อดีตพนักงานบินไทย รำพึงเคยผ่านศึกสงคราม โรคระบาดมาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่หนักเท่าโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

 

2เม.ย.63-การบินไทย โพสต์ในเฟซบุ๊ค ชื่อว่า"panprapa Tantivithay "เล่าย้อนอดีต รำพึงถึงการบินไทยที่ต้องหยุดบิน  ว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา เคยเจอมรสุม เหตุการณ์ต่างๆหลายคร้ั้ง  ทั้งสงครามและโรคระบาด  แต่ก็ไม่หนักหนาสาหัส เท่ากับการเจอ โคโรนาไวรัส -2019 พร้อมกับ พูดถึงปัญหาการบินไทย ในฐานะอดีตคนวงใน
1-4-63

ป้าม่วง ... No April Fool

บันทึกเอื้อย ไม้บรรทัด

เมื่อวานไปสหกรณ์การบินไทยที่สุวรรณภูมิกับพี่ตั้ง

พี่ตั้งขับรถเส้นทางที่เคยใช้ตั้งแต่ยังบิน ผ่านสนามบิน เราเห็นเครื่องบินจอดเต็มลาน พูดไม่ออกบอกไม่ถูกเห็นแล้วใจหายจริงๆ

เราเข้าการบินไทยปี 1987 เราจำได้แม่นๆเลยว่าคุณครูผู้สอน Basic Course บอกว่า “ที่ทำงานของพวกเราอยู่บนฟ้า ถ้าเครื่องบินอยู่บนฟ้า บริษัทจะมีรายได้ แต่ถ้าเครื่องจอดอยู่ on ground แปลว่านอกจากไม่มีตังเข้าบริษัทแล้ว เรายังต้องจ่ายค่าจอดให้การท่าฯด้วย”

ครั้งนี้เจ้าจำปีทุก species จอดเรียงกันเต็มไปหมด คุณยายจัมโบ้ คุณป้า Boeing 777 คุณน้า Airbus 330 คุณแม่ 350 คุณพี่ 787 Dreamliner คุณน้อง 380 ตัวอ้วน ดูเหมือนคุณๆทั้งหลายเตรียมตัว social distancing

เราอยู่สายการบินแห่งชาติมา 29 ปี 1 เดือน ถอดปีกแขวนชุดม่วงมาแล้ว 4 ปี 1 เดือน ผ่าน crisis มามากมาย

เราผ่านสงครามอ่าวเปอร์เซีย ช่วงยิงจรวดโทโมฮอครัวๆ บนน่านฟ้าตะวันออกกลาง จนต้องบินอ้อมโลก ครั้งหนึ่งกำลังเสริฟเครื่องดื่มอยู่ใน cabin กัปตันนพพงษ์ประกาศว่า “ท่านผู้โดยสารครับ กรุงแบกแดดอยู่ทางซ้ายมือแต่ไม่ต้องกลัวนะครับ เราจะไม่บินไปบริเวณนั้นแน่นอน” การประกาศของกัปตันนพพงษ์คือตำนานของป้าม่วงจริงๆ

ช่วง 911 ผู้โดยสารหายไปจนเครื่องบินโล่งสนิททุก flight ฝ่าย operation ตัดลูกเรือเพื่อลดค่าใช้จ่ายก็ผ่านมาแล้ว

SARS มหาโหดก็โดนกันถ้วนหน้า ใส่ mask ใส่ถุงมือเสริฟอาหาร บริษัทตัดลด flight จนลูกเรือ Stand by กันครึ่งค่อนเดือน บางคนมี connection ตามล่าหา flight บินจากฝ่ายจัดสเก็ต ฝ่ายเรียกบิน พวกเล่นเส้นนี่ก็มีทุกรูปแบบ

