"ปฐม เฉลยวาเรศ"เน้นทีมเวิร์กในการทำงาน


เพิ่มเพื่อน    


    แม้ว่าขณะนี้ไทยเราจะต้องเผชิญกับวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ อาทิ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) รวมถึงการให้คนทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อเป็นการยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว 
    เช่นเดียวกันกับกระทรวงคมนาคม ที่ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดหาแนวทางการดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาล แต่ด้วยภารกิจทางด้านการคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในช่วงเวลานี้ ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ภายใต้พื้นฐานของระเบียบที่กำหนด


    ในโอกาสนี้  "อาทิตย์เอกเขนก" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ "ปฐม เฉลยวาเรศ" อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ที่จะมาพูดคุยเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ และแนวทางการทำงานที่ต้องเข้ามารับผิดชอบดูเรื่องการก่อสร้างต่างๆ ที่กรมรับผิดชอบทั่วทุกภูมิภาคในประเทศ
    ดีกรีไม่เบา มาดูด้านการศึกษา จบปริญญาตรีจากวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ.2526, ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2529, ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต เกียรตินิยม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ.2548, นักปกครองระดับสูง สถาบันดำรงราชานุภาพ (นปส.รุ่นที่ 56) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 54 ประจำปีการศึกษา 2554-2555
    ด้านประสบการณ์การทำงาน ปี 2542 ตำแหน่งวิศวกรวิชาชีพ 8 วช., ปี 2546 ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก โครงการก่อสร้างสะพานพระราม 4, ปี 2551 วิศวกรวิชาชีพ 9 วช. (ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา) ด้านการก่อสร้างสะพาน, ปี 2552 ผู้อำนวยการสำนักก่อสร้างสะพาน (อำนวยการสูง) ปี 2562-ปัจจุบัน รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (นักบริหาร) เรียกได้ว่าเป็นลูกหม้อของกรมทางหลวงชนบทกันเลยทีเดียว


    กลับเข้ามาที่ไลฟ์สไตล์ประจำวันที่นอกเหนือจากการทำงาน อธิบดีเล่าให้ฟังว่า ตื่นเช้ามาทำหน้าที่ส่งลูกไปโรงเรียนทุกเช้า เพราะส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาที่จะไปดูแล ดังนั้นจึงใช้เวลาช่วงเช้าทุกเช้าไปส่งลูก ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ถ้าว่างก็เล่นกอล์ฟบ้าง เพราะเป็นกีฬาโปรด นอกจากนี้ก็มีปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ทั้งสุนัขและแมว มีเต็มบ้านหมด ทั้งรับมาเลี้ยงและซื้อมาเลี้ยง ส่วนใหญ่ค่อนข้างจะเป็น Family man อยู่กับครอบครัวเป็นหลัก ส่วนจะออกไปจอยกับเพื่อนก็เฉพาะหลังเล่นกอล์ฟช่วงเสาร์-อาทิตย์ 
    ส่วนการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา มีนโยบายเน้นทีมเวิร์ก เป็นหลัก เราทำงานเหมือนเป็นพี่เป็นน้อง อาศัยทำงานร่วมกันเป็นพี่เป็นน้อง เป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริหารงานคนเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยทีมเวิร์กเป็นหลัก ต้องช่วยเหลือกัน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดซึ่งความสำเร็จในการทำงาน
    สำหรับหลักการทำงาน ทำแบบ partnership ส่วนตัวแล้วมีแนวคิดกับผู้รับจ้าง กับลูกน้อง หรือที่ปรึกษา ถือเป็นเพื่อนร่วมงาน จะไม่ถือว่าตัวเองเป็นเจ้านาย เพราะงานจะสำเร็จได้ต้องร่วมกำลังใจทำงานกันทั้งสามฝ่าย มีปัญหาต้องมาคุยกัน จะสั่งงานโดยคนเดียวไม่ได้ เมื่อมีปัญหาเขาจะไม่กล้าเข้ามาบอกว่ามีปัญหาติดขัดอะไร การทำงานร่วมกันต้องใช้วิธีประสานกัน ปรึกษาหารือชี้แนะปัญหาร่วมกัน จึงจะอยู่ร่วมกันได้


    ในด้านของหน้าที่ที่ได้รับมอบ ไม่ได้มีความหนักใจแต่อย่างใด แต่ที่กังวลใจคือกรมทางหลวงชนบทจะขาดบุคลากร เนื่องจากเราจะสูญเสียผู้บริหารของกรมที่จะเกษียณอายุราชการภายในปี 2564-2565 เป็นจำนวนมาก ภายใน 2 ปีข้างหน้า ผู้เชี่ยวชาญกับผู้อำนวยการสำนักจะเหลือ 2 คน หากไม่มีการแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ ขณะนี้ได้จ้างที่ปรึกษาของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) กับกรมทางหลวงชนบท ว่าต้องวิเคราะห์การจัดโครงสร้างเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพจะสามารถทำได้โดยวิธีใด
    เช่น การลดจำนวนของสำนัก จากเดิมที่มีแนวคิดว่าจะกระจายไปใน 18 สำนัก แต่ขณะนี้เรามี 15 สำนัก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินว่าจะต้องให้มีกี่สำนัก เป็นไปได้ว่าอาจจะเหลืออยู่ 6 สำนัก แต่ยังคงความมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สุด แล้วต้องรอผลวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนบุคลากรนั้น ขณะนี้ดูในส่วนของนักเรียนทุนเพื่อให้เข้ามาเสริมตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ คาดว่าจะใช้เวลาปรับปรุงดำเนินการสิ่งเหล่านี้ภายในเวลา 2 ปี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"