ไทยสู้โควิด สสส. - SOOK ท้าทายเปลี่ยน Mind Set สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูก


เพิ่มเพื่อน    

 สสส. ร่วมกับ SOOK พับลิชชิ่ง จัดทำกิจกรรม “โอกาสในการ connect และสร้างความสัมพันธ์กับลูก” ไทยสู้โควิด คนไทยอยู่บ้านสร้างงานบนออนไลน์ Work From Home Play From Home เป็นเรื่องท้าทาย พร้อมใจกันเปลี่ยน Mind set มองโลกด้านดี ไม่ต้องหัวเสียกับรถติดบนท้องถนน ได้เวลาเพิ่มอยู่กับครอบครัว ปรับพื้นฐานให้ตรงเหมือนมีเข็มทิศที่ดี มีวินัย กติกา มีความสุข ผูกพันกัน เปิดโอกาสให้เด็กเล่นและเรียนรู้ตามวัยด้วยความเพียร ชวนเด็กเล่นกับผู้ใหญ่ขยับร่างกาย รู้จักกฎกติกา การรอคอย รู้จักแพ้ชนะ

            เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th/sook/ทั้งสนุกได้ประโยชน์ ปลอดภัย จากไวรัสโควิด-19 เป็นการฝึกวินัยความรับผิดชอบ ฝึกทักษะในการแก้ไขปัญหา เกิดความคิดสร้างสรรค์ทั้งยังได้กระชับสัมพันธ์กับพ่อแม่ มีกิจกรรมชวนลูกเข้าครัวทำอาหารแสนสนุก แฝงประโยชน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เป็นการสร้างกิจกรรมยามว่างให้กับเด็กๆ ยังช่วยให้ปลอดภัยเพราะไม่ต้องเสี่ยงรับเชื้อโรคจากภายนอกด้วย

            ไทยสู้โควิด: คนไทยรับผิดชอบส่วนตัวเพื่อส่วนรวม สสส. ร่วมกับ SOOK พับลิชชิ่ง จัดทำกิจกรรม “โอกาสในการ connect และสร้างความสัมพันธ์กับลูก” มาร่วมกันรับฟังแนวคิดและออกแบบกิจกรรมที่จะช่วยสร้างการเรียนรู้ของลูกๆ ไปพร้อมกันด้วย เลื่อนเปิดเทอม จัดกิจกรรมอย่างไรเมื่อไม่มีโรงเรียน กันทกา กิตติภราดร (โอ๋)-วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ (กอล์ฟ) ครอบครัวลูก 2 ทำธุรกิจวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ที่ปรึกษาการตลาดดิจิทัลในแวดวงโฆษณา ในงานสถาปนิก ASA โดยวรุตม์ทำหน้าที่ซักถามทางออนไลน์

            ในสถานการณ์ Work From Home บางคนต้อง Play from home นอกจากทำงานแล้วยังต้องโฟกัสดูแลลูกด้วย คุยกับผู้เชี่ยวชาญ สาธิก ธนะทักษ์ หรือโค้ชเป้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมด้านร่างกายสำหรับเด็ก นักเขียน นสพ.มติชน พิธีกรดำเนินรายการของสถานีโทรทัศน์ Thai PBS รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ กุมารแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมอเด็กที่มีความเชื่อว่ามนุษย์ต้องสร้างตั้งแต่วัยเด็ก การสร้างอย่างสมบูรณ์ให้เติบโตและการใช้ชีวิตความเป็นมนุษย์ได้ตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในการเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก

                วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ (กอล์ฟ): พ่อแม่เริ่มปรับตัว ขณะนี้เราอยู่ในช่วง Work from home กันเป็นเวลาเดือนกว่าแล้ว บางคนยังปรับตัวไม่ค่อยได้ เริ่มมีการบ่น หมดมุกแล้ว ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทราบข่าวว่ามีการเลื่อนเปิดเทอมเป็นวันที่ 1 ก.ค. หนักเลยนะครับคุณหมอ อีก 2-3 เดือนเราจะมีวิธีการจัดการอย่างไร?

