โอกาสฟื้นตัวของการบินไทย


เพิ่มเพื่อน    

 

       อื้ออึงมากสำหรับแผนการฟื้นกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือการบินไทย สายการบินแห่งชาติ เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงาน และชำระหนี้ระยะสั้นที่จะครบกำหนดชำระให้การบินไทย เบื้องต้นประเมินว่าการบินไทยจะกู้เงินเสริมสภาพคล่องระยะสั้นราว 50,000 ล้านบาท

                เมื่อตรวจสอบรายงานงบการเงินของการบินไทย และบริษัทลูก ที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า ณวันที่ 31 ธันวาคม 2562 พบว่า การบินไทยมีหนี้สินรวม 244,899.4 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินหมุนเวียน 84,367 ล้านบาท และหนี้สินไม่หมุนเวียนรวม 160,532.3 ล้านบาทสำหรับหนี้สินหมุนเวียนของการบินไทย 84,367 ล้านบาทประกอบด้วย เจ้าหนี้การค้า 4,510.3 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 16,350 ล้านบาท

                สำหรับแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย จะมีการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันกำหนดเพดานวงเงินกู้ไว้ประมาณ 50,000 ล้านบาท แต่จะกู้จริงเท่าใดขึ้นอยู่กับความจำเป็น และผลการดำเนินงาน ซึ่งต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และต้องนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา

                โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคม จะเสนอ ครม.พิจารณายกเว้นเงื่อนไขการค้ำประกันเงินกู้ของกระทรวงการคลัง ซึ่งเดิมมีมติ ครม.ไม่ค้ำประกันเงินกู้รัฐวิสาหกิจ ที่มีผลดำเนินงานขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี ซึ่งการบินไทยขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปี โดยปี 2562 ขาดทุน 12,017 ล้านบาท ปี 2561 ขาดทุน 11,569 ล้านบาท และปี 2560 ขาดทุน 2,072 ล้านบาท

                ขณะที่ ”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม แจงว่าจากกรณีที่แผนฟื้นฟูของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติ ยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น เนื่องจากมติของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ยังไม่ได้มีการจัดส่งมายังกระทรวงคมนาคม ขณะเดียวกันทางกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างการพิจารณาการปรับปรุงแผนฟื้นฟูการบินไทยให้มีความชัดเจนมากขึ้น ให้เป็นลักษณะของแผนปฏิบัติการ(Action plan) ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

                ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ  ปลัดกระทรวงคมนาคม และนายชยธรรม์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)  ร่วมกันดูในรายละเอียดของแผนฟื้นฟูการบินไทยที่มีการปรับปรุง ก่อนที่จะมีการนำเสนอให้กระทรวงคมนาคมสรุปผลอย่างเป็นทางการก่อนเข้า ครม.อีกครั้งหนึ่ง

                รางงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแผนฟื้นฟูการบินไทยนั้นจะพบว่าแผนดังกล่าวไม่มีแผนการสร้างรายได้, แผนการบริหารหนี้,  แผนรายจ่ายที่จะต้องดำเนินการตามกรอบเวลาให้เห็นภาพที่ชัดเจน ขณะเดียวกันตามแผนตามยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการทุกอันของการบินไทย ระบุว่ามีความเสี่ยงในขณะปฏิบัติงาน  ดังนั้นจึงทำให้มีข้อกังวลว่าหากแผนมีการดำเนินการและเกิดความเสี่ยงขึ้น การที่ภาครัฐบาลจะใส่เม็ดเงินเข้าไปช่วยเหลือ ที่จะมีขึ้นในอนาคตก็จะมีความเสี่ยงไปด้วย

                ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความคิดเห็นในกรณีดังกล่าวว่า นี่จะเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราจะดูแลตรงนี้ ไม่ให้แย่ไปกว่านี้ เพราะมันค่อนข้างยากที่จะมีการปรับทั้งในองค์กร บุคลากร ปรับโครงสร้างต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการ ผู้บริหารและสหภาพแรงงาน ทุกคนต้องร่วมมือกัน ถ้าท่านยังคงไม่ปฏิบติตามก็จะเกิดปัญหา และลำบากไปกว่านี้

            ต้องยอมรับว่าเรื่องแผนฟื้นฟูดังกล่าวนี้มีการพูดถึงกันเป็นวงกว้างขณะที่นักวิชาการและคนทั่วไปต่างออกมาแสดงความคิดเห็นกันเป็นอย่างมาก มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกระทรวงคมนาคม  ก็พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้การบินไทยกลับมาเป็นสายการบินแห่งชาติที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง แต่ทางการบินไทยเองก็ต้องช่วยเหลือตัวเองที่จะรักษาองค์กรให้เดินหน้าต่อไปได้ร่วมกัน ไม่ใช่นึกถึงแต่ประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก 

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"