ปฏิบัติการ “พม.เราไม่ทิ้งกัน” สู้ภัย COVID-19 การเคหะ-พอช. จับมือกรมอนามัย ลุย 286 ชุมชนใน กทม.


เพิ่มเพื่อน    

ปฏิบัติการ “พม.เราไม่ทิ้งกัน” สู้ภัยCOVID-19  โดยการเคหะแห่งชาติและ พอช. จับมือกรมอนามัย ลงพื้นที่ชุมชน 286 แห่งใน กทม.  เพื่อสำรวจข้อมูลปั­หา  ความต้องการของชุมชน และให้การช่วยเหลือตามแนวคิด “สำรวจให้พบ  จบที่ชุมชน” นอกจากนี้ยังให้ความรู้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ  สนับสนุนครัวกลางชุมชน  ฯลฯ  ขณะที่สภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลางจัดตั้ง ‘ศูนย์ประสานงานวังทองหลางรวมใจสู้ภัย COVID-19’  นำร่องรวมพลังชุมชนร่วมกับภาครัฐเตรียมพร้อมรับมือหากสถานการณ์ไวรัสยืดเยื้อ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยนายจุติ  ไกรฤกษ์  รมว.พม. ได้ขับเคลื่อนโครงการ  “พม.เราไม่ทิ้งกัน”  ระหว่างวันที่ 20-30  เมษายน  โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับกรมอนามัย  เพื่อลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปั­หาและความต้องการของชุมชนต่างๆ  ในกรุงเทพมหานคร  ตามแนวคิด “สำรวจให้พบ จบที่ชุมชน” ในพื้นที่นำร่อง 286 ชุมชนที่อยู่ในความดูแลของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. 

โดยมีการแบ่งทีมงานลงพื้นที่  7 ทีมๆ  ละ 10-12 คน   ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวง พม.  การเคหะแห่งชาติ  พอช.  และกรมอนามัย  เพื่อเข้าไปสำรวจข้อมูลชุมชน  โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง  เช่น  ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ป่วยติดเตียง  แม่เลี้ยงเดี่ยว  และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปั­หาเศรษฐกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน  นอกจากนี้ยังให้ความรู้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19  การล้างมือที่ถูกวิธี  มอบเจลล้างมือ  และหน้ากากอนามัย  รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์สู้ภัยโควิด  และการจัดตั้งครัวกลางเพื่อทำอาหารช่วยเหลือชาวชุมชนที่ต้องตกงาน

รมว.พม.เปิดศูนย์ประสานงานสู้ภัยโควิด-19 แห่งแรกที่วังทองหลาง

โดยเมื่อวันที่ 19 เมษายน  เวลา 10.00 น. นายจุติ  ไกรฤกษ์  รมว.พม. เป็นประธานในการเปิดกิจกรรมหรือ Kick off  โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ตามแนวคิด “สำรวจให้พบ จบที่ชุมชน” ที่ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา  เขตวังทองหลาง  กรุงเทพฯ  เป็นชุมชนแรก  โดยมี พ­.พรรณพิมล  วิปุลากร  อธิบดีกรมอนามัย  นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และผู้แทนชุมชนต่างๆ ในเขตวังทองหลางจำนวน  20  ชุมชนเข้าร่วมงาน

โดย รมว.พม.เป็นประธานในการเปิด ‘ศูนย์ประสานงานวังทองหลางรวมใจสู้ภัย COVID-19  เพื่อใช้เป็นศูนย์ประสานงานในเขตวังทองหลางซึ่งมีเครือข่ายชุมชนจำนวน 20 ชุมชน การเปิดกิจกรรมหรือ Kick off โครงการช่วยเหลือชาวชุมชนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ เช่น  ‘พักหนี้บ้านมั่นคงทั่วประเทศระยะเวลา เดือน’  มอบงบประมาณสนับสนุนการจัดทำครัวกลาง (ปลูกผัก 

