'ทีมบริหารแผน'ผู้กอบกู้THAI


เพิ่มเพื่อน    

    หลังจากดึงเรื่องมาเกือบเดือน ในที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าการที่ตัดสินใจให้ บมจ.การบินไทย (THAI) เข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

            ทั้งนี้ ก่อนที่จะเลือกแนวทางเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของศาล ครม.มีแนวทางในการจัดการอยู่ 3 ทางเลือก คือ 1.หาเงินเติมให้การบินไทยดำเนินการต่อ 2.ให้เข้าสู่สถานะการล้มละลาย และ 3.ปล่อยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูของศาล

            ซึ่งแนวทางแรก แม้จะแก้ปัญหาได้ทันที แต่มันไม่ใช่การแก้ปัญหาถาวร และการใส่เงินก็แค่เป็นการให้ยาแบบประคอง แต่ไม่รักษาอาการ สุดท้ายการใส่เงินลงไปก็อาจจะสูญเปล่ากลายเป็นหนี้สินเพิ่มเข้าไปอีก ส่วนแนวทางที่ 2 การปล่อยให้เข้าสู่สถานะการล้มละลาย แนวทางนี้อาจจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะจะทำให้พนักงานของบริษัทกว่า 20,000 คนต้องถูกลอยแพ และต้องหยุดกิจการ ถูกพิทักษ์ทรัพย์เดินหน้าธุรกิจต่อไปอีกไม่ได้ และซึ่งเป็นแนวทางที่ 3 จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ทำให้ธุรกิจยังเดินหน้าต่อไปได้ แถมยังช่วยผลักดันแผนฟื้นฟูยังง่ายขึ้น คือ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูภายใต้คำสั่งศาล ซึ่ง ครม.เลือกแนวทางนี้ เพื่อให้การบินไทยได้ไปต่อ

            อย่างไรก็ดี ยังมีหลายคนที่สับสนระหว่างการขอฟื้นฟูกิจการภายใต้กระบวนของศาล และล้มละลาย ซึ่งใน 2 กรณีนี้สามารถอธิบายได้อย่างง่ายๆ ก็คือ สาระสำคัญการฟื้นฟูกิจการถือเป็นการรักษาให้กิจการยังคงสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ พูดง่ายๆ ว่า ผู้ยื่นขอให้มีการฟื้นฟูกิจการ ต้องการรักษาความเป็นกิจการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง แต่ระหว่างนั้นจะเปิดโอกาสให้มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ รวมถึงมีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน และแผนธุรกิจ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาจมีผู้บริหารมืออาชีพจากภายนอกบริษัทมาร่วมดำเนินการ

            ส่วนการล้มละลายหรือการถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น  จะมุ่งไปสู่กระบวนการค้นหาและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อนำมาแบ่งให้กับเจ้าหนี้ โดยการยึดหรืออายัด และนำมาขายทอดตลาด

            ดังนั้นเห็นชัดเจนว่า การฟื้นฟูและการล้มละลายไม่ใช่เรื่องเดียวกันสำหรับกรณีของการบินไทย เมื่อศาลเข้ามาช่วยในการดูแลทำแผนฟื้นฟู ก็จะมีการแต่งตั้งผู้บริหารแผนมืออาชีพเข้ามาจัดการ ซึ่งเบื้องต้นทางกระทรวงคมนาคมก็เตรียมจะพิจารณาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถไม่ต่ำกว่า 15 คน เสนอให้ ครม.พิจารณา เพื่อเสนอศาลพิจารณาต่อไป

            ความสำคัญของการฟื้นฟู ก็คือ 'ตัวผู้บริหารแผน' ที่ถือเป็นหัวใจหลักในการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยในครั้งนี้

            สำหรับหน้าที่ “ผู้บริหารแผน” นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในส่วนของธุรกิจเป็นอย่างดี และจะต้องเป็นผู้ที่ “เจ้าหนี้” ยอมรับ รวมถึงต้องทราบรายละเอียดสัญญาต่างๆ ที่ทำไว้กับเจ้าหนี้แต่ละรายเป็นอย่างดี โดยเมื่อเข้าสู่กระบวนการศาลแล้ว การจัดลำดับเจ้าหนี้ต่างๆ จะต้องเป็นไปอย่างเสมอภาคและยุติธรรม การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ การ Hair Cut  ที่จะต้องทำให้การบินไทยได้รับประโยชน์มากที่สุด 

            นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารแผน จะต้องมีแผนชัดเจนว่า ธุรกิจจะขับเคลื่อนไปในทิศทางไหน และสามารถหาเงินหมุนเวียนได้ในช่องทางได้ โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นของเจ้าหนี้ในการที่จะใส่เงินเข้าไปเพิ่มเติม

            กระบวนการเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแก้ไขง่ายๆ แน่นอน ดังนั้นทีมบริหารแผนจะต้องมีความเข้มแข็ง และมีความรู้ความสามารถที่ทุกคนยอมรับ เพราะเชื่อว่าในช่วงที่ต้องมีการปรับโครงสร้างจะต้องเจอแรงเสียดทานจากกลุ่มบุคคลทั้งภายนอกและภายในไม่ใช่น้อย

                ซึ่งใครจะเป็น 15 อรหันต์กอบกู้การบินไทยจะต้องมารอติดตามกัน. 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"