แพทย์สถาบันบำราศนราดูร เตือนหน้าฝนนี้ ต้องระวังไข้หวัดใหญ่ พร้อมกับโควิด หากเป็นซ้ำซ้อนสองโรค จะมีความรุนแรงมาก 


เพิ่มเพื่อน    


13 พ.ค. 63- นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบัน กลุ่มแผนปฏิบัติการชาติฯ สถาบันบำราศนราดูร เสวนา  ในหัวข้อ “ความร้ายแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ ในภาวะการระบาดของโควิด-19” เพื่อเป็นความรู้และแนวในการดูแลรักษาป้องกันจากไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูฝนนี้

นพ.วีรวัฒน์ ให้ข้อมูลว่า โรคไข้หวัดใหญ่ที่มักระบาดในหน้าฝน  ซึ่งมีความน่ากังวลเพราะมาในช่วงที่มีการการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกทั้งอาการของไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกันมาก  คือมีอาการไข้ 38-40 องศา  ไอ ปวดศีรษะเจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ร่างกายอ่อนเพลีย ในทางการแพทย์ที่วินิจฉัยในการแยกโรคนั้นค่อนข้างยาก แต่ก็มีอาการที่แตกต่างกันเล็กน้อยคือ น้ำมูก เพราะโควิด-19 จะมีน้ำมูกไม่เยอะ ซึ่งยังต้องอาศัยการเช็คประวัติและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีการแพร่กระจายสู่ผู้อื่นเมื่อมีการไอหรือจาม การสัมผัสทางตรงหรือทางอ้อม  ทำให้มีความสามารถในแพร่การเชื้อจาก 1 คนไปสู่ 2 คน 

 

ในส่วนของอัตราการเสียชีวิตของไข้หวัดใหญ่ในทั่วโลกอยู่ที่ 1-2% โดยสถิติย้อนหลังไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยย้อนหลัง 5 ปี พบว่าทั้งในปี 2561-2562 จะพบว่าช่วงที่เป็นไข้หวัดใหญ่มากสุดในฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กันยายน และในปี 2563 ที่มีการสำรวจพบว่ามีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สูงในเดือนมกราคม และลดลงมาโดยหลังจากเดือนเมษายน(ยังไม่ครบเดือน) มีตัวเลขที่ลดลงมา จะเห็นว่าในไทยที่มีผู้เป็นไข้หวัดใหญ่สูงกว่าโควิด-19 ถึง 33 เท่า เพราะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทุกคนมีความใส่ใจในการดูแลป้องกัน และให้ความสนใจในเฝ้าระวัง การคัดกรองโรค รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ดังนั้นโควิด-19 อาจจะระบาดขึ้นอีกในช่วงเข้าสู่ฤดูฝน สิ่งที่ควรต้องระวังคือการติดเชื้อร่วมกันทั้งไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 

 

“จากข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าคนที่ติดโควิด-19 มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสอื่นได้ถึง 20% ส่วนข้อมูลจากประเทศจีน พบว่าประมาณ 80% มีโอกาสติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอื่นๆ โดยสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ได้ถึง 60% ซึ่งการติดเชื้อซ้ำ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงถึง 29-55% ซึ่งทางสถาบันฯ ก็เจอเคสที่มีอาการใกล้คล้ายกับไข้หวัดใหญ่มาตรวจโควิด-19 และตรวจเจอเคสที่เป็นการติดเชื้อร่วม คือเป็นทั้งไข้หวัดใหญ่และโควิด-19  ซึ่งต้องมีการรักษาและใช้ยาทั้ง 2 โรคพร้อมกัน ให้เร็วที่สุด เพราะคนไข้อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น” นพ.วีรวัฒน์ กล่าว

 

 

นพ.วีรวัฒน์ กล่าวเสริมว่า ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นไข้หวัดใหญ่ อาทิ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่จะมีความรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และกลุ่มบุคคากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย อย่างกลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นถึง 26 เท่า โดยวิธีจัดการกับไข้หวัดใหญ่ แบ่งเป็น 1.การป้องกันก่อนเกิดเหตุ คือการการรักษาสุขอนามัยที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ที่เหมือนกับการป้องกันโควิด-19  และฉีควัคซีนประจำปีที่มี 3 สายพันธุ์และ 4 สายพันธุ์  แต่การฉีดวัคซีนอาจจะป้องกันได้ประมาณ 40-60%  ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปี ซึ่งในปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ก็มีให้บริการฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง ส่วนประชาชนทั่วไปสามารถเข้ารับวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน 2.การรับยาต้านไวรัส เพราะสามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสในร่างกาย บรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ และลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสสู่คนรอบข้าง

 โดยการใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีอยู่ในประเทศไทย นพ.วีรวัฒน์ กล่าวว่า ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ บาลอกซาเวียร์ ที่ช่วยลดเชื้อไวรัสใน 24 ชั่วโมง รับประทานครั้งเดียว( 2-4 เม็ด ตามน้ำหนักตัว) อาจจะมีอาการข้างเคียงและข้อควรระวัง คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หลอดลมอักเสบ ฯลฯ , โอเซลทามิเวียร์ จะช่วยลดเชื้อไวรัสใน 72 ชั่วโมง รับประทานวันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน มีอาการข้างเคียงและข้อควรระวัง คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียประสาทหลอน และซานามิเวียร์(ชนิดสูดพ่น) จะช่วยลดเชื้อไวรัสใน 96  ชั่วโมง ต้องพ่นวันละ 2 ครั้ง 5 วัน อาการข้างเคียงและข้อควรระวัง คือ ไซนัสอักเสบ มึนงง มีไข้ หนาวสั่น ฯลฯ ทั้งนี้การทานยาจะดีที่สุดเมื่อรับประทานใน 48 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ และหากจะซื้อยาทานเองควรมีใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ทางที่ดีคือการเข้าพบแพทย์ เพื่อป้องกันการภาวะแทรกซ้อน ส่วนโอเซลทามิเวียร์และบาลอกซาเวียร์ อยู่ในขั้นตอนของการศึกษาวิจัยว่าจะมีผลต่อการรักษาโควิด-19 หรือไม่ แต่ในปัจจุบันยาทั้ง 2 ตัวนี้ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้รักษาโควิด-19 แต่ในประเทศญี่ปุ่นได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ และใช้รักษาโควิด-19 เป็นประเทศแรก ซึ่งก็ใช้รักษาโควิด-19 ในไทยด้วย

“สำหรับสถาณการณ์โควิด-19 ของทางสถาบันฯดีขึ้น จากการที่มีผู้ป่วยเข้ามารักษาจำนวน  214  ราย ซึ่งมีการรักษาหายหมดแล้ว  เหลือเพียง 1 ราย ที่อยู่ในระยะพักฟื้น ซึ่งในภาพรวมของประเทศสถานการณ์ของคนไข้โควิด-19 ก็เป็นในทิศทางที่ดีขึ้นในผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในเฟสแรก แต่ทั้งนี้ก็ต้องคอยจับตาดูในเฟสที่ 2 เพราะไทยเข้าสู่ฤดูฝนพอดี ซึ่งจะมีการคลายล็อคในส่วนต่างๆ ทั้งการเดินทาง การใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ ทั้งการทำงาน สัมนา ท่องเที่ยว แต่ก็มีแนวโน้มที่จะทำให้โควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้งได้ เพื่อไม่ให้เกิดข้อจำกัดของทรัพยากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด” นพ.วีรวัฒน์ ทิ้งท้าย

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"