อ่วม!จีดีพีลบ1.8%ในรอบ6ปี เงินกู้1ล้านล.แค่ประคองศก.


เพิ่มเพื่อน    

  อ่วม! สศช.เผยตัวเลขจีดีพี 1/63 ติดลบ 1.8% โดยเป็นการติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 1/57 หรือในรอบ 6 ปี ขณะที่ทั้งปีคาดจะติดลบ 5-6% ผลพวงวิกฤติโควิด-19 ระบาดทั่วโลก ระบุเงินกู้ 1 ล้านล้านไม่ได้ช่วยกระตุ้นจีดีพี แต่ช่วยประคองเศรษฐกิจ

    เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีไตรมาส 1/2563 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ติดลบ 1.8% โดยเป็นการติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2557 และคาดว่าไตรมาส 2 จะติดลบมากกว่าไตรมาส 1 ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2563 คาดจะติดลบ 5- 6% จากการปรับตัวลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจและการค้าโลก การลดลงของจำนวนและรายได้จากภาคท่องเที่ยวต่างชาติ การแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัญหาภัยแล้งที่คาดว่าส่งออกทั้งปีจะติดลบ 8% 
    “ตัวเลขประมาณการจีดีพีทั้งปีที่คาดว่าจะติดลบ 5-6% อยู่ภายใต้สมมติฐานการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 และไม่มีการแพร่ระบาดรอบ 2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาขับเคลื่อนได้ในไตรมาส 2 และเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาส 3 และนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับมาท่องเที่ยวไทยในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ขณะที่ความคืบหน้าการใช้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท” นายทศพรกล่าว
    อย่างไรก็ตาม ในส่วนของงบเยียวยา 555,000 ล้านบาท ล่าสุดคงเหลือ 190,000 ล้านบาท โดยเยียวเกษตรกร 10 ล้านคน เยียวยา 5,000 บาท จำนวน 16 ล้านคน ประกันสังคม 11 ล้านคน และกลุ่มเปราะบางของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 14 ล้านคน ขณะที่ 45,000 ล้านบาท จะเป็นงบด้านสาธารณสุข ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการทำแผนใช้งบ และงบอีก 400,000 ล้านบาท จะเป็นงบสำหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นเงินที่ลงสู่ท้องถิ่น รวมถึงการจ้างงาน ซึ่งขณะนี้แต่ละหน่วยงานอยู่ระหว่างจัดทำโครงการ คาดจะเสร็จภายในเดือนมิถุนายนและสามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป 
    นายทศพรกล่าวอีกว่า สำหรับเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ไม่ได้คาดหวังการกระตุ้นตัวเลขจีดีพี แต่หวังช่วยประคองเศรษฐกิจและเชื่อว่าสถานการณ์ที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งมีความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขและคนไทย โอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 จึงมีน้อย ดังนั้นเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทจึงเพียงพอ โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นแบบตัวยู ทั้งนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมาได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังแล้ว และเป็นตัวเลขเดียวกัน
    สำหรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เริ่มส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยมาตั้งแต่เดือน ม.ค.ปีนี้ แต่ผลกระทบด้านเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือน ก.พ.เป็นต้นมา เมื่อการระบาดได้เริ่มแพร่ไปยังทวีปยุโรปและสหรัฐ รวมทั้งในประเทศไทยเองมีคำสั่งในการปิดกิจการต่างๆ ทำให้มีจำนวนคนว่างงานเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจัยที่ส่งผลสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ที่ สศช.สรุปและรายงานให้ ครม.รับทราบแล้วคือ 1.ความไม่แน่นอนของการสิ้นสุดของการระบาดของโรคโควิด-19 มีปัจจัยเดียวที่จะยุติการแพร่ระบาดได้ ก็คือการค้นพบวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จึงยังส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งในภาคบริการหลักของประเทศ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"