ย้อนอดีตสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนสู่กรุงเทพฯ เมืองน่าเที่ยวอันดับ 1 ในโลก


เพิ่มเพื่อน    

 

กรุงเทพมหานคร ครองแชมป์อันดับหนึ่งของเมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลกติดต่อกัน 4 ปีซ้อนจากการจัดอันดับเมืองที่คนทั่วโลกนิยมท่องเที่ยวมากที่สุด โดย Mastercard Global Destination Cities Index ในปี 2018 ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมไป คือ วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง วัดโพธิ์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่มีคนเดินทางมาเยือนตลอด ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และอังกฤษ หลงใหลกรุงเทพฯ มาก

 

ตอกย้ำถึงความสำคัญของ กรุงรัตนโกสินทร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงสถาปนาพระนครแห่งใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกเสาเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเมืองในวันที่ 21 เมษายน 2325 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และมีการจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 3 วัน 3 คืน ต่อเนื่องจากงานพระราชพิธี บรมราชาภิเษกพร้อมกับงานสมโภชวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง งานครั้งนั้นจัดทั้งในกรุงและนอกกรุง มีมหรสพต่างๆ เป็นงานที่สนุกสนานเอิกเกริก

 

 

ย้อนประวัติศาสตร์ไทยได้มีการจัดงานสมโภชพระนครหรือเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งใหญ่ขึ้นมาแล้วถึง 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในวาระครบรอบ 100 ปี ครั้งนั้นมีมหรสพทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร   7 วัน 7 คืน ครั้งที่ 3 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี งานฉลองพระนครเป็นเพียงงานรื่นเริงชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริไม่มีสิ่งใดดีกว่าสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ถือเป็นสิริมงคลแก่ชาวกรุงเทพฯ ทั้งสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น

 

และครั้งที่ 4 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในสมัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร การฉลองพระนครทุกครั้ง พระมหากษัตริย์พร้อมด้วยพสกนิกร ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม ครั้งนี้ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองวัดพระแก้ว คู่กรุงรัตนโกสินทร์ แล้วยังมีพระราชพิธี ตามโบราณราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช  พระราชพิธีสมโภชหลักเมือง และเป็นครั้งแรกที่มีตราสัญลักษณ์เป็นภาพเทวดาสององค์พนมมือไหว้ หันหน้าเข้าหากัน สื่อความหมายว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งชาวเทวดา ที่ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เหนือภาพเทวดา เป็นภาพซุ้มวิมาน สื่อสิ่งก่อสร้างงดงามของกรุงเทพฯ ขณะที่ท้องสนามหลวงครึกครื้นด้วยมหกรรมดนตรีไทย ดนตรีสากล มหรสพพื้นเมือง ประกวดรถบุปผชาติ นอกจากนี้ ชุมชนใต้ร่มพระบารมี จัดงานทั่วบริเวณ

 

 

กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นอีกครั้ง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ทุกพระองค์ที่ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความผาสุก กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองศูนย์กลางที่ผสมผสานด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงศิลปวัฒนธรรมที่ลงตัว ทั้งนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชา  สามารถ และพระวิสัยทัศน์ของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ   นานัปการ ส่งผลให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงและราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขจนถึงทุกวันนี้ ด้วยทุนทางวัฒนธรรม โบราณสถาน สถาปัตยกรรม แหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อาหารอร่อย และอัธยาศัยไมตรี ทำให้ผู้คนทั่วโลก จะต้องมาเยือนกรุงเทพฯ ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต


ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ 238 ปี ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2563 นี้ ถือเป็นโอกาสดีที่คนไทย โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะได้เรียนรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม เพราะนี่คือ รากเหง้าและทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"