                สาธิก ธนะทักษ์ หรือโค้ชเป้ง: ผมเชื่อว่าตอนนี้ลูกเราไม่ว่าจะอยู่ใน stage ไหน ถ้าเราพยายามทำพื้นฐานให้ดี เรื่องอื่นๆ ที่จะตามมาให้ดีได้โดยอัตโนมัติ ต้องปรึกษาว่าพื้นฐานที่จะต้อง set ให้ตรงเหมือนกับเข็มทิศที่ดีที่จะส่งต่อไปได้ก่อนที่จะทำกิจกรรมเพิ่มเติม

                รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์: ก่อนที่จะเล่นต้องมีวินัย มีกติกา ต้องมีความสุขมาก่อน หมายความว่าคนที่เลี้ยงดูเด็กต้องมีความสุข ถ้าคนเลี้ยงดูเด็กไม่มีความสุขจะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างบรรยากาศให้เด็กเติบโตได้ ก่อนที่จะมีวินัย กติกาก็ต้องมีความผูกพันด้วยเชื่อมใจกันด้วย กติกาที่จะทำให้ทุกคนดูแลตัวเองได้ตามอายุของเขา เขาสามารถดูแลคนอื่นได้ตามอายุของเขาด้วย การที่เขามีกติกาแปลว่า ด้วยการเปิดโอกาสให้เขาได้ทำเอง เป็นไคลแมกซ์ การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำตามวัย เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้ชื่นชมเขาเวลาที่เขาทำได้สำเร็จ ก่อนที่จะชื่นชมเขาเราก็ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ชื่นชมตัวเองด้วยว่าเขาทำได้ แม้ว่าเขายังทำไม่ได้ก็ต้องเปิดโอกาสให้ด้วยการชื่นชมเขา ที่ได้ใช้ความเพียรพยายามที่จะทำด้วยตัวเอง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่จะทำให้เขาเติบโตอย่างมีความสุขและเกิดความภาคภูมิใจด้วย

                วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ (กอล์ฟ): คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเจอปัญหาว่าตัวเองก็ต้อง Work From Home ลูกก็ต้องดูแลด้วย คนเป็นพ่อแม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดอย่างไร จะลูกมาก่อน หรืองานมาก่อน หรือทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กันด้วย สิ่งเหล่านี้จะทำได้ด้วยวิธีการอย่างไร?

                รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์: การที่หลายๆ คนถามว่าอยู่กับลูก 24 ชั่วโมงจะไหวไหม? ตาย ตาย ตาย หมอขอให้เปลี่ยนคำพูดว่าโชคดีจังเลยที่เราได้อยู่กับลูกโดยไม่ต้องอยู่บนท้องถนน โชคดีจังเลยที่เราอยากได้เวลาอย่างนี้อยู่กับลูก โชคดีจังเลยเราได้โอกาสทำให้มีความรู้สึกว่ามันเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับการเปลี่ยน Mindset ถ้าเราเปลี่ยนตัวเองได้ในจังหวะนี้ การจัดตารางเวลาไม่ใช่เป็นเรื่องยาก เราจะต้องดูว่าเวลานั้นเป็นเวลาที่เราจะต้องติดต่อกับบุคคลภายนอกหรือเปล่า? อาจจะใช้เวลาช่วงที่ลูกกำลังหลับอยู่ก็ได้ เราสามารถจัดเวลาต่างหากสำหรับเขาได้ ถ้าหากเป็นเวลาที่เราต้องติดต่อกับบุคคลภายนอกด้วย ตรงนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าลูกอายุเท่าไหร่? เราสามารถมีกิจกรรมตรงนั้น ให้คนอื่นทำแทนหรือลูกเล่นด้วยกันได้ไหม คือทำได้หลายอย่าง

                วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ(กอล์ฟ): การที่พ่อแม่ต้องทำงานไปด้วยดูลูกไปด้วย บางคนมองว่าเป็นวิกฤติ เป็นการเริ่มต้นด้วยความรู้สึกที่ไม่ดี แต่ถ้าเรามองว่ามันคือโอกาส เป็นโอกาสที่เราจะมีเวลาอยู่กับลูกได้มากยิ่งขึ้น ขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารจัดการ

                สาธิก ธนะทักษ์ หรือโค้ชเป้ง: ผมชอบคำถามว่าอะไรมาก่อน ถ้าเปรียบเทียบเวลาที่เราจะออกกำลังกาย บางคนชอบคิดว่าคนเราควรจะออกกำลังกายจริงๆ ไม่ใช่คนเราต้องออกกำลังกาย เหมือนเราต้องแปรงฟัน ไม่ใช่ควรแปรงฟัน ฉะนั้นเราต้องมีเวลาให้กับลูก อย่างผมถ้านัดเวลาผมก็จะนัดใส่ลงไว้ในตารางนัดหมาย อะไรที่จะเข้ามาประชุมก็จะบอกว่าผมมีตารางนัดไว้แล้ว  ถ้าเราจะมีเวลาให้กับลูกก็ต้อง flexible จัดลำดับความสำคัญให้ลูกมาก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องอยู่กับลูกทั้ง 24 ชั่วโมง ถ้าเราจัดเวลาได้ก็เป็นเรื่องที่โอเค

                วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ (กอล์ฟ): ขอถามโอ๋-กันทกา กิตติภราดร คุณแม่ลูก 2 ปรับตัวอย่างไรบ้าง?

                กันทกา กิตติภราดร (โอ๋): โอ๋เป็นคุณแม่ full time อยู่แล้ว การที่เราได้ใช้เวลาอยู่กับลูก เรารู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่ แต่คราวนี้มีพ่อเพิ่มเข้ามา จากที่ปกติพ่อจะต้องออกไปทำงาน กลายเป็นว่าเวลาที่อยู่กับลูกมากขึ้น ปกติแล้วครอบครัวเราเป็นครอบครัวที่ใกล้ชิดกัน ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านด้วยกันค่อนข้างเยอะ แต่ตอนนี้กิจกรรมทุกอย่างปิดทั้งหมด เรากลับมาทำกิจกรรมกันภายในบ้าน เราถือว่าเป็นความท้าทายของพ่อแม่ที่ดีกว่า เราจะทำกิจกรรมอะไรที่ทำให้ลูกสนุก ได้เรียนรู้เหมือนกับที่เขาเป็นอยู่ แต่ว่าเป็นการเปลี่ยนสถานที่ เป็นความท้าทายของพ่อแม่ที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูนิดหนึ่ง ปรับเปลี่ยนลูกด้วย ให้เขาเข้าใจด้วยว่า ณ วันนี้มันเกิดสถานการณ์อะไรขึ้น ทำไมเขาถึงไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมอย่างแต่ก่อนได้ ไม่ใช่ว่าลูกชาย 3 ขวบยังเป็นวัยที่ควบคุมไม่ได้มากนัก เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ อยากทดลอง ในขณะที่ลูกสาวคนโตอายุ 6 ขวบ มีอะไรที่เขาอยากเรียนรู้อีกเยอะ ฉะนั้นเราต้องปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูให้เหมาะสมกับเขาด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เล่นอย่างเดียว เพราะสุดท้ายแล้วลูกจะต้องกลับไปเรียนหนังสือในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ถ้ายังปล่อยให้เล่นอย่างเดียว ตื่นขึ้นมาก็เล่นหุ่นยนต์ ว่ายน้ำ เราต้องจัดหากิจกรรมใหม่ๆ ให้เขาได้เรียนรู้ไปด้วยกัน จัดหาอุปกรณ์ที่มีอยู่ภายในบ้าน

            คราวนี้เป็นความโชคดีที่คุณพ่ออยู่บ้านด้วย คุณพ่อก็ทำสนามเด็กเล่นส่วนตัวภายในบ้านได้ พ่อเอากรวยมาตั้ง ทำตารางตัวเลขให้ลูกได้กระโดดเล่นไปมา  มีขวดน้ำที่ใช้แล้วนำมาวางให้เขาวิ่งซิกแซ็กๆ ลูกก็ชอบ เขาก็ได้เรียนรู้ในการรู้จักตัวเลข เราไม่ได้มองว่าเป็นความยากลำบากอะไร เรามองตรงนี้ว่าเป็นโอกาสที่ดี ถามว่าเหนื่อยไหม? ก็เหนื่อยเพิ่มขึ้นอย่างที่คุณหมอบอก แต่สิ่งสำคัญในชีวิตคือลูก เรามองว่าเป็นโอกาสที่ดีได้ใช้เวลาอยู่กับลูก ได้สอนเขามากขึ้น แต่เราก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด พ่อแม่ก็ต้องปรับเปลี่ยนความคิดของลูกได้เข้าใจในสถานการณ์ด้วย

                รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์: เด็กยิ่งเล็กยิ่งต้องการพ่อแม่ วัยเด็กเล็กเป็นวัยที่ทดสอบโลกภายนอก ทดสอบว่าโลกนี้ไว้ใจได้ไหม? เขาจะปลอดภัยกับโลกนี้ได้ไหม? ทดสอบว่าเขาจะได้รับความรักโดยไม่มีเงื่อนไข โดยที่เขาก็ยังมีคนที่รักเขาเป็นพื้นฐานความมั่นคง ในความเป็นมนุษย์ที่จะใช้ตลอดไปไม่ว่าจะมีโควิดหรือไม่มีโควิด ขอให้คุณอย่าทิ้งวัยนี้กับลูกเล็ก เพราะว่ามันจะเป็นต้นทุนตลอดชีวิตของเขา งานที่ทำให้เราอยู่ได้ งานบ้านทุกชนิด จริงๆ แล้วมนุษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้ที่จะทำกันได้ ดิฉันขอชื่นชมคุณโอ๋ ทำงานบ้านได้ สิ่งเหล่านี้จะสามารถทำให้เขาดูแลตัวเองได้ดีและสามารถดูแลคนอื่นได้ดีด้วย ถ้าเราสามารถทำให้เด็กเล็กเข้าสู่งานบ้านได้รวดเร็ว ทำให้เป็นกิจวัตรสม่ำเสมอที่เขาทำจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากสำหรับทุกคน

                วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ (กอล์ฟ): สำหรับเด็กเล็กๆ กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว คุณหมอพอจะมีข้อแนะนำสิ่งที่ควรจะทำในครอบครัวเพื่อจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่

                รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์: ถ้าพ่อแม่นึกอะไรไม่ออก ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร? จัดสถานที่ให้ปลอดภัย เดี๋ยวเด็กจะพาตัวเองไป อย่าได้ขัดขวางหรืออย่าห้าม อย่าทำอะไรให้เกิดอันตราย จนกระทั่งเราต้องปกป้องเด็กไว้ คือจัดสนามที่ให้เด็กรู้สึกเล่นอย่างปลอดภัย เด็กก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้เอง แต่ถ้ามีกิจกรรมอื่นๆ ที่คุณพ่อคุณแม่อยากให้โค้ชเป้งแนะนำด้วย

                สาธิก ธนะทักษ์ หรือโค้ชเป้ง: ถ้าเป็นบ้านก็จะดีกว่าคอนโดฯ หรือพื้นที่แคบจะยากขึ้นไปอีก ทุกอย่างจะต้องเริ่มต้นจากทัศนคติ ต้องเข้าใจว่าความซน การเล่นเป็นหน้าที่ของเด็ก คนไทยมักเข้าใจเรื่องพลศึกษาคือการฝึกทักษะ ความจริงแล้วไม่ใช่ เราใช้แต่การออกกำลังกายและกีฬามาพัฒนาร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญาให้กับเด็ก ฉะนั้นคือมีพลศึกษาเข้ามา ไม่ว่าจะมีพื้นที่แบบไหนก็ตาม เราสามารถตั้งกติกาบอกความท้าทายให้กับเขาว่า เขาจะทำอย่างไร คิดเกมนี้ให้กับเขา หรือให้เขาเลือกได้ ชวนลูกใช้จินตนาการว่าเขาจะจัดการ สอนการจัดการพื้นที่ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการออกกำลังกาย ปัจจุบันมีข้อศึกษาวิจัยพบว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับพื้นที่ บางคนบอกว่าการออกกำลังกายจะต้องมีลู่วิ่งหรือจะต้องเข้าไปวิ่งในสวน อันนั้นเป็นเรื่องที่ขยับร่างกายแบบแอโรบิก คือทำร่างกายแบบให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจแรงขึ้น ฉะนั้นถ้าพื้นที่จำกัด การที่เราจะยืนย่ำขา หรือเท้าอยู่กับที่ก็ย่อมได้ผลเท่ากัน ไม่จำเป็นต้องไปซื้อลู่วิ่ง หรือฉันต้องมีบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ถึงจะทำได้ เราสามารถเพิ่มความท้าทายกับเด็กให้มีความเหมาะสมกับตัวเด็ก ให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กด้วย 1 นาทีคุณทำได้เท่าไหร่ ทำได้กี่ครั้งหรือจะเป็นการแข่งขันกันภายในครอบครัว สามารถบริหารพื้นที่ตรงนี้ให้มีความสุข

                วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ (กอล์ฟ): เราเริ่มเห็นแนวทางอย่างที่คุณหมอบอกว่าใครเปลี่ยนวิธีการคิด ฉันเห็นว่าไม่ใช่วิกฤติ ฉันเห็นเป็นโอกาส เราได้เวลาบนถนน ได้เวลาในการเดินทาง ได้เวลาในการประชุมกลับคืนมา เอาเวลาเหล่านั้นกลับมาให้เด็กๆ ลูกๆ ของเราด้วย การที่โค้ชเป้งพูดว่าบางคนอาจจะมองไม่เห็นภาพการซนอยู่ในพื้นที่ การออกกำลังกาย บางบ้านรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทำยากเหลือเกิน พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกซน เพราะพ่อแม่ก็ไม่อยากเหนื่อย พอจะทำให้เห็นภาพได้ว่า การออกกำลังกายเป็นเรื่องง่ายๆ

                รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์: กิจกรรมที่ทำ การที่เด็กเล่นเอง การที่เด็กได้เล่นกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน เป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนการที่มีผู้ใหญ่ได้เล่นกับลูกด้วย สนุกมากกว่า ผู้ใหญ่ไม่ใช่เป็นประเภทที่จะต้องเอาชนะเด็ก เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กเอาชนะด้วย เด็กจะมีความสุขด้วยเมื่อเข้าหมวดกฎกติกา การรอคอย การรู้จักชนะ รู้จักแพ้ เด็กจะรู้สึกดีกับการเล่นกับผู้ใหญ่

                สาธิก ธนะทักษ์ หรือโค้ชเป้ง: เรามาออกกำลังกายด้วยการยืนขาเดียว กลับขึ้นมายืนใหม่โดยไม่เอาขาลง ก้มแตะพื้นแล้วลุกขึ้นมายืน นับ 1 นับ 2 นับ 3 นับ 4 นับ 5 ลองทำดูซิว่าใครทำรอบได้เร็วที่สุด การออกกำลังกายนี้เล่นได้ทั้งครอบครัว พ่อ แม่ ลูก การเล่นของเด็กนั้นเป็นการเล่นซึ่งต้องมีความเหนื่อยระดับหนึ่ง การที่เด็กเล่นซนทั้งวันยังเหนื่อยไม่พอ เราต้องกระตุ้นให้เขายกขา เป้าหมาย 30 วินาที ทดลองทำพร้อมๆ กัน ยกขาสูง Marching ซ้าย ขวา ซ้าย ทำต่อไปเรื่อยๆ แขนขาให้สัมพันธ์กันด้วย หายใจลึกๆ ร้องเพลงด้วยกัน ร้องเพลงประจำบ้าน ย่ำเท้าอยู่กับที่อย่าหยุด ทำไปเรื่อยๆ ต้องฝึกในเรื่องความสามัคคีด้วย กิจกรรมที่มีการออกกำลังกาย เหนื่อยมากเท่าไหร่ก็เป็นการออกกำลังกายที่ดี มีการกระตุ้นกิจกรรมที่เหนื่อยระดับปานกลางขึ้นไป เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาที่ดีด้วย ควรฝึกให้เด็กออกกำลังกาย 60 นาที/วัน ผู้ใหญ่ต้องทำให้ได้วันละ 20 นาที

                วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ (กอล์ฟ): work from home Play from home ไปด้วย มันไม่ใช่วิกฤติ ถ้าเราคิดได้เราจะได้โอกาสในเรื่องเวลาที่เราเคยสูญเสียไปบนท้องถนน หรือทำอะไรได้หลายๆ อย่าง เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว

                รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์: อยากให้ทุกคนอยู่บ้านรื่นรมย์เสมอ ชื่นชมกันเสมอ แล้วทุกอย่างก็จะไปได้สวย

                วรุตม์ เหลืองวัฒนากิจ (กอล์ฟ): ในฐานะที่เป็นตัวแทนของครอบครัว ขอขอบคุณคุณหมอ รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ คุณสาธิก ธนะทักษ์ หรือโค้ชเป้งที่ร่วมแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วย.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"