เลี้ยงปลา  ดูแลผู้ด้อยโอกาส  ส่งเสริมอาชีพ) จำนวน 300,000 บาท  นอกจากนี้ยังมอบเมล็ดพันธุ์ผักให้แก่ผู้แทนชุมชนด้วย

นายจุติ  ไกรฤกษ์  รมว.พม.กล่าวว่า  โครงการ “พม.เราไม่ทิ้งกัน” เป็นการทำตามนโยบายของรัฐบาลในการทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19  โดยกระทรวง พม.ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  เริ่มในพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อน  เนื่องจากเป็นเมืองที่มีชุมชนหนาแน่น   โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนของการเคหะแห่งชาติ  และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ   โดยกระทรวง พม.จะร่วมกับกรมอนามัยลงไปในพื้นที่ชุมชนต่างๆ รวม  286 ชุมชน  เพื่อป้องกันโรค COVID  และรับฟังปั­หาของประชาชน

“ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจว่ารัฐบาลจะทำอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือพี่น้อง  จะไม่ปล่อยให้คนไทยตายโดยไม่ได้ป้องกัน  รัฐบาลจึงต้องเอาเงินจากทุกกระทรวงมาช่วยเหลือประชาชนก่อน  นอกจากนี้ยังมีการพักชำระหนี้  การนำอาหารไปให้ชุมชน  จัดทำครัวกลาง  หรือไปช่วยเหลือตามความต้องการของชุมชนว่าต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง  และเงินที่ได้รับจากการบริจาคหรือสิ่งของจากภาคเอกชนจะลงไปให้ถึงมือของประชาชนทุกคน  ขณะเดียวกันประชาชนก็จะต้องร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับโควิด  และต้องเตรียมความพร้อม  ป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ  เพราะขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค  ถ้าเร็วที่สุดอาจจะเป็นต้นปีหน้าที่จะผลิตวัคซีนออกมาได้  ดังนั้นจึงต้องรักษาชีวิต  รักษาครอบครัวเอาไว้ก่อน  เพราะชีวิตคนสำคั­ที่สุด”  รมว.พม.กล่าว 

 

ลงพื้นที่ 286 ชุมชนตามแนวคิด “สำรวจให้พบ  จบที่ชุมชน”

หลังจากการจัดกิจกรรม Kick off ที่ชุมชน

รุ่งมณีพัฒนา  เขตวังทองหลาง  เมื่อวันที่ 19 เมษายนแล้ว ระหว่างวันที่ 20-30 เมษายน ทีมงาน “พม.เราไม่ทิ้งกัน”  ซึ่งประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่กระทรวง พม.  การเคหะแห่งชาติ  พอช.  และกรมอนามัย  ได้ลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในการดูแลหรือทำโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยร่วมกับการเคหะฯ หรือ พอช. รวมทั้งหมด 286 ชุมชนในเขตกรุงเทพฯ 

 

โดยมีการแบ่งทีมงานลงพื้นที่  7 ทีมๆ  ละ 10-12 คน ลงพื้นที่ทีมละ 4 ชุมชนต่อวัน  เพื่อสำรวจข้อมูลปั­หาและความต้องการของชาวชุมชน  โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเปราะบาง  เช่น  ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ป่วยติดเตียง  แม่เลี้ยงเดี่ยว  และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปั­หาเศรษฐกิจเพื่อให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน  นอกจากนี้ยังให้ความรู้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19  การล้างมือที่ถูกวิธี  มอบเจลล้างมือ  และหน้ากากอนามัย  รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์สู้ภัยโควิด  และการจัดตั้งครัวกลางเพื่อทำอาหารช่วยเหลือชาวชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้ข้อมูลจากการลงพื้นที่และการสำรวจข้อมูลของทีมงานระหว่างวันที่ 20-30 เมษายน  จำนวน 286  ชุมชน พบว่า ชุมชนมีความต้องการในด้านต่างๆ  ดังนี้ 1. ด้านเงินช่วยเหลือ จำนวน 153 ชุมชน 2. ด้านที่อยู่อาศัย จำนวน 38 ชุมชน 3. ด้านอาชีพ-รายได้ จำนวน 75 ชุมชน 4. ด้านการอุปโภคบริโภค/การจัดตั้งครัวกลาง จำนวน 216 ชุมชน และ 5. ด้านการดูแลสุขภาพ  การป้องกันโรค  78 ชุมชน 

ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่สำรวจทั้งหมดจำนวน 16,882 ราย เป็นผู้สูงอายุ 5,859 ราย พิการ 1,298 ราย ด้อยโอกาส 226 ราย ผู้ป่วย/ติดเตียง 443 ราย แม่เลี้ยงเดี่ยว 130 ราย ว่างงาน/ตกงาน 3,166 ราย รายได้ลดลง

ไม่เพียงพอ 290 ราย ไม่ได้รับเงินเยียวยา 1,944 ราย ฯลฯ มีความต้องการเร่งด่วนเรื่องอาหาร 1,694 ครัวเรือน ของใช้จำเป็นสำหรับเด็ก 401 ราย-ผู้พิการ 237 ราย ที่พักอาศัยผู้ด้อยโอกาส 24 ราย ฯลฯ

นอกจากนี้ยังพบว่า  ชุมชนต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนเพิ่มเติมในเรื่องต่างๆ ได้แก่  เครื่องอุปโภค  บริโภค  โรงอาหารครัวกลาง  หรือแหล่งจำหน่ายสินค้าและอาหารราคาถูก  เงินเยียวยาจากรัฐบาล 5,000 บาท  เงินทุนสำหรับประกอบอาชีพ  เงินทุนหมุนเวียน  ของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กอ่อน  ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ  เช่น  ผ้าอ้อมสำเร็จรูป  แผ่นรอง  นมผง  นมกล่อง  ยารักษาโรค และอุปกรณ์ทำแผล เป็นต้น 

สำหรับมาตรการช่วยเหลือชุมชนหลังจากการสำรวจข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว  กระทรวง พม.จะดำเนินการดังนี้  1.กรณีเดือดร้อนเร่งด่วน  เช่น  ผู้ป่วยติดเตียง  ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  แม่เลี้ยงเดี่ยว  ฯลฯ  จะมอบถุงยังชีพ  สิ่งของที่จำเป็น  เช่น  ข้าวสาร  อาหารแห้ง  นม  ผ้าอ้อมสำหรับเด็กและผู้ให­่  ฯลฯ  2.เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย และเงินสงเคราะห์กรณีฉุกเฉิน กรณีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด  หากผ่านการพิจารณาจากนักสังคมสงเคราะห์แล้ว จะจ่ายเงินเยียวยารายละไม่เกิน 2,000 บาท  และ 3.นำความต้องการของชุมชนในด้านต่างๆ ตามที่เสนอมาเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป

 

แผนชุมชนเครือข่ายวังทองหลางสู้ภัย หาก COVID-19 ยืดเยื้อ

 จากสถานการณ์ปั­หาไวรัสโควิดที่ระบาดไปทั่วประเทศ  ทำให้ชาวชุมชนทั่วประเทศที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายต่างๆ ได้จัดทำแผนงานในการป้องกันและรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19  ยังยืดเยื้อยาวนาน  เช่น  เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลาง  กรุงเทพฯ 

