"ยาแอนติบอดิ ค็อกเทล "สู้โควิด เข้าไทยแล้ววันนี้(30ก.ค.) เริ่มใช้ที่สถาบันบำราศนราดูรแห่งแรก 


เพิ่มเพื่อน    


30ก.ค.64- บริษัท  โรช ไทยแลนด์ ได้แถลงข่าวออนไลน์ ในหัวข้อ ‘เจาะลึก ตัวเลือกการรักษาผู้ป่วย COVID-19 กับแอนติบอดีแบบผสม (antibody cocktail)’ จากโรช (Roche) และ รีเจนเนอรอน  (Regeneron) ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ได้รับการอนุมัติให้ใช้เพื่อการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน[1] โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ของประเทศไทย  อนุมัติให้ใช้ เพื่อการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินได้ 

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ กล่าวว่า  ยาแอนติบอดี ค็อกเทล  ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ คำนี้อาจเป็นคำใหม่ของทุกคน แต่ในมุมมองการรักษาโควิด  จะถือเป็นอาวุธอีกชิ้นหนึ่งที่จะช่วยให้แพทย์รักษาผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น   เชื้อไวรัสโควิด 19 มีผิวเป็นปรตีนเหมือนหนาม ซึ่งโปรตีนนี้จะทำให้ไวรัสเข้าไปจับกับผิวของเซลล์มนุษย์ หรือเรียกว่าโปรตีน ACE2 บนผิวของเซลล์คน  ซึ่งตัว ACE2 มีความจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ในคน และพบได้ในหลากหลายอวัยวะ  โดยเฉพาะบทบาทสำคัญในการป้องกันระบบทำงานของปอด ระบบหัวใจและหลอดเลือด   ทั้งนี้ คนที่ติดโควิด แล้วหายป่วยแล้ว จะมีตัวแอนติบอดี้หรือภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นในรางกาย  ซึ่งการทำยาแอนติบอดี ค็อกเทลนี้  คือารสกัดภูมิคุ้มกันนี้ออกมาเพื่อให้ยายับยั้งเชื้อโควิดได้โดยตรง 


ส่วนกลไกของการทำงานยาแอนติบอดิ ก็คือ การทำให้ภูมิคุ้มกันไปลบล้างฤทธิ์  ทำให้ไวรัสอ่อนกำลังลง และตรงเข้าจับกับตัวรับบนโปรตีนรูปแบบเดือย ซึ่งอยู่บนผิวของไวรัสโควิด  สามารถยับยั้งการติดเชื้อภายในร่างกายคนได้  จากการทดลองในห้องปฎิบัติการพบว่า ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์มีความไว ต่อไวรัสโควิด 19 ในสายพันธุ์ต่างๆ ได้

ด้าน ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณากุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ขณะนี้ผลการศึกษาแอนติบอดี จะเป็นการศึกษาผู้ป่วยโควิด 19 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตยาตัวดังกล่าว  โดยผลการศึกษาประสิทธิภาพของแอนติบอดี ค็อกเทล ซึ่งใช้รักษา ผู้ป่วยโควิด ที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง ซึ่งถ้าเทียบในประเทศไทยก็จะเป็นการใช้ใน ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว และกลุ่มสีเหลืองเท่านั้นที่มีอาการไม่เกิน 7 วัน ไม่เคยได้รับ ยารักษาโควิด 19 มาก่อน  และมีความเสี่ยงที่มีอาการโควิดจะลุกลามไปสู่ระดับรุนแรง เป็นผู้ป่วยโรคอ้วน 58% โรคหัวใจและหลอดเลือด 36% และผู้ป่วยที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป 51 %

ศ.พญ.ศศิโสภิณ กล่าวต่อว่าจากการศึกษาประสิทธิภาพของ ยา ซึ่งเป็นการทดลองเฟส 3 ในผู้ป่วยกลุ่มโควิดอาการน้อยหรือปานกลาง  ที่มีการทดลองแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ จะมีกลุ่มที่ได้รับยา 1,200 มก. กลุ่มที่ได้ยา 2,400 มก. และกลุ่มที่ได้ยาหลอก ผลการศึกษา พบว่า  กลุ่มที่ได้รับแอนติบอดี ค็อกเทล ปริมาณ 1,200 มก. ลดการนอนรพ.หรือการเสียชีวิตได้ถึง 70% และกลุ่มที่ได้รับแอนติบอดี ค็อกเทล ปริมาณ 2,400 มก. ลดการนอนรพ.หรือการเสียชีวิตได้ถึง 71 % และระยะเวลาที่โรคแสดงอาการลดลง จาก 14 วันแล้วหาย ลดลงเหลือ 10 วัน ก็หายป่วย  ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ยาแอนติบอดี ค็อกเทล สามารถช่วยลดภาระเตียง  และห้องไอซียู ของโรงพยาบาลได้  


