รีวิวธุรกิจไตรมาสแรก


เพิ่มเพื่อน    


    เมื่อกำลังจะผ่านพ้นไตรมาสแรกของปี 2561 ก็คงต้องมีรีวิวธุรกิจกันหน่อยว่ามีความคึกคักมากน้อยสักแค่ไหน โดยรวมๆ แล้วหากเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ถือว่าการเปิดตัวสินค้าใหม่มากขึ้น บรรยากาศดีขึ้น อารมณ์ดีขึ้น แต่อาจจะยังไม่มากพอให้กระตุ้นในหลายธุรกิจให้เติบโตอย่างมีนัย เหลืออีก 9 เดือน หรือ 3 ไตรมาสของปีนี้ ผู้ประกอบการคงต้องหาแนวทางที่ถูกต้อง เพื่อสร้างยอดขายกับบริษัทของตัวเอง
    นับเป็นอีกครั้งที่ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล  (ไทยแลนด์) ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปทางด้านประชากรศาสตร์ เพื่อให้แบรนด์ต่างๆ ได้สังเกตเห็นและนำมาวิเคราะห์ออกมาเป็นสูตรธุรกิจที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น โดยรวมแล้วก็ได้กล่าวถึงการที่ประชากรสูงวัยขึ้น ขณะเดียวกันขนาดของครอบครัวก็มีขนาดเล็กลง ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคจะซื้อแต่ของที่จำเป็น และเมื่อมีความต้องการจะซื้อเท่านั้น    
    นอกจากนี้ ยังมีความต้องการออกไปทานอาหารนอกบ้านเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่เป็นประชากรที่อยู่ในตัวเมือง จึงไม่น่าแปลกใจว่าจะเห็นร้านอาหารขยายตัวมากขึ้น ตามศูนย์การค้าและคอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ ทั้งยังไม่นิยมทำการจับจ่ายล่วงหน้า และไม่มีการเตรียมการประกอบอาหาร โดยส่วนใหญ่จะซื้ออาหารสำเร็จรูประหว่างทาง โดยเฉพาะอาหารสดที่จะซื้อและปรุงเพื่อรับประทานในวันเดียวกันเท่านั้น
    ในเรื่องนี้ “ฮาเวิร์ด ชาง” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อร้านสะดวกซื้อได้พัฒนาให้เป็นคอนเน็กชั่นพอยต์ หรือเรียกว่าเป็นประตูเปิดสู่บริการอย่างกว้างขวาง และก้าวเข้าสู่ความนิยมในการจับจ่ายผ่านดิจิตอลแล้ว ร้านสะดวกซื้อแนวคิดคอมมูนิตี้ฮับ (Community Hub) นี้ อาจจะกลายเป็นศูนย์กลางการส่งมอบสินค้าเลยทีเดียว
    แต่ทว่าการจัดการส่วนผสมทั้งด้านความสะดวกและชุมชนให้ลงตัวนี้ จะต้องมีปัจจัยอะไรที่ต้องคำถึงถึงกันบ้าง คือการลดช่องว่างระหว่างการค้าปลีกรูปแบบโมเดิร์นเทรด และการค้าปลีกรูปแบบดั้งเดิม และต้องทำการเชื่อมโยงให้เกิดการเอื้อซึ่งกันและกัน ที่สำคัญร้านสะดวกซื้อจะมีการปรับโฉมสู่การเป็นคอมมูนิตี้ฮับ และการตั้งราคาให้ต่ำลง  จะส่งผลต่อการแข่งขันในการยึดครองพื้นที่ชั้นวางสินค้า
    “เมื่อปัจจัยด้านประชากรศาสตร์เปลี่ยนไป ผู้ค้าปลีกต้องจับพฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ พิถีพิถันคัดเลือกแบรนด์ กลุ่มสินค้า เพื่อจำหน่ายบนชั้นวางสินค้า สร้างการแข่งขันชิงแชร์บนพื้นที่ชั้นวางสินค้าเข้มข้นยิ่งขึ้น”
    นั่นเป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ ที่สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจวางแผนงาน แต่หากเป็นเรื่องของเทรนด์ไตรมาสแรกของปีนี้ อาการที่น่าห่วงสุดคงเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ขนาดว่ายักษ์ใหญ่ที่มีแบรนด์สินค้าในมือจำนวนมากอย่างสหพัฒน์ ยังออกตัวว่ากำลังซื้อผู้บริโภคไม่ค่อยน่าตื่นเต้น แต่หากเทียบกับปีที่แล้วก็ดีกว่าบ้าง แนวทางของการกระตุ้นยอดขายคงเป็นการจัดโปรโมชั่นและเสนอสินค้าใหม่ ก็คงเป็นกลยุทธ์เบื้องต้นที่ถูกเลือกใช้กันมาอย่างยาวนาน ซึ่งหลังๆ มาก็มีหลายรายยอมรับว่าการลดราคาสินค้าบ่อยๆ  ทำให้ช่วงเวลาปกติยอดขายไม่ค่อยหวือหวา เพราะคนจะรอซื้อของตอนมีโปรโมชั่นราคาถูก
    คงเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าในยุคนี้ความสะดวกสบายเป็นอีกหนึ่งคีย์ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ เพราะผู้บริโภคต่างก็มองหาชีวิตง่ายๆ จากแบรนด์ต่างๆ บวกกับกระแสสุขภาพที่มาแรง ที่ผ่านมาสถานออกกำลังกายขนาดเล็กขยายตัวมากขึ้น ปิดไปก็มี เปิดขึ้นใหม่ก็มาก และล่าสุดกับเทรนด์สะดวกฟิต 24 ชั่วโมงก็กำลังมาแรง เพียงแค่ต้นปีก็มีแบรนด์จากต่างแดน ก็เร่งเกมเข้ามาบุกตลาดเมืองไทย ทั้งฟิตเนส 24 เซเว่น (Fitness24Seven) จากประเทศสวีเดน ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าใช้บริการในช่วงเวลาและสถานที่ที่ลูกค้าสะดวก รวมถึงแบรนด์ที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่าง Jetts จากประเทศออสเตรเลีย ทำให้ฟิตเนสเฟิรส์ทเตรียมเลือกสาขาในบางทำเลเพื่อเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน
    หลังจากผ่านไตรมาสแรกก็ยังพอมีเวลาให้ได้ปรับกลยุทธ์กันอีกพักใหญ่ เพราะอีกไม่นานก็จะเข้าสู่ช่วงหน้าฝนหรือโลว์ซีซั่นกันอีกครั้ง นาทีนี้ใครปรับตัวได้เร็วและถูกต้องก็ไปรอด แต่ก็ต้องยอมรับว่าการแข่งขันธุรกิจทุกวันนี้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว หากยังมัวช้าอยู่ก็คงถูกผู้ที่แข็งแกร่งกว่าทิ้งห่าง วิ่งนำเข้าเส้นชัยไปก่อน ก็คงจะเสียโอกาส.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"