นายสมบูรณ์  จันทร์ชัย  ประธานสภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลาง  กล่าวว่า  สภาองค์กรชุมชนเขตวังทองหลางมีสมาชิกทั้งหมด 20 ชุมชน  ประมาณ 5,200 ครอบครัว  ประชากรประมาณ 20,000 คน  จากการสำรวจข้อมูลพบว่า  มีผู้ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ  ต้องตกงาน  หรือมีรายได้น้อยลง  เช่น  วินมอเตอร์ไซค์  ขับรถแท็กซี่  ลูกจ้างร้านอาหาร  สถานบริการ  ฯลฯ  ประมาณ 3,000  คน  ซึ่งในช่วงสถานการณ์ COVID-19 นี้   สภาองค์กรชุมชนฯ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน ‘วังทองหลางรวมใจสู้ภัย COVID-19ขึ้นมา  เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องในด้านต่างๆ  รวมทั้งป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค  โดยมีแผนต่างๆ ดังนี้

1.แผนระยะสั้น  เช่น  สำรวจข้อมูลกลุ่มผู้เดือดร้อนและผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ในระดับชุมชน  ประสานงานจัดหาเครื่องมือป้องกันโรคจากภาคีทุกภาคส่วน  ฝึกอบรมการทำเจลล้างมือ  หน้ากากอนามัยให้กับผู้แทนชุมชน  การเตรียมและแจกข้าวสารอาหารแห้ง  การจัดทำครัวกลาง (เดือนละ 2 ครั้ง) ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ  เตรียมสถานที่รองรับและช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ  โดยพบกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ 3 ครอบครัว  ขณะนี้อยู่ในระหว่างกักตัวเอง 14 วัน  ศูนย์ประสานงานวังทองหลางรวมใจฯ จัดส่งอาหารให้ 3 มื้อ  รวมทั้งสิ่งของจำเป็นอื่นๆ  และประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าตรวจเยี่ยมดูอาการ

 

2.แผนระยะกลาง  ส่งเสริมการปลูกผักในระดับครัวเรือนและพื้นที่ส่วนกลาง  มีแปลงปลูกผักขนาด  400 ตารางวา (ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์) ปลูกคะน้า  กวางตุ้ง  และเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์จำนวน 6 บ่อ  (ประมาณต้นเดือนพฤษภาคมจะนำผักและปลามาทำอาหารได้)   และต่อไปจะพัฒนาให้เป็นแหล่งอาหารในระดับชุมชนและเมือง  สามารถเป็นแหล่งสร้างงาน  สร้างรายได้ให้กับผู้ที่ตกงานหรือได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

3. แผนระยะยาว  มีการเชื่อมโยงระบบกองทุนระดับเมือง  โดยมีกองทุนต่างๆ  เช่น  กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์  มีเงินหมุนเวียน 5 ล้านบาท  สถาบันการเงินชุมชน  มีเงินหมุนเวียน  3 ล้านบาท  กองทุนสวัสดิการชุมชน  มีเงินหมุนเวียน 2.5 ล้านบาท  กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง  มีเงินหมุนเวียน 14 ล้านบาท  ฯลฯ  เพื่อใช้ทุนภายในแก้ปั­หาของชุมชนและช่วยเหลือสมาชิกในยามจำเป็น  เช่น  เจ็บป่วย  การศึกษาของบุตรหลาน  ใช้จ่ายในครัวเรือน  แก้ปั­หาหนี้สิน  ไม่ต้องพึ่งเงินนอกระบบ  รวมถึงการพัฒนาศูนย์ประสานงานของเครือข่ายชุมชนในเมืองให้เกิดการประสานงานร่วมกับหน่วยงานและภาคีอย่างเป็นระบบ   นำไปสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

นี่คือตัวอย่างของชาวชุมชนในเขตวังทองหลางที่รวมตัวกันในนาม ‘ศูนย์ประสานงานวังทองหลางรวมใจสู้ภัย COVID-19’ ที่ใช้พลังของชุมชนร่วมกับการสนับสนุนจากภาครัฐ เตรียมพร้อมรับมือหากสถานการณ์โควิดยังยืดเยื้อยาวนาน...!!