"นอกจากนี้  ยังช่วยลดความเสี่ยงของการดื้อยาด้วย จากผลการศึกษาเรื่องความปลอดภัย พบว่าผู้ป่วยโควิด ที่ได้รับแอนติบอดี ค็อกเทล  ไม่มีการแสดงอาการข้างเคียง จากยา แต่อาจพบอาการข้างเคียงทั่วไปที่เจอได้ในยาฉีด เช่น ปฎิกิริยาแพ้แบบรุนแรงและเฉียบพลัน หรือภาวะภูมิไวเกิน"

ศ.พญ.ศศิโสภิณ  กล่าวต่อว่า ในการทดลองยังได้มีการนำยากลุ่มภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ ไปใช้ทดลองในห้องทดลอง กับโควิดสายพันธุ์ต่างๆ ทั้งอัลฟา เบตา แกมมา และ สายพันธุ์เดลตา พบว่า ยาในกลุ่ม Cas&Im ของกลุ่มบริษัทโรช มีผลในการยับยั้งเชื่อได้ทั้งหมดทุกสายพันธุ์ แต่ทั้งนี้ต้องมีการทดลองในมนุษย์ ว่าผลจะเป็นไปตามในห้องทดลองหรือไม่ 


"ยาแอนติบดดิ ค็อกเทลนี้ ถือว่าเป็นยาตัวแรกที่ใช้รักษาโควิด 19  โดยตรง ส่วนยาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างเช่น ฟาวิพิราเวียร์ ไม่ใช่ยาที่ใช้รักษาโควิดโดยตรง แต่เป็นยาที่ใช้รักษาอาการอื่นๆ และชณะนี้ มีการวิจัยยา ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโควิดมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น บริษัทวิจัยในอินเดีย มีการวิจัยยาฟาวิพิราเวียร์ เฟส 3  และมีอีกหลายบริษัท  ซึ่งต่อไปยาที่ใช้  จะเป็นการกิน ไม่ใช่การฉีด"  

นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร  กล่าวว่า สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐอเมริกา  ได้มีข้อแนะนำให้ใช้ยาแอนติบอดิ ค็อกเทล ในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย ถึงปานกลาง และเป็นผู้ป่วยเสี่ยงสูงที่มีโรคประจำตัว ทั้งความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ  เป็นต้น  และใช้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่มาก หรือมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย ไม่ถึงกับอ๊อกซิเจนตก ขณะนี้ มีหลายประเทศทั้งในสหรัฐ มาประมาณ 6เดือนแล้ว ในผู้ป่วยจริง   4,805 คน  และมีการใช้ในยุโรป ล่าสุดประเทศญี่ปุ่น ได้มีการนำ ยาแอนติบอดีแบบผสม ไปใช้   ส่วนไทยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่  15ก.ค.ที่ผ่านมา และมีการนำเข้าประเทศไทยเมื่อเช้ามืดวันนี้ ( 30ก.ค.) โดยเป็นการนำเข้าของกรมควบคุมโรค หรือจะมี 5หน่วยงานที่นำเข้ายานี้ได้คือ กรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสภากาชาดไทย 
"การศึกษาพบว่าใน  4 คน ยาสามารถช่วยลดการนอนรพ.และลดการเข้าห้องฉุกเฉิน ได้ 1 คน หรือในการทดสอบพบว่ากลุ่มที่ได้ยา มีอัตราการเสียชีวิต 0 -0.6 %  ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้ยาจะมีอัตราเสียชีวิต 1.4-3.5%  ส่วนการนอนไอซียู กลุ่มได้รับยามีอัตรา 0.66-0.77 %  กลุ่มที่ไม่ได้รับยามีอัตรา 7.6   %"นพ.วีรวัฒน์กล่าว

นพ.วีรวัฒน์ กล่าวอีกว่า ส่วนการให้ยาเบื้องต้น จะให้ในปริมาณ 1,200 มก. เป็นยาฉีดผ่านทางเส้นเลือด ใช้เวลาให้ยาประมาณ ครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นให้สังเกตุอาการ 2ชั่วโมง  ผู้ป่วยจึงกลับบ้านได้ และจะมีการติดตามอาการต่อไป   ซึ่งเมื่อยานำเข้ามาในไทยแล้ว จะเริ่มใช้กับผู้ป่วยที่สถาบันบำราศนราดูร เป็นที่แรก
"ในเรื่องของราคา ตามมาตรฐาน การกำหนดราคายา มักจะขึ้นกับรายได้ต่อหัวของประชากรประเทศนั้นๆ  "นพ.วัรวัฒน์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"