'ปิยบุตร'อัดรัฐบาลบริหาร'คณาธิปไตย'อุ้มกลุ่มทุนแต่อ้างสารพัดช่วยคนจน


เพิ่มเพื่อน    

19 เมษายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจคณะก้าวหน้าแรงงาน จัดไลฟ์สดพูดคุยในหัวข้อ "Eat The Rich : เมื่อคนส่วนใหญ่ถูกกดขี่ ความเจ็บปวดสิ้นหวังของมวลชนจะพ่นพิษใส่ทุกส่วนของสังคม" โดยเชิญ

นายปิยบุตร แสกกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในแกนนำคณะก้าวหน้า ร่วมพูดคุยโดยตอนหนึ่งนายปิยบุตร กล่าวว่า มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลออกมาถูกวิพาษ์วิจารณ์มาก แต่สิ่งหนึ่งที่ตนอยากชวนมอง ไม่ใช่เรื่องว่ารัฐบาลเก่งหรือไม่เก่ง มีประสิทธิภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพ แต่เป็นวิธีคิดของรัฐบาลชุดนี้ที่เป็นแบบ 'คณาธิปไตย' คือ คิดถึงคนส่วนน้อย เช่น กลุ่มทุนต่างๆ ช่วยกลุ่มเหล่านี้ก่อน ตัดสินใจทำได้เลยทันที แต่ขณะที่พอจะช่วยเหลือคนส่วนใหญ่กลับมีข้ออ้างสารพัด อยากชวนให้คิดเรื่องนี้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา เวลาเราพูดเรื่องประชาธิปไตย ก็จะมีคนออกบอกว่าทำไมไม่พูดเรื่องปากท้อง ไม่พูดเรื่องเรื่องสวัสดิการชีวิตความเป็นอยู่ แต่วันนี้ ชี้ให้เห็นแล้วว่า ความเป็นประชาธิปไตยนั้นส่งผลจริง ๆ เพราะรัฐบาลคณาธิปไตยแบบนี้ คือ ปกครองกันโดยคนส่วนน้อย ทำเพื่อคนส่วนน้อยแบบนี้ ก็จะมีเพียงคนกลุ่มเดียวได้ทุกอย่าง ในขณะที่คนส่วนใหญ่อาจจะได้อยู่บ้าง แต่ก็ได้เพื่อทำให้คุณเชื่อง ทำให้คุณไม่ลุกฮือต่อต้านเท่านั้น

"ดังนั้น ความเป็นประชาธิปไตยจึงสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องปากท้อง เรื่องคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นกระแสไปทั้งโลกกับการที่รัฐธรรมนูญได้เพิ่มการรับรองสิทธิเสรีภาพต่างๆ ซึ่งนานวันเข้าก็จะมีสิทธิเสรีภาพใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิ สิทธิการมีที่อยู่อาศัยขั้นพื้นฐาน สิทธิในการมีออาหารที่ดี สิทธิในการมีอากาศบริสุทธิ์หายใจ เราขยายสิทธิใหม่ๆ เต็มไปหมด แต่ในท้ายที่สุด จะเขียนรับรองอย่างไร ถ้าเบื้องต้นไม่มีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะทำให้มีชีวิตอยู่ได้ ประชาชนต้องเอาตัวรอดไปแต่ละวันอย่างนี้ สิทธิอื่นๆ ก็ไม่มีประโยชน์" นายปิยบุตร กล่าว

นายปิยบุตร กล่าวอีกว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลเล่นกับอารมณ์ร่วมของสังคมที่สุกงอมเพียงพอที่จะยอมรับให้อำนาจรัฐที่มากขึ้นและจำกัดเสรีภาพเพื่อประโยชน์อื่น จึงน้อยมากที่จะเกิดเสียงคัดค้าน แต่ลักษณะแบบนี้ เราก็เห็นแล้วว่าใช้ไปสักพักปรากฏว่าแก้ไม่ได้หรือแก้ได้แต่ก็เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น แก้โรคระบาดได้แต่เกิดปัญหาเศรษฐกิจ นี่คือวิธีคิดที่ส่งผลให้เกิดเป็นผลกระทบต่อเนื่อง ยังเป็นเรื่องการที่รัฐมีใบอนุญาตให้ยกเว้นกฎหมาย คือ การประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ไม่ได้หมายความว่าไม่มีระบบกฎหมายเหลืออยู่เลย คือ อย่างน้อยก็ต้องทำตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือถ้าอ้าง พ.ร.บ. ควบคุมโรคระบาด ก็ต้องอาศัยอำนาจตามกฎหมายตัวนี้ แต่ทุกวันนี้ เจ้าหน้าที่รัฐหรือความรับรู้สังคมเหมือนกับว่ามีการยกเว้นกฎหมาย อยากทำอะไรก็ทำได้ เช่น กฎหมายเขาสั่งห้ามกระทำการอันเป็นการส่งผลกระทบต่อการแพร่โรค แต่เอาบทบัญญัตินี้ไปขยายความว่า ใครไม่ใส่หน้ากากออกจากบ้านจะมีโทษ สถานการณ์วันนี้ ยังทำให้เกิดความกลัวรวมหมู่ขึ้น ใครไม่ให้ความร่วมมือ ใครไอ จาม  โดนตำหนิ หรือการออกไปเจอกันไม่ได้ มีคนตายวัดยังไม่ให้เผาศพ ซึ่งนานวันเข้าก็เหมือนว่าจะถอดความเป็นมนุษย์ออกให้เหลือเป็นสิ่งมีชีวิตทางชีวิวิทยา ความสัมพันธ์คนเปลี่ยน เจอกันไม่ได้ ซึ่งพอเวลาผ่านไปคนก็เริ่มรู้สึกว่าเกินไป

