คมนาคมเร่งรถไฟไทย-จีน หลังสะดุดจากพิษโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

19 พ.ค.63-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 1/2563 ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา ได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธารวม 14 สัญญา วงเงินรวม 100,241.62 ล้านบาท โดยจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 64 เดือนหรือ5ปี

ทั้งนี้ในที่ประชุมได้ติดตามงานที่จะต้องร่วมกับทางรัฐบาลจีน ในการดำเนิน สัญญาที่
2-3 (งานวางราง ระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ เป็นการควบคุมระบบรถไฟและการดำเนินในส่วนของวางสถานี)ที่เกี่ยวข้องไปยังจังหวัดหนองคายจากเดิมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันกำหนดจะสามารถลงนามกับรัฐบาลจีนได้ต้นปีที่ผ่านมาแต่เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมาเริ่มมาจากประเทศจีนได้ปิดการจราจรทางอากาศจึงทำให้การประสานงานในการจัดการประชุมเพื่อที่จะมีการลงนามของสัญญาไม่สามารถที่จะดำเนินการได้

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กรมขนส่งทางราง(ขน.)ได้ประสานงานกับรัฐบาลจีนเพื่อที่จะขอให้มีการจัดการประชุมระหว่างคณะกรรมการรวมแห่งราชอาณาจักรไทยและจีน ประชุมในลักษณะประชุมผ่านวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ ขณะนี้ทางรัฐบาลจีนได้ตอบตกลงโดยจะมีการประชุมในวันที่ 25 พ.ค.นี้ โดยกรอบสาระสำคัญในการประชุมจะเป็นเรื่องของจะดำเนินการในข้อตกลงเรื่องของสกุลเงินที่จะใช้ในการชำระค่าก่อสร้างตามสัญญาที่ 2-3 ตามข้อเสนอของฝ่ายจีนยินยอมให้ใช้ สกุลดอลลาร์ 80% และเงินบาท20% คิดเป็นมูลค่า 50,633,500 ล้านบาท

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่ากระทรวงคมนาคมได้เจรจาโดยนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อที่ต้องการให้เป็นโครงการสายหลักในการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในเรื่องทางราง ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางของกลุ่มประเทศอาเซียน ส่วนเงินค่าก่อสร้างไม่ได้ชำระครั้งเดียวได้ทำสัญญากับทางรัฐบาลจีนเป็นระยะเวลา 64 เดือนจะมีการแบ่งชำระเป็นงวดโดยเชื่อว่าหลังสถานการณ์โค-วิดผ่านพ้นไปประเทศไทยจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจและทำให้ ค่าเงินบาทกลับมาแข็งแค่ได้และจะทำให้มูลค่าในการก่อสร้างรถไฟไทยจีนสามารถที่จะอยู่ในงบประมาณที่จะดำเนินการ

สำหรับการดำเนินการเรื่องนี้กระทรวงคมนาคมโดยกรมรางได้วางทำร้ายในการลงนามสัญญา 2.3 โดยจะดำเนินการเริ่มต้นในเดือนพ.ค.นี้จะมีการจัดประชุมคณะกรรมการรถไฟไทยจีนในวันที่ 25 พ.ค.นี้และในเดือนมิ.ย.นี้จะรายงานผลการประชุมให้ ครม.ได้รับทราบ หลังจากนั้นช่วงกลางเดือน มิ.ย. รฟท.จะเสนอร่างสัญญามาที่กระทรวงคมนาคม เพื่อให้ความเห็นชอบในการที่จะเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาต่อไป โดยภายในเดือนมิ.ย.-ก.ค.นี้ อัยการสูงสุดจะพิจารณาตรวจร่างสัญญาว่ามีความถูกต้องและเป็นไปตามกรอบของกฎหมายไทยหรือไม่ รวมถึงกรอบกฎหมายระหว่างประเทศว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นเรื่องใครได้เปรียบและเสียเปรียบ เดือน ส.ค. หลังจากอัยการสูงสุดพิจารณาตรวจร่างสัญญาเสร็จกระทรวงคมนาคมจะเสนอร่างสัญญาไปยัง ครม.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินตามสัญญา2.3 และเงื่อนไขต่างๆเพื่อที่จะขออนุมัติให้ รฟท.ลงนามกับจีนและในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.63 เมื่อ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบจะเป็นกระบวนการในเรื่องธุรการการประสานงานกับรัฐบาลจีนเพื่อกำหนดวันลงนาม สัญญาคาดว่าจะลงนามในเดือนต.ค.63 นี้

