พลิกโควิดเป็นโอกาส


เพิ่มเพื่อน    

 จากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ถึงแม้ว่าช่วงแรกผู้คนอาจจะคิดว่าเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ปัจจุบันเชื้อดังกล่าวได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นมหันตภัยร้ายแรงระดับโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งจากความรุนแรงดังกล่าวนั้น ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างในทุกสาขา ทั้งการเป็นอยู่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร การแพทย์ รวมถึงการส่งออก และการผลิตเป็นห่วงโซ่ต่อๆ กัน

แม้ผลกระทบที่เกิดขึ้นดูจะทำให้หลายกลุ่มอุตสาหกรรมมียอดขายและคำสั่งซื้อลดลง การจับจ่ายใช่สอยของคนทั่วไป รวมถึงกำลังการผลิตลดลง แต่ก็มีบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์ทางด้านบวกจากเหตุการณ์นี้ แม้ว่าหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง  แต่ก็มีอีกหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังเป็นของจำเป็นจะต้องใช้ในช่วงนี้เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งจากทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย คำสั่งซื้อในส่วนของสินค้าในกลุ่มของใช้จำเป็นทั้งอุปโภคและบริโภคมีสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาหารและเกษตรแปรรูป อุปกรณ์การแพทย์ ยา อาหารเสริม เป็นต้น ส่วนคำสั่งซื้อจากต่างประเทศล่าสุดพบว่าเริ่มมีเข้ามาต่อเนื่องในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งจากสหรัฐ จีน และสหภาพยุโรป บางส่วนซึ่งไทยนับเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 11 ของโลก

จึงเห็นได้ชัดว่า แม้ผลกระทบของหลายกลุ่มจะมีเพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีหนทางที่จะทำให้สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสขึ้นมาได้จากกลุ่มอุตสาหกรรมข้างต้น โดยทางภาคเอกชนเองก็ออกมายอมรับในส่วนนี้ และเตรียมแผนที่จะต่อยอดกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในประเทศ

                โดย นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ออกมากล่าวว่า  ขณะนี้ ส.อ.ท.อยู่ระหว่างการเตรียมมาตรการที่จะหารือกับรัฐเพื่อวางแผนการผลิตอย่างไรไม่ให้หยุดชะงักในทุกภาคการผลิต 42 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นที่ต้องประเมินว่าหากปิดเมืองจะบริหารอย่างไรให้ถึงมือประชาชน และเป็นราคาที่เหมาะสมด้วย

นอกจากนี้ ยังเตรียมแนวทางที่จะร่วมวางระบบขนส่งในการกระจายสินค้าให้เพียงพอเพื่อสร้างสมดุลทั้งการผลิตให้สอดรับกับความต้องการในประเทศและส่งออกด้วย เพราะขณะนี้แม้ภาพรวมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบมากกว่า แต่ยังมีกลุ่มอุตสาหกรรมบางส่วนมีความต้องการสูงขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะนำโมเดลการบริหารจัดการประเทศต้นแบบทั้งเมืองอู๋ฮั่น ของจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มาปรับใช้ ซึ่งรายละเอียดและแนวทางจำเป็นต้องหารือร่วมกับภาครัฐอีกครั้ง

ทั้งนี้ ด้านนายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร ส.อ.ท. กล่าวว่า โควิด-19 ที่แพร่ระบาดในไทย ทำให้สินค้าภาคการเกษตรและอาหารแปรรูปมีความต้องการสูงขึ้นมากทั้งข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ เพราะประชาชนบางส่วนมีการกักตัวอยู่ในบ้านหรือทำงานจากบ้าน ทำให้เริ่มกลับมาทำอาหารทานเองเพื่อความปลอดภัยในสุขภาพ ขณะที่ต่างประเทศที่ทยอยล็อกดาวน์ทำให้มีการกักตุนอาหาร ซึ่งไทยก็จะมีโอกาสในการเข้าไปทำตลาดทดแทนในส่วนนี้ได้มากขึ้นเช่นกัน

“ผมคิดว่าคนไทยโชคดีที่มีอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร ปศุสัตว์ ประมงที่เข้มแข็งประเทศหนึ่งของโลก และคนไทยจะมีอาหารอย่างเพียงพอแน่นอน แต่ก็ต้องบริหารจัดการให้ดีด้วย อย่ากักตุนเกินจำเป็น และต้องมองระยะยาวเพื่อทำให้ภาคเกษตรไทยเข้มแข็งกว่านี้ ให้ประโยชน์นั้นตกถึงเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยการผลักดันไปสู่เกษตรปลอดภัย เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ไร้สารตกค้าง” นายศักดิ์ชัยกล่าว

อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงมีช่องว่างเพียงพอให้กับการประตัวของผู้ประกอบการในช่วงวิกฤติแบบนี้ ให้กลับมาเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้ง โดยอาศัยข้อจำกัดที่ว่าคนไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ ให้มาเป็นช่องทางในการขายของ และส่งสินค้าที่มีความจำเป็นไปสู่ท้องตลาดผ่านวิธีการต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าในช่วงที่มีสถานการณ์แบบนี้นั้น ก็มีหลายฝ่ายที่พร้อมจะเข้ามาช่วยกันให้สภาวะเศรษฐกิจในประเทศหมุนเวียนไปได้ท่ามกลางปัญหาอย่างแน่นอน.

 ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"