'เทวัญ' ยก 'วัดระฆัง' ต้นแบบการจัดตั้ง 'โรงทาน' บริหารจัดการตามมาตรฐานการป้องกันโรคระบาด


เพิ่มเพื่อน    

23 เม.ย.63 - ที่วัดระฆังโฆสิตาราม นายเทวัญ ลิปตพัลลภ  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ลงพื้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม  เพื่อติดตามการบริหารจัดการของโรงทาน ตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ให้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบความยากลำบากในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19  โดยวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่ชุมชนแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย มีประชาชนอาศัยอยู่บริเวณรอบวัดหลายร้อยครัวเรือน  พบว่าเมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19  ประชาชนประสบความทุกข์ยากเป็นจำนวนมาก

ก่อนการเยี่ยมชมโรงทาน นายเทวัญ ได้เข้าถวายสักการะ เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช  และพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม

จากนั้นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้พบปะประชาชนที่มารอรับบริจาคสิ่งของ  โดยวัดได้ประสานใช้สถานที่ของโรงเรียนโฆสิตสโมสร เป็นสถานที่พักรอก่อนให้ประชาชนเข้าแถวรับสิ่งของบริเวณจุดที่ทางวัดจัดไว้ ซึ่งในการบริหารจัดการแจกจ่ายสิ่งของให้ประชาชนทางวัดได้ยึดแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยการจัดที่นั่งพักรอและการเข้าแถวต้องมีการเว้นระยะห่าง 1 ถึง 2 เมตร มีการกำหนดจุดชัดเจน รวมถึงจัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อคัดกรองเบื้องต้น ก่อนเข้ารับสินค้าในบริเวณจุดรับของบริจาค  ในส่วนของการรับสิ่งของจะให้ประชาชนเป็นผู้รับเองโดยไม่มีการสัมผัสมือระหว่างผู้ให้และผู้รับ

นายเทวัญ กล่าวกับประชาชนว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องใช้มาตรการเหล่านี้ เพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19  และจากตัวเลขของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ลดลง  จากหลัก 100 เป็นหลัก 10  เพราะความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชน  ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้ขอบคุณประชาชนที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล

นายเทวัญ ได้เยี่ยมชมการปฏิบัติงานของประชาชนจิตอาสา  ภายในโรงครัวของวัด ซึ่งมีการประกอบอาหารเพื่อแจกจ่ายแก่เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนในชุมชนวัดและพื้นที่ใกล้เคียง โดยนายเทวัญ ได้มอบข้าวสารจำนวน 6 กระสอบให้ทางวัด เพื่อใช้ในการประกอบอาหารและแจกจ่ายให้กับประชาชนต่อไป

การเยี่ยมชมการดำเนินงานของโรงทานวัดระฆังโฆสิตาราม ได้เห็นการบริหารจัดการที่ดี เป็นระบบ และเป็นต้นแบบให้วัดอื่นที่มีการจัดตั้งโรงทาน เป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข  นอกจากว่าจะเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธแล้วยังเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกชาติ  ศาสนา ไม่ใช่เพียงชาวพุทธเท่านั้น การได้เห็นผู้มีจิตกุศลนำสิ่งของมาร่วมบริจาค เพื่อให้ทางวัดแจกจ่ายประชาชน แสดงให้เห็นถึงน้ำใจคนไทยที่ช่วยเหลือกัน สิ่งนี้เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย และอยากให้คนไทยทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน ป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  หรือการปฏิบัติตามข้อแนะนำของภาครัฐ ในการสวมหน้ากากอนามัย มันล้างมือประจำ ละเว้นระยะห่าง1 ถึง 2 เมตร ทั้งนี้หากพบมีอาการไข้สูงหรือร่างกายผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที

นายเทวัญ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่าทางวัดระฆังได้ตั้งโรงทาน และดำเนินการจัดระเบียบตามมติของสำนักงานพระพุทธศาสนาร่วมกับมหาเถรสมาคม ในเบื้องต้นวัดที่จัดตั้งโรงทาน ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละวัด ซึ่งแต่ละวัดมีศักยภาพไม่เท่ากัน เพราะบางวัดก็ใกล้กับชุมชน บางวัดห่างไกล เบื้องต้นมีการตั้งโรงทานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้มีประมาณ 300-400 วัด

ทั้งนี้วัดไหนจัดตั้งโรงทานจะต้องแจ้งเจ้าคณะจังหวัด และการเปิดโรงทานจะต้องยึดตามระเบียบ ส่วนกรณีที่หลายวัดในขณะนี้ ไม่มีญาติโยมมาทำบุญ ไม่ได้ออกบิณฑบาต ไม่มีกิจนิมนต์ เพราะผลกระทบจากโควิด-19  ทาง มส.ก็กำลังดำเนินการช่วยเหลือ

"ตามระเบียบ มส.ประชาชนที่มารับอาหารจากโรงทานในแต่ละวันจะมารับไป โดยไม่มีการทานที่วัด และต้องจัดระเบียบ ท่านที่มาจะได้หน้ากาก ตรวจวัดอุณหภูมิ เจลล้างมือ และได้อาหารกลับไปรับประทาน ส่วนเรื่องมิจฉาชีพรับไปแล้วไม่เอาไปแจกนั้น เราไม่ได้กังวล เพราะไม่ได้แจกเป็นจำนวนมากๆ" นายเทวัญกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"