                                                                     

 

 

พอช.ช่วยชุมชนสู้ภัยเศรษฐกิจพักหนี้บ้านมั่นคง 3 เดือน-เปิดตลาดนัดออนไลน์

 

จากผลกระทบด้านเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19   รัฐบาลมีมาตรการปิดสถานที่ที่อาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค  เช่น  ห้างสรรพสินค้า  สถานบริการต่างๆ  ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ  ต้องปิดงาน  ขาดรายได้  ฯลฯ  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  หรือ พอช. จึงมีมาตรการและแนวทางช่วยเหลือพี่น้องชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ  เช่น  การพักชำระหนี้ให้แก่กลุ่มและองค์กรผู้ใช้สินเชื่อจาก พอช.

นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า   พอช.มีมาตรการพักชำระหนี้ให้แก่องค์กรชุมชนที่ใช้สินเชื่อจาก พอช.  โดยไม่ต้องชำระเงินต้น  ดอกเบี้ย  และไม่คิดดอกเบี้ยในระยะเวลา 3 เดือน  เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายนนี้  โดยมีองค์กรชุมชนที่ใช้สินเชื่อประมาณ 500 องค์กรทั่วประเทศ  มีสมาชิกประมาณ 50,000 ครัวเรือน   ซึ่งส่วนให­่เป็นสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยตามโครงการ ‘บ้านมั่นคง’  วงเงินดอกเบี้ยที่ลดลงรวมประมาณ 42 ล้านบาท  

ทั้งนี้โครงการ ‘บ้านมั่นคง’  เป็นโครงการแก้ไขปั­หาที่อยู่อาศัยของประชาชนที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ  ทั้งในเมืองและชนบท  โดยชาวชุมชนที่มีความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย  ไม่มีความมั่นคงในที่ดิน   เช่น  เช่าที่ดิน  บุกรุกปลูกสร้างบ้านในที่ดินของรัฐหรือเอกชน  รวมตัวกันแก้ไขปั­หาและบริหารงานในรูปแบบของสหกรณ์  โดยการซื้อที่ดินหรือเช่าอย่างถูกต้อง  หรือปรับปรุงบ้านในที่ดินเดิม  เพื่อให้มีความมั่นคงในที่ดินและที่อยู่อาศัย

โดย พอช. สนับสนุนงบประมาณและสินเชื่อระยะยาวให้แก่กลุ่ม  องค์กร  หรือสหกรณ์ที่ชาวชุมชนจัดตั้งขึ้นมา  แล้วผ่อนชำระคืนเป็นรายเดือนให้แก่ พอช.  เริ่มดำเนินโครงการบ้านมั่นคงตั้งแต่ปี 2546  ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วทั่วประเทศ รวม  1,231 โครงการ  จำนวน  112,777 ครัวเรือน  ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง  ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม  และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตต่างๆ  เช่น  ส่งเสริมอาชีพ  ปลูกผักสวนครัว  กิจกรรมเด็ก  การจัดการขยะ บำบัดน้ำเสีย  การดูแลสิ่งแวดล้อม  ฯลฯ

 

เปิดตลาดขายสินค้าชุมชนทางออนไลน์

นอกจากนี้ พอช.ได้เปิดตลาดนัดออนไลน์เพื่อให้พี่น้ององค์กรชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศที่รวมตัวกันในรูปแบบสหกรณ์  กลุ่มวิสาหกิจ  กลุ่มเกษตรกร  กลุ่มอาชีพ  หรือกลุ่มแม่บ้าน  เข้ามาขายสินค้าทางออนไลน์ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ  ไม่มีพ่อค้ามารับซื้อ  และเกษตรกรบางกลุ่มมีปั­หาส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศไม่ได้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19  โดยใช้ facebook  ‘ตลาดนัดองค์กรชุมชน’  มีสินค้าจากเหนือจรดใต้  เช่น  ลิ้นจี่และนำผึ้งจาก  จ.เชียงราย  ปลาแห้ง  ส้มไข่ปลาจากลุ่มน้ำโขง จ.บึงกาฬ  ก๋วยจั๊บสำเร็จรูปจาก จ.อำนาจเจริ­  มะม่วงสุกมหาชนกจาก จ.กาฬสินธุ์  กล้วยตากจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกล้วยนิคมสงเคราะห์  จ.อุดรธานี  มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองจาก จ.พิษณุโลก 

