'จตุพร' เตือนรัฐบาลสิ่งที่รออยู่ข้างหน้ามันน่ากลัว และอาจนำไปสู่ความตายอีกครั้งหนึ่งได้


เพิ่มเพื่อน    

13 พ.ค.63 -  นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในรายการ PEACE TALK เรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยกเลิกพรก.ฉุกเฉินว่า ในฐานะประชาชน และได้สัมผัสกับความรู้สึกของประชาชน จะสะท้อนอุณหภูมิความเดือดร้อน และความต้องการให้ยกเลิก เนื่องจากไม่ต้องการให้ประเทศเดินไปสู่กับดักความยากจนในอนาคตอีก ไม่ใด้ใช้ช่องทางยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน เพื่อไปขับไล่นายกฯและรัฐบาล แต่เห็นสิ่งที่รออยู่ข้างหน้ามันน่ากลัว อาจนำไปสู่ความตายอีกครั้งหนึ่งได้ เมื่อทุกประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์พฤษภา 2535 และพฤษภา 2553 การชุมนุมไม่ได้เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ แต่ถ้าในอนาคตการชุมนุมเกิดจากความหิวโหยแล้ว ใครจะไปฟังใครได้ หากประเมินสถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่ำกว่าความเป็นจริง จะได้รู้ว่านรกมีจริง ก็ขอให้ตีขิมนั่งรอได้เลย เมื่อความหิวของประชาชนเกิดมาแล้ว

ดังนั้นโอกาสของรัฐบาลคงหนีไม่พ้น ต้องได้เจอแน่ และมันต้องเดินทางมาถึง อีกอย่างการเรียกร้องให้ยกเลิก พรก.ฉุกเฉินนั้น ไม่ได้นำเสนอเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตัวเองเลย โพลสื่อสำนักไหนไม่รู้ระบุว่า 88% ให้ต่อ พรก.ฉุกเฉินนั้น ถ้าประชาชนไม่สามารถประกอบอาชีพได้แล้ว แรงงานยิ่งเดือดร้อนมากขึ้น คนทำงานต้องเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เพราะหางานทำยากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งมองเห็นอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า นายกรัฐมนตรีเชื่อโพลนี้หรือไม่ ถ้าเชื่อก็ขอให้โชคดี อย่าได้ยกเลิก เมื่อตัวเลขสถานการณ์ผู้ติดเชื้อมีแค่นี้ จำเป็นต้องมี พรก.ฉุนเฉินด้วยหรือ วันนี้ไม่ได้คิดอ่านทางการเมืองอะไรเลย พูดในฐานะประชาชน ต้องการให้บ้านเมือง ประชาชนยืนหยัดกันได้

นายจตุพรกล่าวว่า การรำลึกเหตุการณ์ชุมนุมในเดือนพฤษภา2535 และ2553 นั้น ตนมีชีวิตต่อสู้ในเหตุการณ์เดือนพฤษภาแตกต่างกัน  ในปี2535 นำขบวนประชาชนไปประกาศสู้ในรั้วมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ปี2553 กลับประกาศยุติการต่อสู้ เพื่อไม่ต้องการให้ประชาชนล้มตายกันมากมาย เหตุการณ์2553 ประชาชนออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ต้องการให้ยุบสภาฯ แล้วถูกปราบด้วยอาวุสงคราม ใช้สไนเปอร์ยิงผู้ชุมนุมเป็นครั้งแรก ดังนั้นการพูดถึงประวัติศาสตร์จึงไม่ใช่การสร้างความแตกแยกเพียงด้านเดียวตามที่ฝ่ายอำนาจกล่าวหา วันนี้ฝ่ายอำนาจต้องมีจิตใจที่กว้างขึ้น เพราะการจัดงานรำลึกประวัติศาสตร์ไม่ใช่การสร้างความแตกแยก เนื่องจากบาดแผลมีมากมายที่ต้องพูดถึงและอยากให้แต่ละฝ่ายช่วยประคับประคองกัน อย่าทำให้เขาไม่มีที่ยืน ถ้าฝ่ายอำนาจบอกเป็นการสร้างความแตกแยก จึงเป็นทัศนที่อันตรายอย่างยิ่ง

"เราไม่ได้รำลึกด้วยความอาฆาตแค้น แต่ต้องการให้เป็นบทเรียนที่ไม่ต้องการให้ใครมาตายอีก วันนี้ผู้ปกครองอาจรู้สึกกับงานรำลึก ขอให้มองอีกด้านว่า พ่อแม่ผู้ตายอยู่กับความทุกข์มากี่สิบปีแล้ว ดังนั้นงานรำลึกจึงเป็นสิ่งเดียวที่จะเยียวยาหัวใจของผู้สูญเสีย พร้อมได้สดุดีวีรชนกัน ขอให้ฝ่ายอำนาจใจกว้างกันบ้าง"นายจตุพรกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"