ฟังเสียงชุมชน ทำไมหญิงกะเหรี่ยงต้องไปช่วยดับไฟป่าจนเสียชีวิต วอนสังคม-ภาครัฐเข้าใจให้ความเป็นธรรม


เพิ่มเพื่อน    

5 เม.ย.63 - นายพฤ โอโดเชา ตัวแทนชุมชนกะเหรี่ยงบ้านป่าคา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึงความสูญเสียจากเหตุการณ์ไฟป่าเชียงใหม่ทำให้ชาวบ้านที่เข้าไปดับไฟป่าเสียชีวิต หนึ่งในนั้นคือ นางต๊ะนี กิจเจริญพัฒน์ หญิงชาวกะเหรี่ยงอำเภอจอมทอง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา โดยนายพฤ กล่าวว่า ทำไมผู้หญิงกะเหรี่ยงไปดับไฟแลัวตาย (ไม่ชำนาญแล้วไปทำไม)กับคำถามนี้ ปีที่แล้วผู้หญิงที่อ.แม่แจ่มเสีย ปีนี้ผู้หญิงอ.จอมทอง คำตอบคือ เพราะผู้หญิงกะเหรี่ยงนั้นจะหวนแหน ผืนป่า วิถีในหมู่บ้าน ห่วงลูกหลาน มากกว่าผู้ชายบางคนด้วยซ้ำไปครับ

ผู้หญิงกระเหรี่ยงทุกคนชำนาญ นำผู้ชายดับไฟป่าปินหน้าผาด้วยซ้ำไป พวกเธอจริงใจกับการหวนแหนการปกป้อง การเป็นห่วง ทำให้ผู้หญิง ทุ่มเท แรงใจแรงกายเพราะคือชีวิตคือธรรมชาติ ไม่อยากให้สิ่งเลวร้ายเข้ามาย่ามกรายหาคนในหมู่บ้านหาลูกหลานในชุมชน แต่ในข้อกังวลต่างๆทั้งหลายเหล่านี้มีความกลัวหลบอยู่ข้างหลัง เมื่อกลัวก็สู้เพื่อจะได้มาซึ่งความปลอดภัยมั่งคง แต่สู้ขณะไหนสิทธิคนกับป่าดูเหมือนยิ่งห่างเหิน รัฐยิ่งขโมยสิทธิไป ใช้กฎหมายปิดกั้นวิถีคนกับธรรม ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นหลังพิงสุดท้นยของความจน รัฐยื้อไปเรื่อยโดยใช้เราเป็นเหยื่อเพื่อจะหุบทรัพยาการแต่เพื่ยงผู้เดียว เบื้องหลังผลประโยชน์คงตรึมกับใครคงทราบ

แน่นอนไฟป่าก็คือ หนึ่งในนั้นที่เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจใช้สั่งการ เช่น หากชาวบ้านปกป้องไฟป่าไว้ไม่ได้ ทางการจะหาว่าชาวบ้านเผาป่าเองไร้สำนึก นำมาซึ่งการฉวยโอกาสยึดป่าของชาวบ้าน และใช้เหตุการณ์นี้กีดกันวิถีชุมชนคนกับป่าหลากหลายวิธีที่กดดันชาวบ้าน เช่น แรงกดดันจากสังคม (ชาวเขาทำไร่เลื่อนลอย ชาวเขาต้ดไม้ทำลายป่า ชาวบ้านหาของป่าแล้วเผาป่า ชาวเขาไม่ใช่ชาวเรา เผาป่าเผาชาติ สีเขียวชาตินิยม) ทั้งที่มีเบื้องหลังอีกหลายเรื่องที่หลบซอนทับซ้อนกันอยู่แต่ไม่เปิดเผย ทำให้คนในชุมชนชาวบ้านต้องแบกรับภาระนี้ ซึ่งเป็นแบบนี้มานานแล้ว

การดับไฟจึงเป็นการกู้วิถีชาวบ้านคืนอย่างหนึ่งเฉพาะหน้า แต่หาดดูดีๆแล้วจะเห็นว่าชาวบ้านทำดีขนาดไหนก็ไม่ดีพอสักทีในสายตาสำหรับคนในเมืองหรือผู้มีอำนาจ คนเมืองบางทีก็ไม่ให้เวลาให้ความสำคัญพอที่จะสนใจ ทางออกคือต้องรับรู้ร่วมกัน คือประชาธิปไตยพื้นฐานที่จะต้องเข้ามาจับต้องเพราะคือทรัพยากรที่ทุกคนควรมีส่วนราวมเรื่องจึงจึงจะมีทางออกและไปด้วยกันได้

ส่วนชาวบ้านอย่างเรา เฉพาะหน้าเพื่อจะได้มีสิทธิมีชีวิตอยู่ในอ้อมกอดของธรรมชาติต่อไป ตามบรรพชนต่อไปเราจึงสู้ตามเกมที่เขาวางไว้ทางก็แคบลงและวิกฤตขึ้นส่งผลกระทบถึงชีวิตมากขึ้นดั่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ไม่มีทางเลือกให้กับชาวบ้านมาก หากไม่ยอมไปเป็นลูกจ้างในเมืองก็สู้อย่างลำบากที่ในหมู่บ้านขอผืนป่ากันและอาจตายล่มสลายได้โดยหลายรูปแบบที่ได้จากแรงกดทับของสังคมดังที่กล่าวมานี้

ทั้งที่ป่าที่การวิถีของชาวกะเหรี่ยง ปกาเกอะญอที่ดูแลป่าทรัพยากรธรรมชาติด้วยทุนตัวเองเหล่านี้ มีประโยชน์ทางอ้อมทางตรงกับทุกคนกับโลกใบนี้ ท่านพอจะเข้าใจไหม ขอบคุณครับ

และต้องเข้าใจอย่างหนึ่งคือ ไฟป่าในภูเขานั้น เกิดเหตุไม่คาดฝันได้เสมอแม้จะชำนาญ เช่นควัน ออกซิเจน แรงลมที่พัดเปลี่ยน เชื้อไฟแรงไฟไม่แน่นอน การจุดไฟตัดไฟหากจุดประสานสื่อสารกันผิดพลาดในป่ากลางคืนยิ่งอันตราย เก่งขนาดไหนตายได้ทุกเวลากับไฟ ไม่ควรใช้อำนาจเหนือกว่า แล้วลอยนวลมากระทำกับคนอยากจนจริงใจกับวิถีธรรมชาติ

เรื่องเรื่องนี้จึงสะท้อนถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่กดทับ ไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงแต่หมายรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์คนยากจนทั่วไป ที่ได้รับเป็นความรุนแรงในรูปแบบ การแตะถ่วงเวลาคือปล่อยให้ตายไปเอง และเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับชาวบ้านอยู่กับป่าเรื่อยๆ เพราะรัฐอยากผูกขาดทรัพยากรแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งไม่เป็นธรรมกับชาวบ้านที่อยู่กับป่ามานานแล้ว จึงขอวิงวอนโปรดเข้าใจ

ขอแสดงความเสียใจทุกคนที่เสียชีวิตและได้รับอุบัติเหตุด้วยอย่างสุดซื้ง ครับ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"