"เบาหวาน-โรคอ้วน"ระวังพิเศษ ติดโควิด-19 กลุ่มเสี่ยงรุนแรง


เพิ่มเพื่อน    


    ปัญหาของผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วนส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ตามมา ในปัจจุบันที่ยังมีการระบาดของไวรัส COVID-19 ยังไม่มีข้อมูลสรุปแน่ชัดว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนมีโอกาสติดเชื้อไวรัสนี้ได้มากกว่าคนทั่วไปหรือไม่ แต่ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ปกติได้ เมื่อติดเชื้อแล้วมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงหรือมีผลข้างเคียงได้มากกว่าคนปกติ การรู้เท่าทันความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักอยู่เสมอ
    นพ.โองการ สาระสมบัติ อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และเมตาบอลิสม โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน ที่มีโรคร่วม ยิ่งมีโรคร่วมมากเท่าใดก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะมีผลข้างเคียงหากติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้มากขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่าง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ ซึ่งมักจะมีโรคร่วมอื่นๆ ด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน หรือมีโรคที่เป็นผลข้างเคียงจากเบาหวานร่วมด้วย เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ ผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อได้รับเชื้อมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรง โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 เนื่องจากระดับน้ำตาลที่สูงกว่าค่าปกติ จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ไม่ดี ไวรัสสามารถเติบโตและกระจายตัวได้ง่ายขึ้น 
    "ปฏิกิริยาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้การควบคุมเบาหวานทำได้แย่ลง ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้านไวรัสและเกิดการอักเสบ ปฏิกิริยาการอักเสบจะยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับอายุ ระดับน้ำตาลในเลือด โรคร่วม หรือผลข้างเคียงจากโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2" คุณหมอกล่าว และว่า 
    ผู้ป่วยโรคอ้วนมักจะมีโรคร่วมหรือผลข้างเคียงจากโรคอ้วนร่วมด้วยเสมอ ซึ่งถ้ามีการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงคล้ายคลึงกับโรคเบาหวาน คนที่มีโรคอ้วน โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) สูง อาจมีผลทำให้การขยายตัวของปอดทำได้จำกัด ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสที่ปอด ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อผู้ป่วยโรคอ้วนมีอาการป่วยหนักและต้องเข้ารักษาในห้องภาวะวิกฤติ (ICU) อาจจะมีปัญหาในการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่อาจจำกัดขนาดและน้ำหนักของผู้ป่วยอีกด้วย
    วิธีดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคอ้วน นอกจากการล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการจับใบหน้า หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ที่มีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19 และการพยายามเว้นระยะห่างทางสังคมแล้ว ควรหมั่นดูแลตัวเองดังนี้ 1) คุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 2) ดูแลสุขภาพกาย ใจ ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขอนามัย และลดความเครียด 3) ดื่มน้ำแต่ละวันให้ได้ปริมาณที่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานหากขาดน้ำจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดยิ่งสูงขึ้น 
    4) เตรียมอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล (คาร์โบไฮเดรต) ให้เพียงพอที่บ้าน เนื่องจากในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำจะสามารถแก้ไขระดับน้ำตาลได้ทันที 5) เตรียมยาประจำตัวให้เพียงพอ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องกักกัน (Quarantine) ตัวเองอยู่ที่บ้าน 2-3 สัปดาห์ 6) บันทึกเบอร์โทรศัพท์สำคัญ ทั้งเบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาล ของแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อให้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน และควรให้คนใกล้ชิดบันทึกเบอร์โทรศัพท์ไว้ด้วย 7) หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้ หายใจหอบเหนื่อย ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ควรปรึกษาแพทย์ทันที.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"