แต่ครั้งนี้หนักหนาสาหัสที่สุด ไม่ใช่แค่พิษโควิด-19 อย่างเดียว แต่เป็นพิษจากเศรษฐกิจที่ recess และมะเร็งร้ายที่เกาะกินสายการบินแห่งญาติจนเอาตัวไม่รอด ตอนนี้เลยเจอ 2 เด้ง อาการป้าม่วงเหมือนกับที่หมอๆออกมาแถลงว่าผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่เป็นเพราะมีโรคประจำตัวมาก่อนที่จะติดเชื้อโควิด-19

โรคมะเร็งที่กัดกินการบินไทยมีมาตั้งแต่เราเป็นเด็กน้อย ไม่เคยมีหมอคนไหนรักษาหายได้เลย หลายปีที่ผ่านมาหมอผ่าตัดหลายรอบ ให้คีโม ฉายแสง เปิดตำราผ่าตัดยกเครื่องกันมาหลายครั้งแล้วก็ยังขาดทุนเข้าขั้นวิกฤติ

เราคิดแบบ basic basic เลยคือบริษัทนี้ไม่มีเถ้าแก่ มือใครยาวสาวได้สาวเอา เส้นใครดีเบียดได้เบียดเลย

ดู organization chart จะเห็นจะจะเลยว่าบริษัทนี้มีผู้บริหารแน่นๆ VP EVP Director Division โอโห้นับไม่ถ้วนเลย มีครบทุกตำแหน่ง จนคนล้นงาน นี่ยังไม่รวมหน้าห้องของนายๆที่แย่งกันวิ่งเข้าเส้นชัยกันนะ

ส่วนระดับ operation ฟันเฟือง มดงานตัวเล็กตัวน้อยก็หัวหกก้นขวิดกันไป ลูกเรือไม่พอ catering loader ขาด cleaner ทำ OT วนๆไป ground staff วิ่ง 4x100 ในสนามบินจนน่องปูด

สรุปคือบานที่หัว!! และหัวบานเพราะเงินเดือนผู้บริหารแต่ละคนไม่น้อยพร้อม benefit ที่ได้ตั๋ว entitle First and Business class

เรา question อยู่เสมอว่า ฝ่าย operation ที่มี operating cost มากมายนั้นคิดจาก cost จริงๆหรือไม่?

นักบินเป็นผู้บริหารฝ่าย operation มีค่าตอบแทนแบบ “เครื่องบินก็จะขี่ เก้าอี้ (บริหาร)ก็จะนั่ง” คือรับค่าตำแหน่งพร้อมการันตี OT เงิน OT ไม่ได้จ่ายจากชั่วโมงที่บินจริง แต่เป็น package จ่ายให้พร้อมตำแหน่งเลย

และปิดกันให้แซดว่าผู้บริหารของลูกเรือก็เอาบ้าง มือใครยาวสาวได้สาวเอา มีตำแหน่งบริหารทำงาน office แต่ weekend เลือกบิน flight ชิลล์ ชิลล์ ไปกิน sushi ที่ Japan & เดินสายกินหมูกะทะในแดนกิมจิ shopping ของเข้าบ้านเบาๆ เราไม่เคยเห็นผู้บริหารไปบินเป็นขวัญและกำลังใจให้ลูกเรือใน flight แขกโต้รุ่งที่มีนายห้างและมหาราณีสั่งอาหารพิเศษ 100 ที่ หรือไปเป็น supervisor ใน flight จีน turnaround ที่หนีห่าววุ่นวายตั้งแต่เครื่อง take off ยัน landing ที่สำคัญคือแพ็คเกจการันตี OT ก็มีด้วย

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาฝ่าย operation ลด cost ตัดโน่นนี่นั่นมาตลอด Flight ที่ผู้โดยสารน้อยจะตัดลูกเรือเพื่อลดค่าใช้จ่ายเช่นเบี้ยเลี้ยง & ค่าโรงแรม ตัดจน Purser คุ้นชิน และไม่เคยหวั่นแม้วันมามาก เพราะฝ่ายเรียกลูกเรือมาเสริมตีเนียนไม่เรียกลูกเรือมาเพิ่มให้ คือถ้าผู้โดยสารเต็ม ลูกเรือขาด ก็ไม่มีลูกเรือมาเสริมทัพ ลูกเรือ on duty ก็จิตตก แต่ก็ช่วยกันบิ้วให้ร่วมแรงร่วมใจดูแลผู้โดยสารจนจบ flight