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่าได้มอบหมายให้ดระทรวงคมนาคมและทีมกฎหมายได้พิจารณาร่างสัญญาทั้งหมดไม่ให้เราเสียเปรียบแต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เอาเปรียบทางประเทศจีนเนื่องจากการดำเนินการอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นการร่วมมือในระหว่างรัฐบาลเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะดำเนินการความร่วมมือในอนาคตต่อไปเพราะฉะนั้นการเดินไปด้วยกันภายใต้หลักพื้นฐานที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายจะเป็นหลักที่จะใช้เยอะในการดำเนินการพิจารณาร่างสัญญาในเรื่องของการลงนามโครงการรถไฟไทย-จีน โดยได้มีการตั้งคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 18 คนที่มีหน้าที่ในเกี่ยว เพื่อที่จะทำให้การประชุมครั้งนี้เป็นไปด้วยความรอบคอบถูกต้องตามกฏหมายโดยมีตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะในการประชุมกับรัฐบาลจีน

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมพยายามเร่งรัดงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางบก น้ำ อากาศและราง ซึ่งครบสี่มิติมองว่าประเทศไทยจะสามารถที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของการเดินทางและระบบโลจิสติกส์ทางด้านการโดยสารและขนส่งสินค้าและเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยพลิกฟื้นขึ้นมา จากเดิมประเทศไทยในอดีตเคยถูกขนานนามว่าเป็นเสือตัวที่ห้าของทวีปเอเชียขณะนี้เรากำลังจะกลับมา

สำหรับ14 สัญญาประกอบด้วย สัญญา ที่1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กโลเมตร(กม.) ก้าวหน้า83.81% ช้ากว่าแผน 4.19% ,สัญญา2-1 ช่วงอ.สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง11 กม. ก้าวหน้า 23.29% ช้ากว่าแผน 12.54% เนื่องจากมีปัญหาการเข้าพื้นที่ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ก็ได้เร่งรัดให้ผู้รับเหมาปรับแผนก่อสร้างให้ทันตามที่กำหนดไว้,สัญญา3-1 ช่วงอ.แก่งคอย-อ.กลางดง และช่วงปางอโศก-เขาบันไดม้า ระยะทาง30.21กม.อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) คาดว่าจะพิจารณาเห็นชอบในการประชุมวันที่29พ.ค.นี้ ,สัญญาที่4 (3-2) งานก่อสร้างอุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก และลำตะคลอง ระยะทาง12.23กม. ได้รับการอนุมัติจ้างแล้วเมื่อวันที่1เม.ย.63 น่าจะดำเนินการได้ตามแผนทั้งหมด

สัญญาที่5(3-3)ช่วงเขาบันไดม้า- อ.ลำตะคลอง ได้รับอนุมัติการจ้างไปแล้วเมื่อวันที่16เม.ย.63,สัญญาที่6(3-4) ช่วงละตะคลอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โครกกรวด อยู่ระหว่างการชี้แจงข้อมูลให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาตรวจสอบอีไอเอ ,สัญญาที่7(3-5) ช่วงโครกกรวด อยู่ระหว่างเสนออนุมัติสั่งจ้าง ,สัญญาที่8(4-1)ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่ไปกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) อยู่ระหว่างที่คณะกรรมการอีอีซีเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้พิจารณาอีไอเอ

สัญญาที่9(4-2) ช่วงดอนเมือง-นวนคร ได้ผู้รับจ้างแล้วรอลงนามในสัญญาจ้าง ,สัญญาที่10(4-3) ช่วงนวนคร-บ้านโพธิ์ ได้ผู้รับจ้างแล้วรอลงนามในสัญญาจ้าง ,สัญญาที่11(4-4) สร้างศูนย์บำรุงเชียงรากน้อย อยู่ระหว่างการขายเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) ,สัญญาที่12(4-5) งานโยธิก่อสร้างช่วงบางโพธิ์-พระแก้ว ได้อนุมัติสั่งจ้างแล้วเมื่อวันที่16เม.ย.ที่ผ่านมา ,สัญญาที่13(4-6)ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ได้ผู้รับจ้างแล้วรอลงนามในสัญญาจ้าง และสัญญาที่14(4-7) ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ได้ผู้รับจ้างแล้วรอลงนามในสัญญาจ้าง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"