เรื่องจริงที่คนตายไม่ได้พูด


เพิ่มเพื่อน    

          ไม่รู้จะยินดีอย่างไรแล้ว!

            ข่าวดี...คุณหมอทวีศิลป์ วิษณุโยธิน แถลงตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่วานนี้ (๓๐ เมษายน) ต่ำสิบเป็นวันที่สี่

            แค่ ๗ ราย          

            ยอดผู้ป่วยสะสม ๒,๙๕๔ คน รักษาหายแล้ว ๒,๖๘๗ ราย

            เท่ากับว่ายังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเพียง ๒๖๗ คน เท่านั้น

            ขณะที่ยอดรวมทั่วโลก ๒๔ ชั่วโมงเพิ่มกว่า ๒ แสนราย ในไทยเพิ่ม ๗ คน ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันของคนไทย

            และความสามารถในการบริหารจัดการของภาครัฐ

            แม้วันนี้ประเทศไทยถอยจากปากเหวโควิดไปไกลพอสมควร 

            แต่ก็ยังมีปัญหาต้องแก้อีกมาก

            โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน

            ช่วงนี้ข่าวดีหลายๆ ข่าวจึงเรียงตามกันมาติดๆ

            "คลายล็อก" ที่หลายๆ คนฝันถึง อีกไม่กี่วันจะเป็นจริง

            เตรียมตัวให้พร้อม ๓ พฤษภาคม นี้ กลุ่มกิจการ กิจกรรมที่จะผ่อนคลายให้ดำเนินการได้ มี ๖ กลุ่ม        ๑.ตลาด คือ ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดชุมชน ถนนคนเดิน แผงลอย

            ๒.ร้านจำหน่ายอาหาร คือ ร้านอาหารทั่วๆ ไป ไม่เกิน ๒ คูหา ร้านเครื่องดื่ม ขนมหวาน ไอศกรีม  (นอกห้าง) ร้านอาหารริมทาง รถเข็น หาบเร่

            ๓.กิจการค้าปลีกส่ง คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ บริเวณพื้นที่นั่งยืน รับประทาน รถเร่ หรือรถวิ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านค้าปลีกขนาดย่อม ร้านค้าปลีกชุมชน ร้านค้าปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม

            ๔.กีฬาและสันทนาการ คือ กิจกรรมในสวนสาธารณะ ได้แก่ เดิน รำไทเก๊ก เป็นต้น สนามกีฬากลางแจ้ง ที่เป็นการออกกำลังกายโดยไม่ได้เล่นเป็นทีมและมีการแข่งขัน ได้แก่ เทนนิส ยิงปืน ยิงธนู  จักรยาน กอล์ฟและสนามซ้อม

            ๕.กลุ่มร้านตัดผมเสริมสวย คือ เฉพาะตัด สระ ไดร์ผม

            ๖.อื่นๆ เช่น ร้านตัดขนสัตว์ ร้านรับฝากเลี้ยงสัตว์

            จะเรียกว่าทั้ง ๖ กลุ่มนี้ เป็นหนูทดลองก็ได้ หาก ๙๐% ให้ความร่วมมือมาตรการป้องกันการระบาดซ้ำ ก็เปิดทำมาหากินกันยาว

            กลุ่มอื่นๆ จะทยอยเปิดตามมา

            แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องยอมรับกติกา ถอยหลังกลับ ๑ ก้าว

            ทีนี้มันมีประเด็นเรื่อง "ฆ่าตัวตาย"

            มีคนบางจำพวกไม่อยากให้จบ วันๆ นั่งดูข่าวใครฆ่าตัวตายบ้าง แล้วเอามาเจือสม ผูกโยงกับเรื่องเงินเยียวยา ๕ พันบาท เพื่อโจมตีรัฐบาล

            ถ้าใช้สมองคิดกันสักหน่อย จะเห็นความจริงที่ว่า รัฐบาลไม่มีทางเลือกมากนัก ในวิธีเยียวยาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-๑๙

            มีผู้รู้เสนอกันเยอะแยะว่าทำไมไม่ทำอย่างนั้น อย่างนี้

            แจกตามฐานผู้เสียภาษีสิ เพราะต่างประเทศเขาทำแบบนั้น

            แจกทุกครัวเรือนง่ายกว่า 

            แจกทุกคนไปเลยจะได้จบ

            มันก็คิดได้ แต่ถามว่ามีฐานข้อมูลอะไรอยู่ในมือบ้าง

            แล้วเงินพอไหม?