ยังไม่รวมลดวันพัก ตัดทุกสิ่งอย่างที่จะตัดได้ ลูกเรือให้ความร่วมมือกันแบบ no way out มาโดยตลอด

ลูกเรือไม่ได้มี basic salary มากมาย ยิ่งน้องๆที่เข้ามาใหม่นี่เงินเดือนพอกินพอใช้ แต่เราอยู่ได้เพราะเบี้ยเลี้ยง ซึ่งการจ่ายเบี้ยเลี้ยงนี้ไม่มีการปรับมามากกว่า 20 ปีแล้ว ตั้งแต่เราขึ้นรถเมล์ใน London จ่าย 50 pence จนทุกวันนี้ค่าครองชีพพุ่งไปถึงดาวอังคารค่ารถเมล์ 2.50 ปอนด์ ข้าวหน้าเป็ด takeaway ที่ Four Seasons จาก 4.50 ปอนด์ เป็น 9.50 ปอนด์ เราก็ยังได้เบี้ยเลี้ยงเท่าเดิม

ปี 2019 ค่าใช้จ่ายในฝ่ายนักบินและลูกเรือเพิ่มขึ้นมากมาย คิดเป็นตัวเลขกลมๆแล้วประมาณ 600 ล้าน!! ไหนว่าลดจนเหี้ยน แล้วค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาจากไหน???

วันนี้ในวันที่ปิดเทอมใหญ่ของฝ่ายปฏิบัติการบิน เราขอคิดดังๆสักครั้ง ปี 2019 มี expense เพิ่มขึ้น 600 ล้าน ลองถามผู้บริหารดูว่ามาจากไหน ค่าอะไรบ้าง??

จากเบี้ยเลี้ยงบินที่นักบินและลูกเรือเคยรับเท่ากัน ไปไหนไปด้วยกัน ปี 2019 ของนักบินเปลี่ยนชื่อเป็น pay per block เอาค่าชั่วโมงบิน ค่า OT ค่าสมองไหล ค่าโน่นนี่นั่นมาคำนวณ มาแรงแซงทุกโค้ง (ตอนเสนอวิธีคิด pay per block กัปตันเพื่อนรักของเรายังบอกเลย ทำไม่ได้หรอก บริษัทใช้งบเยอะ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายนักบิน!!)

การบินไทยเป็นสายการบินเดียวในโลก ที่ใช้นักบิน 4 คนบิน flight ยุโรป สายการบินอื่นใช้นักบิน 3 คน บิน 2 คน พัก 1 คน ของเราทุก flight บิน 2 คน พัก 2 คน ผลัดกันบิน ผลัดกันพักไปตลอด flight ทั้งไปและกลับ แต่รับเงินเหมือนบินเต็มกันทุกคน พอคิด pay per block ก็คิดแบบ smart สุดๆคือคิดจากชั่วโมงที่ขึ้นไปอยู่บนเครื่องบิน แมน แมน คุยกันดีกว่า รับ pay per block แล้วบิน 3 คนดีมั้ย?? Save ค่าใช้จ่ายให้บริษัทด้วย

ช่วง crisis โควิท-19 ลูกเรือบิน turnaround flight เกาหลี ญี่ปุ่น คือบินยาว บินไกล บินไป แล้วกลับเลย บริษัทต้องจัดลูกเรือ extra มาเพิ่ม ไฟล์ทละ 3 คน คือบินไปถึง Narita แล้วบินกลับ Bkk เลยลูกเรือกลับมาสะบักสะบอมเป็นซอมบี้ ตามระเบียบบริษัทถ้าเป็น irregularity แบบนี้บริษัทจะให้เบี้ยเลี้ยง extra แต่ตอนนี้ได้ message มาตามนี้ “เบี้ยเลี้ยง extra ที่จะเข้าบัญชีของทุกคน เราต้องรอไปอีกยาวแบบไม่มีกำหนด เพราะแผนกบัญชีบอกว่าบริษัทไม่มีกระแสเงินสดแล้ว”

