จับตาสัปดาห์หน้าบินไทยวุ่นไม่เลิกหลังคลังขายหุ้น-คมนาคมสิ้นสภาพกำกับดูแล


เพิ่มเพื่อน    

23พ.ค.63-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงการดำเนินการแผนฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลายของ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)ว่า ล่าสุดทางกระทรวงการคลังได้แจ้งมายังกระทรวงคมนาคม ถึงความคืบหน้าในการขายหุ้นในสัดส่วนของกระทรวงคลัง ลงจำนวน 3.17%ให้กับกองทุนวายุภักษ์ เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่ของกระทรวงคลัง ซึ่งจะทำให้การบินไทยสิ้นสุดการเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อเข้าสู่กระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น

อย่างไรก็ตามในส่วนของกระทรคมนาคมยืนยันว่า หากกระทรวงคลังต้องการเป็นผู้ทำแผนเอง กระทรวงคมนาคมไม่ได้มีปัญหา เพียงแต่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายให้ครบถ้วน โดยเฉพาะขั้นตอน ที่กระทรวงการคลังจะต้องทำหนังสือถึง คณะรัฐมนตรี เพื่อขอเปลี่ยนมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่ ครม. มีมติ ให้กระทรวงคมนาคม เป็นผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย โดยเปลี่ยนให้การฟื้นฟูเป็นมาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง เพื่อให้การดำเนินการถูกต้องตามฎหมาย เพราะมติ ครม.ก็ถือเป็นกฎหมายที่มีผลไปแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ทางกระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือถึง นาย อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เพื่อขอให้กระทรวงการคลังโอนฉันทะในฐานะผู้ถือหุ้น เพื่อให้กระทรวงคมนาคม สามารถกำกับ การบินไทยได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามมติ ครม. แต่ทางกระทรวงการคลังก็ไม่ได้ตอบ จนมาถึงขั้นตอนที่กระทรวงคลังได้ลดสัดส่วนหุ้นของคลังลงเพื่อให้การบินไทยหลุดพ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหากคลังยังคงเพิกเฉย กระทรวงคมนาคมจะสอบถามกลับไปอีกครั้งหนึ่งในวันพุธที่ 27 พ.ค. นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในสัปดาห์หน้า ต้องจับตาปัญหาดังกล่าว จะมีการพูดคุยใน ครม.อย่างไร ขณะที่มีรายงานความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย วิเคราะห์ว่า หากกระทรวงการคลัง กลับมาเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟู ฯ โดยต้องจับตาว่า หากกระทรวงคลังเสนอวาระแก้มติ ครม. เดิม จะยังมีการแก้ปัญหาการฟื้นฟู การบินไทย ผ่านศาลล้มละลายกลางหรือไม่ หรือจะมีการเจรจากับเจ้าหนี้นอกศาล เนื่องจากก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง เคยสนับสนุน ให้มีการใส่เงินสภาพคล่องเข้าไปช่วยการบินไทย โดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.ล้มลายฯ ในศาลล้มละลายกลาง โดยเห็นว่า เมื่อท้ายสุด ไม่ว่าทำเรื่องฟื้นฟูในศาลหรือนอกศาล ก็ต้องใส่เงินช่วยการบินไทยอยู่ดี และหากขึ้นศาลล้มละลายเกรงว่าเจ้าหนี้จะมีอำนาจต่อรองสูง

อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคม ที่กำกับดูแลการบินไทยมาตลอด ทราบปัญหาในการบินไทยดี และเห็นว่าหากมีไม่การแก้ปัญหาการบินไทยให้ครบถ้วน เพียงแค่ใส่เงิน ไม่มีการตัด แยกงานที่ไม่ทำกำรไออกไป ปรับขนาดองค์กร ลดฝ่ายบริหารและพนักงานลงส่วนหนึ่ง การใส่เงินเข้าไป สุดท้ายก็จะทำให้ปัญหาวนกลับมาอีก การใส่เงินไปจะสูญเปล่า และในอนาคตการบินไทยก็จะเสี่ยงกลับมาขาดทุนอีก

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้พยายามลงมาแก้ปัญหาเรื่องนี้ และพยายามให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ทำงานร่วมกันผ่านการมีซูเปอร์บอร์ด ที่มีทั้งบุคคล ที่กระทรวงคมนาคม และคลังตั้ง เข้ามา เพราะแม้กระทรวงการคลัง จะเป็นผู้ทำแผน บริหารแผนฟื้นฟู ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่เมื่อการบินไทยกลับมาบิน หลังสถานการณ์โควิด-19 ก็ต้องมีการประสานกับกระทรวงคมนาคม และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.), บมจ.ท่าอากาศยานไทย ในสังกัดกระทรวงคมนาคม อยู่ดี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ แสดงความเห็นให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)ปรับคณะกรรมการบอร์ดการบินไทยใหม่ ก่อนที่สัปดาห์หน้าจะต้องแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟู เพื่อยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ระบุ ผู้มียศทหารไม่ควรอยู่ในบอร์ดอีกต่อไป ขอให้นายกรัฐมนตรีเห็นแก่ประโยชน์ประเทศ และการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยมากกว่าความเป็นทหารด้วยกัน

อย่างไรก็ตามในเวลาเดียวกัน หนึ่งในคณะกรรมการ คนร.ให้ความเห็นว่า ควรให้เจ้ากระทรวงคมนาคมเข้ามามีบทบาทในการติดตามการดำเนินงานตามแผนที่ได้เสนอผ่านความเห็นชอบจากครม.ไว้แล้ว เนื่องจากเจ้ากระทรวงมีความชัดเจนในการแก้ปัญหามาก และตัดสินใจได้รวดเร็วกว่า

นอกจากนั้นยังมีการเสนอชื่อหัวหน้าทีมที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำในการบริหารแผนฟื้นฟูด้วยว่า ต้องมีความรู้ในเรื่องของธุรกิจการบิน เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจสมัยต้มยำกุ้งมาแล้ว สามารถบริหารเงิน คน และบริหารเจ้าหนี้-ลูกหนี้ที่อาจมีเป็นร้อยรายได้ โดยต้องเป็นผู้ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่เห็นแก่หน้าใคร

ทั้งนี้ บอร์ดการบินไทยไม่ควรเป็นผู้บริหารแผนเอง เพราะดำเนินงานผิดพลาดมาในอดีตแล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลจำเป็นต้องจ้างมืออาชีพจากต่างประเทศเข้ามาร่วมจัดทำแผนฟื้นฟูด้วย โดยผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาได้แก่ นายชุมพล ณ ลำเลียง นายวิชิต สุรพงษ์ชัย นายบัณฑูร ล่ำซำ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เป็นต้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"