ทปอ.ลงขันตั้งกองทุน 4,000 ล้านช่วยเหลือสังคม ฝ่าวิกฤต "โควิด" 


เพิ่มเพื่อน    

 

14 เม.ย.63-นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ในสภาวะวิกฤติสู้ภัย COVID-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น ทปอ. ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน จึงมีมติจัดมาตรการให้ความช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในระบบอุดมศึกษาให้ครอบคลุมทุกมิติ เน้นการช่วยเหลือกลุ่มนิสิตนักศึกษา ผู้ปกครอง ที่ได้รับ ผลกระทบเป็นอันดับแรก ด้วยการพิจารณาจัดตั้งกองทุนการศึกษา กองทุนช่วยเหลือการจ้างงาน การช่วยเหลือ ค่าธรรมเนียมการศึกษา รวมทั้งให้การสนับสนุนอื่น ๆ ทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การจัดหา SIM ราคา ถูก การส่งจิตอาสาแบ่งปันของและน้ําใจให้ชุมชน การเร่งสร้างโรงพยาบาลสนาม สถานที่กักกัน รองรับจํานวนผู้เสี่ยง การติดเชื้อ และช่วยเหลือบุคคลที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ทปอ. ตระหนักดีว่ามาตรการเยียวยาที่ได้กําหนดขึ้นนั้น  ไม่ได้เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานที่ลดลงแต่อย่างใด แต่ ทปอ. ต้องการช่วยแบ่งเบาภาระที่เราทุกคนต้องเผชิญและช่วยเหลือสังคมให้ฝ่าฟันวิกฤติ ครั้งนี้ไปด้วยกัน ด้วยงบประมาณรวมกันทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท ไม่นับรวมการผลิตนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ สถาบันอุดมศึกษาได้เร่งระดมสรรพกําลังในการช่วยเหลือสังคมอย่างเร่งด่วนด้วยอีกจํานวนหนึ่ง ทั้งน้ีเพื่อให้นิสิต นักศึกษาและประชาชนชาวไทยได้มีกําลังใจผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกัน “เราจะสู้ไปด้วยกัน

นายสุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการเยียวยาของสถาบันอุดมศึกษา ทปอ.มีดังนี้ 1.สนับสนุนนโยบายภาครัฐในการปรับลดงบประมาณของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการเยียวยาสังคมใน ภาพรวม ใช้งบประมาณจํานวน 300 ล้านบาท และงบประมาณบางส่วนของสถาบันอุดมศึกษาในกํากับ ของรัฐ ประมาณ 500 ล้านบาท 2.การช่วยเหลือค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1และภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สําหรับหลักสูตรปกติ ใช้งบประมาณจํานวน 2,000 ล้านบาท รวมทั้งการผ่อนผันการชําระ ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา ทั้งนี้การบริหารจัดการจะเป็นรูปแบบใดเพื่อช่วยในการเยียวยาและ มุ่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายนิสิต นักศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง เป็นอํานาจของสภามหาวิทยาลัยที่จะพิจารณา 3.การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดหา Educational SIM ช่วยการเข้าถึง Internet การซื้อลิขสิทธิ์โปรแกรมการเรียนการสอนออนไลน์ Google Meet, Microsoft Teams, Cisco Webex Meeting เครื่องมือบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การพัฒนาอาจารย์ด้าน IT ใช้งบประมาณจํานวน 500 ล้านบาท 4.การจัดตั้งกองทุนมหาวิทยาลัยเพื่อเยียวยานิสิตนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถศึกษาเล่าเรียนจนสําเร็จ การศึกษา การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือการจ้างงาน การหางานสําหรับผู้สําเร็จการศึกษา ใช้งบประมาณจํานวน 400 ล้านบาท

นายสุชัชวัร์ กล่าวอีกว่า 5. การสนับสนุนปรับลดค่าธรรมเนียมสนับสนุนการศึกษาต่าง ๆ เช่นค่าธรรมเนียมหอพัก ค่าธรรมเนียมการ รักษาสภาพ การทําประกันภัย COVID-19 ใช้งบประมาณจํานวน 100 ล้านบาท 6. การเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมใช้งบประมาณจํานวน 300ล้านบาท ได้แก่ โครงการจิตอาสาแบ่งปันให้สังคมชุมชนรอบสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การทําเจลแอลกอฮอล์ การผลิตหน้ากากอนามัย การจัดทําน้ํายาพ่นฆ่าเชื้อ อาหารเครื่องดื่มให้บุคลากรทางการแพทย์ จัดบุคลากร นิสิตนักศึกษา จิตอาสาให้ความรู้ ช่วยคัดกรองตามจุดคัดกรองของชุมชน การจัดส่งเมล็ดพันธุ์พืชสวนครัว โครงการจัดตั้งโรงพยาบาลภาคสนาม ไม่น้อยกว่า 2,000 เตียง และสถานที่กักกันตัว รองรับได้ประมาณ1,400 คน โครงการให้ความช่วยเหลือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ การลดค่าเช่าพื้นท่ีขายอาหาร ขายของ

“ภารกิจของอุดมศึกษาคงไม่ได้มีแค่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายภายในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น สถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่หลายแห่งทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคได้ใช้โรงพยาบาลในสังกัดให้บริการคัดกรอง ตรวจเชื้อ และรักษาผู้ป่วย ผู้เสี่ยงติดเชื้อร่วมกับโรงพยาบาล ภาครัฐตั้งแต่เกิดสถานการณ์มาโดยตลอด การส่งนิสิตนักศึกษาและบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมเป็นจิตอาสาทั้ง ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนสร้างขวัญและกําลังใจให้กับชุมชนโดยรอบ แจกจ่ายอุปกรณ์จําเป็น เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย การให้ความรู้ในการดูแลตนเองปละครอบครัว และที่สําคัญสถาบันอุดมศึกษายัง ใช้องค์ความรู้ในการเร่งเร่งระดมสรรพกําลังคิดค้นสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ในสภาวะที่ทั่วโลกเผชิญวิกฤติ พร้อมกัน โดยที่บุคลากรทุกภาคส่วนเร่งประดิษฐ์อุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ มูลค่าไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท เพราะ ทปอ.ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบท่ีมีต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม“ประธาน ทปอ.กล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"