ข้าวสาร  อาหารแห้ง  จาก ต.หนองสาหร่าย  จ.กา­จนบุรี  ปลาเค็ม  ปลาหมึกแห้ง  มังคุด  จากมหาวิทยาลัยบ้านนอก  จ.ระยอง  ผักและผลไม้ปลอดสารเคมีจากสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ปราจีนบุรี   สินค้าชุมชนจาก อ.หนองม่วง  จ.ลพบุรี  น้ำบูดูสายบุรี  จ.ปัตตานี   ข้าวปลอดสารพิษจาก จ.นครศรีธรรมราช  และอื่นๆ อีกมากมาย  ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูสินค้าได้ที่ facebook  ตลาดนัดองค์กรชุมชน  และสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตได้โดยตรง 

จริ­­า  เมืองอินทร์  ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรดอยยาว-ดอยผาหม่น  จังหวัดเชียงราย  บอกว่า  กลุ่มเกษตรกรฯ มีสมาชิกที่ปลูกลิ้นจี่ในพื้นที่ภูชี้ฟ้า (ดอยยาว-ดอยผาหม่น) ซึ่งแต่ละปีจะมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อลิ้นจี่ทุกปี  แต่ในปีนี้มีสถานการณ์โควิดทำให้พ่อค้าไม่เข้ามารับซื้อเพราะการเดินทางไม่สะดวก  ต้องผ่านด่านตรวจคัดกรองโรค  และเศรษฐกิจไม่ดี  ซื้อมาแล้วไม่รู้ว่าจะขายหมดหรือเปล่า  อีกทั้งลิ้นจี่ที่เคยส่งออกไปขายในจีน  ปีนี้ก็ยังไม่มีพ่อค้ามารับซื้อ  ทำให้เกษตรกรมีลิ้นจี่ที่รอเก็บขายกว่า 100,000 กิโลกรัม  หรือประมาณ 100 ตัน 

“เมื่อ พอช.เปิดตลาดนัดออนไลน์  พวกเราซึ่งเป็นเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลอยู่แล้ว  จึงสนใจนำสินค้ามาโพสต์ขายใน facebook เป็นลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย  ลูกให­่  รสชาติหวานฉ่ำ  กินแล้วชื่นใจ  ผู้ที่สนใจหรืออยากจะช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนลิ้นจี่ให้มีรายได้  สามารถเข้าไปดูรายละเอียดใน facebook  ‘ตลาดนัดองค์กรชุมชน’  เราขายไม่แพง  กิโลฯ ละ 30 บาทเท่านั้น” ตัวแทนเกษตรกรเชียงรายเชิ­ชวน

 

 

เครือข่ายบ้านมั่นคงเมืองชุมแพใช้ที่นารวม 38 ไร่

สร้างความมั่นคงทางอาหารรองรับสถานการณ์ COVID-19

 

ป้าสนอง  รวยสูงเนิน  ที่ปรึกษาเครือข่ายบ้านมั่นคงเมืองชุมแพ  อ.ชุมแพ  จ.ขอนแก่น  เล่าว่า  เครือข่ายฯ เกิดจากการรวมตัวกันจัดทำโครงการบ้านมั่นคงมาตั้งแต่ปี 2547 เพื่อแก้ไขปั­หาที่อยู่อาศัย  เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนต่างๆ  มีฐานะยากจน  ต้องบุกรุกที่ดินของรัฐและเอกชนเพื่อปลูกสร้างบ้าน  ต่อมาโดนไล่ที่  จึงได้รวมตัวกันจัดทำโครงการบ้านมั่นคงเพื่อขอเช่าที่ดินราชพัสดุจากเทศบาลเมืองชุมแพปลูกสร้างบ้าน รวมทั้งจัดซื้อที่ดินเอกชน โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช. ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและสินเชื่อ 

