด สังกะสีและหลังคามุงหลุดไปกับสายลม โดยพายุนั้นได้พัดมาในร่องของแม่น้ำโขง จากนั้นขึ้นมาบนฝั่ง และรื้อหลังคาของกลุ่มแม่บ้านไปหมดทั้งแถบ ด้านนายอดุล ผลคำ ผู้ใหญ่บ้านน้อย หมู่ 4 ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน รายงานเบื้องต้นไปยังอำเภอเชียงคานได้ทราบ เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่และวัสดุเข้ามาช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"