One company two systems จริงๆ flight turnaround เกาหลี ญี่ปุ่น มีนักบิน 4 คน คิด pay per block ตลอด flight ไป-กลับ บิน 2 พัก 2 ทั้ง 4 คน ได้เงินครบ ส่วนลูกเรือได้แต่ถอนใจและทำตาปริบๆ เบี้ยเลี้ยง extra บริษัทไม่มีเงิน ลูกเรือรอไปไม่มีกำหนด

นี่คือตัวอย่างงบประมาณที่บริษัทตัองจ่ายเพิ่มขึ้นในปี 2019

นี่ยังไม่นับ privilege การ upgrade พวกญาติเพื่อน น้องเมีย ครูลูก เพื่อนวงแชร์ free upgrade มานั่งใน Business Class แบบไม่อายฟ้าดินและแม่ย่านาง เป็นอย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป

ยังมีเรื่องที่ซ่อนไว้ใต้พรมอาละดินอีกมากมาย จัดซื้อสั่งซื้อของมาใช้สำหรับการบริการบนเครื่องบิน อยากซื้อก็ซื้อ ไม่มีการทำ research ตอนเสริฟสำรับเบญจรงค์ใน first class ซื้อชุดเบญจรงค์มามโหฬาร เสริฟได้ไม่นานเบญจรงค์ก็หายไปทั้งสำรับเลย จัดกาชากาแฟ Thermos เก็บความร้อน เสริฟไปหยดไปเช็ดไปเพราะรั่วเลอะหมด สักพักกาชุดนี้ก็หายไปในกลีบเมฆ

การบินไทยเปรียบเสมือนเรือที่มีรูรั่ว ไม่มีใครตั้งใจอุดรู อยู่มาแบบบอบช้ำมาตลอด 60 ปี

ปีนี้โควิด-19 มาเป็นตัวเร่ง จนต้องปิดเทอมใหญ่ 2 เดือน

ถึงเราจะถอดปีกแล้วแต่ยังมีเลือดสีม่วงอยู่เต็มตัว เมื่อวานตั้งใจจะไปซื้อของร้าน Thai Shop ที่สุวรรณภูมิ คิดว่าอย่างน้อยซื้อกระเป๋าสักใบ เสื้อสักตัว ของกระจุกระจิกอีกนิดหน่อยก็ช่วยให้มีเงินสดเข้าบริษัทสักนิด แต่ที่ Thai Shop พนักงานกำลังเก็บของทุกสิ่งอย่างในตู้ลงกล่อง น่าจะปิดร้านสัก 2 เดือน เห็นแล้วเศร้าใจจริงๆ เลยตรงไปที่ Thai Food Truck ขายอาหารกล่อง เราซื้อ Salmon ทอดน้ำปลามา 2 กล่อง หันมาบอกพี่ตั้งว่า “อย่างน้อยก็ได้ช่วยบริษัทนะ”

เราคุยกับเพื่อนพ้องน้องพี่หลายคนที่พร้อมร่วมมือร่วมใจกอบกู้สายการบินแห่งชาติบ้านของเรา ยอมลดรายได้เพื่อช่วยพยุงฐานะบริษัท แต่ที่น่าเห็นใจที่สุดคือพนักงานตัวเล็กตัวน้อยที่มีฐานเงินเดือนน้อยนิด ถ้าจะตัดกันก็แค่จิ๊บๆเถอะนะ ที่ผ่านมาก็เดือนชนเดือนอยู่แล้ว

เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่มี DNA สีม่วง ตั้งสติ อดออม อดทน รอวันฟ้าใส เราจะกลับมาม่วงกระจายอีกครั้งในธุรกิจการบิน อีกไม่นาน........ 

Till we meet again


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"