ลื่น! 'ปิยบุตร' ระบุข้ออ้างที่ว่า 'นุรักษ์ มาประณีต' ได้เป็นองคมนตรีแล้ว จึงไม่สมควรอภิปรายถึงการทำงานที่ผ่านมา ฟังไม่ขึ้น


เพิ่มเพื่อน    

6 พ.ค.63 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า อดีตเลขาธิพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้

การตรวจสอบความเห็นส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในแต่ละคดีเป็นเรื่องปกติ

ประเทศไทยนำระบบศาลรัฐธรรมนูญมาใช้และกำหนดให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 โดยกำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้พิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องทำความเห็นส่วนตนทุกคน และเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2550และ 2560 ก็ยังคงรูปแบบนี้ไว้เช่นเดิม

เมื่อครั้งผมยังเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ผมเคยทำงานวิจัยอยู่ชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ผมสนใจว่า ทำไมประเทศไทยจึง "บังคับ" ให้ผู้พิพากษา-ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องทำความเห็นส่วนตน เพราะ เท่าที่ผมได้ศึกษากฎหมายเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ไม่มีที่ใดที่บังคับให้ผู้พิพากษา-ตุลาการต้องทำความเห็นส่วนตนเผยแพร่ทุกคน มากที่สุด ก็อนุญาตให้ตุลาการเสียงข้างน้อยได้ทำความเห็นแย้งเท่านั้น

ผมจึงได้ไปสืบค้นการอภิปรายในสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2540 พบว่า มีการซักถามในประเด็นดังกล่าว โดยศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร ได้ถาม ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตอบ ดังนี้

“คณิต ณ นคร : "ผมยังไม่เข้าใจ ๒ ประเด็น ประเด็นแรก ที่ให้องค์คณะทุกคนทำความเห็นเป็นหนังสือ ไม่ทราบเพราะวัตถุประสงค์อะไร...ประการที่ ๒ ก็คือในวรรคสุดท้ายที่ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อประจานหรืออย่างไร ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการ Reasonabilization ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตไว้ส่วนนี้"[1]

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : "การให้เขียนคำวินิจฉัยทุกคนนั้น ก็เพื่อตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษา ท่านจะเห็นได้ว่าคำพิพากษาของศาลในระบบ Common law เขาเขียนแต่ละคน คำพิพากษาศาลอังกฤษ มีผู้พิพากษา ๓ คน ก็ต้องเขียนทั้ง ๓ House of lord ๘ คน ก็ต้องเขียนทั้ง ๘ คน เพราะฉะนั้นก็คือการตรวจสอบ Philosophy ขอประทานโทษก็คือการตรวจสอบปรัชญา แนวคิด ตลอดจนการให้เหตุผล และการรับฟังของผู้พิพากษาแต่ละคน หลักโปร่งใสธรรมดา"[2]

คณิต ณ นคร : "ผมเรียนตรงๆ ว่า เท่าที่ผ่านมาเรามีแต่เรื่องศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ทำความเห็นทุกคน จู่ๆ มาพูดศาลคดีอาญาทางการเมือง ถ้าจะว่าในเชิงนั้นผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ที่อาจารย์บวรศักดิ์บอกว่าทุกประเทศ ไม่จริง ผมกล้ายืนยันว่าไม่มีทุกประเทศที่เขาทำลักษณะนี้ อาจจะมีบางประเทศ แล้วสำหรับประกาศในราชกิจจานุเบกษา ความจริงคำพิพากษาของศาลเปิดเผยแล้ว ทีนี้เราจะทำให้ถึงขนาดไหน ผมยังมองว่าเกินเลยไปหรือเปล่า"[3]

[1] รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วันพุธที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐. หน้า ๘/๖

[2] รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วันพุธที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐. หน้า ๘/๖

[3] รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วันพุธที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐. หน้า ๘/๗.

กล่าวโดยสรุป เจตนารมณ์ของการกำหนดให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้พิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องทำความเห็นส่วนตนทุกคน ก็คือ ต้องการให้คู่ความและสาธารณชนได้ตรวจสอบเหตุผลและประเมินคุณภาพของผู้พิพากษาตุลาการแต่ละคน

...

นายนุรักษ์ มาประณีต เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ 13 ปี มีโอกาสวินิจฉัยคดีที่สำคัญทางการเมือง ส่งผลกระทบกับการเมืองไทยและคนจำนวนมาก ยุบพรรคเกือบ 30 พรรค โดยเป็นพรรคการเมืองสำคัญ ซึ่งการยุบพรรคได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองไทย ถึง 6พรรค ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย พรรคมัชฌิมาธิปไตย พรรคไทยรักษาชาติ และพรรคอนาคตใหม่ เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคเกือบ 300 คน และเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนแรกที่ตีความให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบแบบ "ไม่มีกำหนดระยะเวลา"

จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ต้องมีคนสนใจและวิพากษ์วิจารณ์

ประจวบเหมาะกับเมื่อวานมีข่าวออกมาว่า นายนุรักษ์ ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นองคมนตรี คนไทยและสังคมไทย ก็เลยกลับมาให้ความสนใจในตัวนายนุรักษ์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากๆ เมื่อบุคคลใดได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหรือเสียชีวิต ก็ต้องมีการไปค้นประวัติผลงานต่างๆมาเผยแพร่

เมื่อรัฐธรรมนูญไทย 3ฉบับสุดท้าย ยังคงหลักการบังคับให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำความเห็นส่วนตน เพื่อให้สาธารณชนได้รู้ความเห็น ความคิด เหตุผล ทัศนคติ ของแต่ละคน และเปิดโอกาสให้ตรวจสอบความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ เช่นนี้ การตรวจสอบความเห็นส่วนตนของนายนุรักษ์ มาประณีต และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง

ข้ออ้างที่ว่า นายนุรักษ์ มาประณีต ได้เป็นองคมนตรีแล้ว จึงไม่สมควรอภิปรายถึงการทำงานที่ผ่านมา ฟังไม่ขึ้น หากเรายึดถือตามนี้ ก็กลายเป็นว่า บุคคลใดที่ได้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีแล้ว บุคคลนั้นจะหลุดพ้นจากการตรวจสอบ ศึกษา หรืออภิปรายใดๆถึงการกระทำหรือผลงานต่างๆ ก่อนที่เขาเป็นองคมนตรีอย่างนั้นหรือ หากเป็นเช่นนั้นจริง เราคงไม่มีการพูดถึงหรือไม่มีงานศึกษาวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือที่เกี่ยวกับองคมนตรีแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น มีงานศึกษาเกี่ยวกับ ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จำนวนมาก มิพักต้องกล่าวถึง ในประเทศไทย ไม่มีกฎหมายใด ห้ามวิจารณ์ หรืออภิปรายถึงองคมนตรีด้วย ดังนั้น ในอนาคต หากจะมีใครศึกษาค้นคว้า ความคิดของนายนุรักษ์ มาประณีต ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด และควรภูมิใจเสียด้วยซ้ำที่ความคิดของตนมีอนุชนรุ่นหลังมาศึกษา

รัฐธรรมนูญไทยยืนยันว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งอำนาจตุลาการเป็นส่วนหนึ่ง เมื่อปวงชนชาวไทยเป็นเจ้าของอำนาจ เจ้าของอำนาจก็ต้องวิจารณ์องค์กรที่ใช้อำนาจแทนตนเองได้ อ่านต้นฉบับ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"