            เพราะที่เห็น รัฐบาลออก พ.ร.ก.กู้เงินก็ด่ากันขรม

            ฐานผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแค่ ๑๑ ล้านคน ถ้าจ่ายเงินเยียวยาตามนี้ รัฐบาลเละเป็นโจ๊ก

            คนไทยมีอาชีพนอกระบบจำนวนมาก รัฐไม่มีฐานข้อมูลการประกอบอาชีพ นี่คือจุดที่ยากที่สุด

            ฉะนั้น ความผิดพลาดในการจ่ายเงินเยียวยา ๕ พันบาท เกิดขึ้นได้แน่นอน เมื่อพลาดแล้วก็แก้กันไป นั่นคือวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน

            การฆ่าตัวตายไม่ใช่ทางออก

            และการเอาคนฆ่าตัวตายมาหาประโยชน์ทางการเมือง ก็เป็นการกระทำที่ต่ำทราม ในยามบ้านเมืองเจอวิกฤติเช่นนี้

            คุณหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม โพสต์เฟซบุ๊ก เอาไว้น่าสนใจ

-------------------------

            ...ถึงคณะนักวิจัยทั้ง ๗ ท่าน

            ผมได้อ่านจดหมายชี้แจงของคณะนักวิจัยโครงการ "คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง" ซึ่งคำชี้แจงได้ย้ำให้เห็นภาพว่า เป็นการแถลงผลการรวบรวมข้อมูลจากสื่อ ว่าแรงจูงใจที่ฆ่าตัวตายนั้นสัมพันธ์กับผลกระทบโควิด-๑๙

            ต้องขอบคุณคณะนักวิจัยทั้ง ๗ ท่าน ที่ยอมรับแบบตรงไปตรงมาว่า รวบรวมข้อมูลจากสื่อ ทั้งๆ ที่ท่านเป็นนักวิจัยระดับศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และดอกเตอร์ แต่เชื่อข้อมูลหน้าหนังสือพิมพ์

            ผมเคยมีประสบการณ์ที่อยากให้ คณะอาจารย์ได้เรียนรู้ ผมเคยรวบรวมข้อมูล ชาวนาฆ่าตัวตาย จากโครงการรับจำนำข้าว สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยรวบรวมจากสื่อเช่นกันได้ ๑๖ ราย

            ก่อนที่ผมจะขึ้นเป็นพยานศาล ในคดีรับจำนำข้าว เพื่อความรัดกุม ทางทีมได้ตรวจสอบข้อมูลกับกรมสุขภาพจิต ที่ส่งนักวิชาการลงไปเก็บรายละเอียด จากญาติและผู้ใกล้ชิด ปรากฏว่าการฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับโครงการจำนำข้าวจริงๆ มี ๙ ราย เท่ากับว่า ความแม่นยำของสื่อนั้นประมาณ ๕๖ เปอร์เซ็นต์

            ในขณะที่ผมเป็นแค่นักการเมือง ไม่ใช่นักวิจัยหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย ยังต้องตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก แต่คณะของท่านเป็นนักวิชาการโดยอาชีพ และเป็นนักวิจัย แต่รวบรวมข้อมูลจากสื่อ โดยไม่ตรวจสอบเชิงลึก มันจึงทำให้สังคมมองว่า ท่านกำลังใช้เสรีภาพทางวิชาการ เพื่อผลทางการเมืองมากกว่า แม้ท่านจะปฏิเสธก็ตาม

            ผมจึงอยากเรียกร้องไปยังกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ให้ตรวจสอบความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณ เพราะงบเหล่านี้ก็มาจากเงินภาษีของประชาชน ที่สำคัญความเป็นนักวิชาการ ต้องมีมาตรฐาน  คุณธรรมและจริยธรรม ในการสร้างนักศึกษาที่มีคุณภาพออกมารับใช้สังคมด้วย

            หมายเหตุ: มีหลายท่านอยากทราบรายชื่อคณะนักวิจัยทั้ง ๗ ท่าน ผมจึงขออนุญาตนำมาลงให้ทราบครับ

            ๑.ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

            ๒.รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

            ๓.รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            ๔.ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

            ๕.รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ

            ๖.ผศ.ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

            ๗.ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น....