ขณะที่ชาวบ้านได้จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนสร้างบ้าน  ปัจจุบันสร้างบ้านเสร็จไปแล้ว 13 ชุมชน  จำนวน 1,052  ครัวเรือน  มีผู้อยู่อาศัยประมาณ  5,000 คน นอกจากนี้ในปี 2553 ได้ระดมทุนจากชุมชนต่างๆ ซื้อที่ดินเพื่อทำนารวม ปลูกผัก เลี้ยงปลา  เนื้อที่ 38 ไร่ (ราคาซื้อมา 2.6 ล้านบาท ขณะนี้ราคาประมาณ 38 ล้านบาท)  ได้ข้าวเปลือกประมาณปีละ 20-30 ตัน  มีโรงงานผลิตน้ำดื่มชุมชน และมีกองทุนต่างๆ  เช่น  กองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยเมืองชุมแพ  มีเงินสะสมรวมกันประมาณ 16 ล้านบาท ทำให้ชาวชุมชนมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม  เพราะมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงเป็นของตัวเอง  มีแหล่งอาหารและน้ำดื่มเป็นของชุมชน  และมีข้าวเปลือกที่สำรองเอาไว้ประมาณ 6 ตัน

“เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด  มีพี่น้องที่ไปทำงานในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ  ไม่มีงานทำ  ต้องกลับมาอยู่กับครอบครัวที่ชุมแพประมาณ 800 คน ชาวบ้านก็กลัวว่าจะนำเชื้อมาให้  เครือข่ายบ้านมั่นคงฯ ได้เตรียมการป้องกัน  ช่วยกันทำหน้ากากอนามัย  โดยเทศบาลเมืองชุมแพช่วยสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ  รวมทั้งเจลล้างมือ  และให้ความรู้ในการป้องกันเชื้อโรค  ตรวจวัดไข้  ตอนนี้ยังไม่พบคนติดเชื้อ  ส่วนคนที่ตกงานหรือครอบครัวได้รับผลกระทบ  ไม่มีรายได้  ขาดแคลนข้าวปลาอาหาร  เครือข่ายฯ ของเรายังมีข้าวเปลือกสำรองเอาไว้ 6 ตัน  นอกจากนี้ยังมีเทศบาลฯ และคนใจบุ­เอาข้าวของมาบริจาค  เราก็นำมาช่วยเหลือแบ่งปัน  ก็พออยู่กันไปได้  ยังไม่เดือดร้อน”  ป้าสนองบอก และย้ำว่า  “หากไวรัสโควิดยืดเยื้อไปอีก 2-3 เดือน  คงจะต้องเดือดร้อนกันแน่ๆ  เพราะชาวบ้านส่วนให­่มีอาชีพรับจ้างหากินรายวัน  และค้าขายเล็กๆ น้อยๆ  ในตลาดสด  ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี  ก็คงจะไม่มีใครมาจ้างงาน  ข้าวของคงจะขายลำบาก แต่เครือข่ายบ้านมั่นคงเมืองชุมแพได้เตรียมแผนเอาไว้แล้ว  โดยกันพื้นที่นารวมเอาไว้ 2 ไร่  เพื่อให้คนที่ตกงานใช้ปลูกผักหรือทำเกษตรต่างๆ เพื่อให้มีอาหารกิน  หรือมาช่วยกันทำนารวม  เลี้ยงปลาในบ่อก็ได้  เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง  เอาตัวให้รอดจากโควิดช่วงนี้ไปก่อน  และต่อไปหากใคร

ไม่อยากกลับไปทำงานที่กรุงเทพฯ  ก็มาทำอยู่ทำกินในที่นารวมแปลงนี้ได้เพราะมีเนื้อที่ถึง 38 ไร่  คงจะพอเลี้ยงกันได้อยู่”                        

                                                                   *************

 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"