ม.รังสิต วอนคสช."ปลดล็อก"วิจัยสารสกัดกัญชากับมนุษย์


เพิ่มเพื่อน    

คณะเภสัชศาสตร์ ม.รังสิต เผยสารสกัดกัญชาเพื่อบำบัดโรคมะเร็ง ที่พัฒนาวิจัยขึ้นมา เป็นแบบสเปรย์พ่นปาก  ผ่านการทดลองในสัตว์เรียบร้อย  เหลือเพียงการทดลองในคน ที่อย.ยังไม่อนุญาต วอนคสช.ปลดล็อกให้ทำการวิจัยขั้นต่อไปได้ เพื่อไม่ให้ตำรับยาไทยโบราณ   ภูมิปัญญาตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ใช้ประโยชน์และได้รับการต่อยอด

    วันที่ 3 เม.ย.-ที่มหาวิทยาลัยรังสิต  มีการแถลงข่าว “ความคืบหน้าการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่างซึ่งสกัดจากกัญชา” โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิจัยและพัฒนาตำรับสเปรย์ฉีดพ่นในช่องปากจากสารสกัดกัญชา สำเร็จแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการขอขึ้นทะเบียนต่อไป  


    โดย รศ.ดร.ภญ.นริศา คำแก่น หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์นี้มุ่งเน้นไปที่การบำบัดอาการปวดจากโรคมะเร็ง ซึ่งมีอุบัติการณ์การเกิดโรคในประเทศไทยค่อนข้างมาก เพื่อลดอาการข้างเคียงเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด นับว่าเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง ผลิตจากสารสกัดจากกัญชา 2 ชนิด คือ สาร THC โดยงานวิจัยมีฤทธิ์ลดการเจริญเติบโตและลดการลุกลามของเซลล์มะเร็งทางเดินน้ำดี  สาร CBD ยังได้รับการยอมรับทางการแพทย์เพื่อนำมาใช้ลดอาการปวด อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการแพ้จากการได้รับยาเคมีบำบัดและ ได้มีการจดทะเบียนและอนุญาตให้ใช้ได้ในหลายประเทศ


    หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวต่อว่า สารทั้ง 2 ชนิด ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในหลายประเทศ แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง ควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและยืดเวลาการมีชีวิตรอดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น ม.รังสิตถือว่าเป็นที่แรกที่ได้รับอนุญาตให้มีการนำกัญชามาใช้และผลิต ขณะนี้ได้ผ่านการทดลองในหลอดทดลอง และแปรผลปรับอัตราส่วนมาใช้ในสัตว์ทดลองเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการอนุญาตทาง อย.เพื่อขอขึ้นทะเบียน นำมาแปรผลและปรับอัตราส่วนเพื่อมาใช้วิจัยในมนุษย์ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 1 ปี เช่นเดียวกับตอนที่ขอปรับสูตรเพื่อมาใช้ในสัตว์ทดลอง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งมีข้อจำกัดมาก และสาร THC มีการออกฤทธิ์ให้มึนเมาก็ต้องมีการควบคุมเพื่อปรับสูตรมาใช้ในมนุษย์


    รศ.ดร.ภญ.นริศรา กล่าวอีกว่า เหตุผลที่เลือกเป็นสเปรย์ฉีดพ่นในช่องปาก เนื่องจากเมื่อเราฉีดพ่นสเปรย์เข้าไปสัมผัสกับเยื่อบุในช่องปาก ตัวยาสามารถดูดซึมได้ทันที ซึ่งแตกต่างจากยารับประทาน หากเราทานยาลง ตัวยาหรือสารสำคัญจะถูกสารในร่างกายทำลายได้ ดังนั้น ข้อดีที่เด่นชัดของยารูปแบบนี้คือ ตัวยาจะไม่ถูกทำลายที่ตับและออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า


    ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า มะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตปีละ 7-8 หมื่นคน มีการปนเปื้อนในอาหารมากขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้พบมะเร็งมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันจะรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งจะทำลายเซลล์ดีไปด้วย ส่งผลข้างเคียงต่อชีวิตผู้ป่วย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่ากัญชาจะทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็ง  ทั้งนี้งานวิจัยในมนุษย์จะใช้เวลา 3-4 เดือน หากสำเร็จแสดงว่าจะเป็นการช่วยชีวิตมนุษย์ได้อย่างดี ซึ่งก็ต้องอาศัยการปลดล็อคจาก อย.ให้สามารถนำมาใช้วิจัยในมนุษย์ได้ 


    นพ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ กล่าวว่าอย่างไรก็การขอขึ้นทะเบียนก็ไม่ได้ขอให้มีการเสพอย่างเสรี แต่ต้องการขอเพื่อให้นำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ได้  ทั้งนี้ก็เข้าใจว่าหลายฝ่ายเกรงกลัวว่ากัญชาจะมีการแพร่หลาย และไม่มั่นใจในประสิทธิภาพ แต่จากการทดลองในสัตว์ทอดลองก็คิดว่าได้ผลเป็นอย่างดี ดังนั้น คสช.ก็ต้องเอื้อให้สามารถมาใช้ประโยชน์ในคนได้โดยการออก ม.44  จะได้ทราบว่าจะได้ผลหรือไม่  ซึ่งหาก คสช.กล้าจะปลดล็อก เพื่อนำไปสู่งานวิจัยในคน ซึ่งจากงานวิจัยคนทั่วโลกบอกแล้วว่ามีโอกาสรักษามะเร็งได้ จะทำให้เป็นประโยชน์และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนได้เป็นอย่างดี 


    นอกจากนี้กัญชาที่มีการสกัดยังมีคุณภาพไม่เพียงพอ ดังนั้นก็ได้มีการขอพื้นที่ในการปลูกกัญชาในระบบปิด เพื่อปลูกกัญชาที่มีคุณภาพด้วย โดยขณะนี้ได้มีการขอให้มีการแก้ พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้เปลี่ยนกัญชาจากยาเสพติดประเภทที่5 เป็ นประเภทที่ 2  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ โดยขณะนี้ได้ผ่านกฤษฎีกา เหลือขั้นตอน สนช.พิจารณา ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาและการพิจารณากฎหมายอีกหลายตัว


    นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต กล่าวว่า จากข้อมูลที่ได้มีการหารือร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งระดมนักสมุนไพรมาช่วยกันค้นว่า ประเทศไทยเคยใช้กัญชาในทางการแพทย์กี่ตำรับ พบว่า ค้นได้ 12 เล่มรวม 91 ตำรับ แสดงว่าเรามีความรู้ภูมิปัญญาวิธีการใช้กัญชามายาวนาน ตั้งแต่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และมีบันทึกในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชด้วย มีการนำกัญชามาใช้ต่อเนื่อง จึงทำให้เห็นโอกาสว่าหากมีการปลดล็อกกฎหมายและนำมาใช้ในทางการแพทย์ได้ และกรมการแพทย์แผนไทยฯ ไม่ต้องมาเสียดายตำรับยาโบราณจำนวนมากที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ที่สำคัญทำให้มีความหวังในการใช้ในการรักษาโรคต่างๆ มีผลิตที่ได้มาตรฐาน  ซึ่งถ้าไม่ปลดล็อกโทษจะเกิดกับผู้แอบใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เกิดกับผู้ที่รอความหวังจะเป็นตำรับยารักษาโรคอื่นๆ อีกมากมายก็จะสิ้นหวังลง อย่างตำรับยาเบญจอำมฤตย์ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ ใช้ทดลองอยู่ที่โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยยศเส ที่ไม่ได้ผลเพราะบางตำรับต้องมีกัญชาเข้าไปผสม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"