"จากทั้งหมดนี้ ทำให้คิดว่าราวสิ้นเดือนเมษายน คนจะเริ่มรู้สึกว่าอยู่แบบนี้ต่อไม่ได้ ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องนำมาตัดสินใจ ด้านหนึ่งถ้าไม่ผ่อนเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร อีกด้านก็ต้องคิดเรื่องการป้องกันแพร่ระบาด อยู่ที่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ล็อกดาวน์หรือผ่อนคลาย แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหลังวิกฤตคลี่คลาย ความไม่พอใจรัฐบาลชุดนี้ซึ่งมีอยู่ และจะเพิ่มมากขึ้นเพียงแต่ตอนนี้แสดงออกไม่ได้ ซึ่งนี่นับเป็นช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อที่สำคัญเหมือนกัน" นายปิยบุตร กล่าว

นายปิยบุตร กล่าวด้วยว่า ในการที่รัฐบาลตัดสินใจเรื่องนโยบาย จะมีชุดคำอธิบายเกิดขึ้น 2 แบบ คือ ทำได้กับทำไม่ได้ เรื่องที่มีวิธีคิดว่าทำไม่ได้ก็จะเต็มไปด้วยข้ออ้างสารพัด เช่น จะเอาเงินมาจากไหน แต่ในขณะที่อีกนโยบายซึ่งทำได้ ตัดสินใจทำเลย ส่วนเรื่องเงิน เดี๋ยวค่อยไปคิดหาเอา และจากสถานการณ์โควิด-19 นี้ สิ่งหนึ่งที่คนเคยคิดมาตลอดว่าเป็นไปไม่ได้ หากแต่วันนี้มีการพูดถึงเยอะมาก นั่นคือ เรื่องระบบเงินเดือนพื้นฐานชีวิต หรือ Universal Basic Income (UBI) ซึ่งเมื่อ 5-6 ปีแล้ว พูดเรื่องนี้ก็จะมีคนต้านว่าเป็นไปไม่ได้ เป็นการเอาเงินไปแจกคน ทำให้คนขี้เกียจ ไม่ทำงาน เป็นการฝากสังคม หากแต่วันนี้ เมื่อเจอวิกฤตเข้าจริงๆ ทำให้เริ่มกลับมาทบทวนแล้วว่า ระบบเงินเดือนพื้นฐานชีวิตจะทำให้คนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ช่วยเรื่องการดำรงชีวิตพื้นฐานได้  ตนคิดว่า ตอนนี้เราอยู่การต่อสู้ระหว่างความคิดความเชื่ออุดมการณ์ วาทกรรมและเรื่องเล่าที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ว่า จะอยู่กันแบบใช้เงินช่วยคนไม่กี่คน หรือจะช่วยเหลือคนส่วนใหญ่  และไม่ใช่อยู่ที่ว่ามีเงินทำได้หรือไม่ได้ แต่อยู่ที่รัฐบาลว่ามีเจตจำนง การตัดสินใจว่าเห็นความสำคัญของอะไรมากกว่ากัน ถ้ายังตัดสินใจเพื่อคนส่วนน้อยไม่กี่ตระกูลแต่ยึดอำนาจทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจไว้อยู่ มันก็คือ คณาธิปไตย

"หลังวิกฤตนี้คิดว่ามี 3 เรื่องใหญ่ทบทวน คือ 1. เศรษฐกิจใหม่ วิธีคิดนโยบายเศรษฐกิจต้องเปลี่ยนเป็นประชาชนมาก่อน ไม่ใช่ทุนใหญ่ จะเริ่มคิดสร้างสวัสดิการใหม่ๆ  ระบบเงินเดือนพื้นฐานชีวิตต้องเริ่มพูดกันว่าจะอยู่ในระดับไหน  2.การเมืองแบบใหม่ รัฐบาลเจอวิกฤตการณ์ความชอบธรรมตั้งแต่ฐานที่มาไม่ถูกต้อง และพอเกิดวิกฤตการณ์ก็ไม่มีความสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ได้ เรื่องนี้จะส่งผลต่อเนื่องถึงรัฐธรรมนูญด้วยว่าต้องมีการแก้ไข เพราะไม่อย่างนั้นก็จะได้รัฐบาลแบบนี้อีก และ 3.การต่างประเทศใหม่ องค์กรระหว่างประเทศถึงเวลาทบทวนเรื่องการรวมตัวกันว่า รวมกันเพื่อเศรษฐกิจ การตลาด การค้าขายอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอแล้ว ต้องคิดถึงมนุษย์ คิดถึงสิ่งแวดล้อม คิดถึงคุณภาพชีวิตด้วย ยกตัวอย่างสหภาพยุโรป หรืออียู ในวิกฤตครั้งนี้ ช่วยเหลือหรือแก้ไขอะไรไม่ได้เลย นั่นแสดงว่าคุณรวมตัวกันโดยเน้นแต่เรื่องขายของ เน้นแต่เรื่องความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ไม่ได้คิดถึงคุณภาพชีวิตผู้คน" นายปิยบุตร กล่าว

 



เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"