-----------------------

            ครับ....ข่าวฆ่าตัวตายที่ปรากฏในสื่อ มาจากหลายสาเหตุ 

            บางรายก็ไม่เป็นไปตามที่ปรากฏเป็นข่าว

            และข่าวก็ต่างจากงานวิจัย เพราะงานวิจัยจะผ่านการกลั่นกรองมากกว่า ใช้เวลาหาข้อมูลมากกว่า  มีความละเอียดกว่า โดยผู้เชี่ยวชาญ

            เช่นเดียวกัน ที่ปรากฏเป็นข่าวว่า รปภ.สาวตกงาน ผูกคอตาย เนื่องจากตกงาน และไม่ได้รับเงินเยียวยา ๕ พันบาท

            กลายเป็นเหยื่อให้ ฝ่ายแค้น ฝ่ายประชาธิปตุง นักวิชาเกิน ไปขยายความด่ารัฐบาล ว่าไร้ประสิทธิภาพ มักง่าย ล้มเหลว ในการช่วยเหลือประชาชน

            แล้วความจริงก็ปรากฏ.....

            คนตายไม่ได้พูด

            แต่คนเป็นไปขยายความแทน

            จากการตรวจสอบการลงทะเบียนมาตรการเยียวยาของ น.ส.ปลายฝน อ่ำสาริกา พบว่าได้ขอเงินเยียวยาจากทางรัฐบาล และได้รับเงินครั้งที่ ๑ ไปแล้ว เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๓

            จำนวน ๕,๐๐๐ บาท

            แน่นอนความตายไม่ได้เกี่ยวกับเงินเยียวยา แต่เกิดจากความเกลียดชัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร

            คนไม่ชอบรัฐบาล ลุงตู่ มีเยอะ

            เช่นเดียวกัน คนไม่ชอบรัฐบาลระบอบทักษิณ ก็มีเต็มไปหมด

            และทุกรัฐบาลล้วนมีการฆ่าตัวตายอันเนื่องมาจากสภาพความเป็นอยู่ ความเดือดร้อนจากเศรษฐกิจปากท้องด้วยกันทั้งสิ้น

            ไม่ใช่เพิ่งจะมีเอาในรัฐบาลนี้

            คำถามคือ นักการเมือง นักเคลื่อนไหว นักวิชาการ ควรจะมีบทบาทต่อเรื่องนี้อย่างไร

            จับแพะชนแกะ ด่าคนไม่ชอบขี้หน้า เอามัน คือวิถีที่ต้องปฏิบัติอย่างนั้นหรือ

            หมาเลียตูดไม่ถึงกันแล้วทั้งนั้น!

            อย่าเอาคนตายมาหาประโยชน์

            โลกใบนี้มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ ๑ คน ทุกๆ ๔๐ วินาที  

            ตกปีละ ๘ แสนคน

            วันนี้ทั่วโลกตายเพราะโควิด-๑๙ แล้ว กว่า ๒ แสนคน ก็ใช่ว่าจะน้อย

            แต่คนบางพวกเอาสถิติฆ่าตัวตายกับโควิดมากาง แล้วด่ารัฐบาลว่าไม่ทำอะไรเลย ไม่ควรอยู่บริหารประเทศต่อไป พวกนี้อำมหิต!

            เพราะมาจากพื้นฐานทางความคิดที่ว่า อยากให้ตายเยอะๆ

            รัฐบาลจะได้หมดความชอบธรรม

            เห็นชื่อ "ทักษิณ ชินวัตร" เป็นเจ้าภาพสวดศพ ก็ไม่ต้องอธิบายอะไรกันมาก

            เรื่องของมนุสสเปโตล้วนๆ.

         ผักกาดหอม

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"