เร่งอีอีซีโอกาสดึงลงทุนไทย


เพิ่มเพื่อน    


    ปัจจัยลบหลายประการ ทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ภาวะภัยแล้ง และความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2563 ส่งผลให้แรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยแทบทุกตัวหดตัวลง ยกเว้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัวได้ 3.0%YOY  ซึ่งก็เป็นผลมาจากปัจจัยชั่วคราวจากการซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่จำเป็นก่อนการประกาศล็อกดาวน์ในเดือน เม.ย. 
    ในขณะที่ทั้งปี 2563 ภาพรวมการใช้จ่ายครัวเรือนคาดว่าจะหดตัวที่ -1.5% ท่ามกลางภาวะการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจากสถานประกอบการหยุดชั่วคราวในช่วงเดือน เม.ย.  รวมถึงธุรกิจที่ทยอยปิดกิจการ ส่งผลต่อกำลังซื้อประชาชนและบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง 
    แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลงในไตรมาส 2/2563 และไม่มีการแพร่ระบาดซ้ำ แต่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะยังไม่สามารถพลิกฟื้นกลับมาได้เร็ว เนื่องจากแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้เงื่อนไขการรักษาระยะห่างโดยเฉพาะในภาคบริการ จะทำให้ธุรกิจมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น 
    ในขณะที่รายรับถูกจำกัดด้วยทั้งกำลังซื้อของประชาชน รวมถึงเงื่อนไขการรักษาระยะห่าง นอกจากนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยต้องหันกลับมาพึ่งพิงตลาดในประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเป็นหลัก โดยมีมาตรการภาครัฐที่กำลังดำเนินการอยู่จะช่วยประคับประคองการดำรงชีพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้สามารถผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้ จากการประเมินภาพดังกล่าว
    ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกจะหดตัวลึกกว่าการหดตัวในช่วงครึ่งปีหลัง โดยในไตรมาสที่ 2 จะหดตัวลึกที่สุดราว -10% ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2563 หดตัวราว -5.0% ทั้งนี้ หากไม่มีการระบาดที่รุนแรงอีกระลอก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเทียบไตรมาสต่อไตรมาสในช่วงครึ่งปีหลังอาจเป็นบวกได้ เนื่องจากมีการปลดมาตรการล็อกดาวน์
    อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศยังไม่กลับมาเป็นปกติดังเดิม ดังนั้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าอาจยังคงติดลบอยู่เล็กน้อย อย่างไรก็ดี  สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสยังมีความเสี่ยงจากการกลับมาระบาดในระลอกที่สอง อย่างที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และจีน ซึ่งจะยังเป็นตัวแปรที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินทิศทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า 
    จากปัจจัยลบต่างๆ ที่กดเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาครัฐพยายามที่จะเร่งหาแนวเข้ามากระตุ้น ไม่ว่าจะอัดเงินเพื่อสร้างกำลังซื้อ หรือการช่วยเหลือผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ให้อยู่รอดและสามารถเดินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเร่งรัดเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ในพื้นที่เขตการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 5 โครงการใหญ่
    ล่าสุดก็เร่ง คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ออกมาสร้างความมั่นใจว่า ภายในเดือนมิถุนายน 2563 นี้ จะสามารถลงนามสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS) ที่เป็นผู้ชนะการประมูลได้
    พร้อมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมประสานงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้ทำงานบูรณาการตามแผนงานที่กำหนดเชื่อมโยงแผนงานการก่อสร้าง และแผนการเปิดบริการให้สอดคล้องหรือพร้อมกันได้ 
    และมั่นใจว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ส่งผลกระทบโครงการ เพราะก่อสร้างเสร็จปี 2566 และสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ประเมินว่าธุรกิจการบินจะกลับมาภายใน 2 ปีจากนี้ไป เมื่อถึงตอนนั้นท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองจะมีการใช้บริการหนาแน่นเหมือนเดิม 
    อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็คงต้องมาลุ้นกันว่าเมกะโปรเจ็กต์ที่ภาครัฐพยามยามที่จะผลักดันให้โครงการเดินหน้าอย่างรวดเร็ว และเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องการดึงดูดการลงทุนของภาคเอกชนนั้นจะเกิดเป็นรูปเป็นร่างให้เห็นกันอย่างชัดเจนภายในปีนี้เหมือนที่รัฐบาลต้องการไหม และจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ไหน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงในยุคของ New Normal ที่ทุกคน รวมถึงคณะที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับอีอีซีก็เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชาสัมพันธ์ต้องปรับตัวเอง เพื่อรับการเปลี่ยน ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่รูปแบบเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติอย่างไรเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก็ปฏิบัติอย่างนั้น....
    บอกเลยไม่ทันกิน ความฝันที่สวยหรูที่วาดไว้รับรองกระเด็นไปอยู่กับประเทศคู่แข่งแน่นอน.
            

บุญช่วย  ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"