ธุรกิจโรงแรมหลังวิกฤติโควิด-19 ปรับตัวรับชีวิตวิถีใหม่ New Normal


เพิ่มเพื่อน    

      “การเจ็บตัวจากโควิดจะสอนว่าโมเดลธุรกิจเดิมๆ ใช้ไมได้ หลังจากนี้ลูกค้าจะหายและกลายเป็นศูนย์ จากเดิมโลว์ซีซั่นยังพอมีมาบ้าง หลังโควิดอาจจะมีสถานการณ์อื่นที่ทำให้กังวล โมเดลธุรกิจอาจจะต้องปรับไปสู่อย่างอื่น ในวันที่ไม่มีลูกค้า อาจจะลดขนาดห้อง หรือรองรับผู้ที่ต้องการพักระยะยาวอย่างกลุ่มทำงานไปเที่ยวไป และการนำธุรกิจอาหารเข้าสู่บริการเดลิเวอรี”

 

 

      สถานการณ์ของโควิด-19 ได้เข้ามาเร่งรัดให้ธุรกิจต้องปรับตัวเร็วขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการภาคท่องเที่ยวและบริการอย่าง “ธุรกิจโรงแรม” ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในยามที่ตัวเลขของผู้เข้าพักเป็นศูนย์ เนื่องจากไม่มีการเดินทางช่วงการแพร่ระบาด หากเป็นเช่นนั้น New Normal แบบไหนที่กำลังจะเข้ามาเป็นวิถีใหม่ของวงการโรงแรม เพื่อที่จะต้องปรับ ตั้งรับ และสามารถดำรงอยู่หลังจากวิกฤติเริ่มคลี่คลายในอนาคต

ต้องปรับรับการเปลี่ยนแปลง

      นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการคณะทำงานสัมมนา เผยแพร่ จัดการองค์ความรู้ และสื่อสารสาธารณะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหลายรายต้องปิดดำเนินกิจการชั่วคราว แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัทต่างๆ หากนักท่องเที่ยวกลับมาเดินทางอีกครั้ง เชื่อว่าจะเห็นการทำโปรโมชั่นกันรุนแรงมากขึ้น โดยการโฆษณาจะไปแข่งขันกันในช่องทางออนไลน์เป็นหลัก แต่ก็ต้องยอมรับว่าหากเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการทำการตลาด ก็มีผลต่อต้นทุนเพราะรายจ่ายด้านการทำตลาดที่เพิ่มขึ้น และลูกค้าหลักคือคนไทย

      นอกจากนี้ อาจจะเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ประกอบการขนาดเล็กและใหญ่ เนื่องจากผู้ประกอบการโรงแรมจะต้องเพิ่มมาตรฐานสาธารณสุขให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ล้างมือ น้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งธุรกิจขนาดเล็กอาจจะเตรียมได้ยาก เพราะมีผลต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจ จึงต้องไปลดต้นทุนส่วนอื่น และเร็วที่สุดคงเป็นการลดพนักงาน เหลือแต่พนักงานที่จำเป็น และมีดิจิทัลเข้ามาช่วย ปัจจุบันภาคของธุรกิจโรงแรมตกงานประมาณ 1 ล้านคน อาจจะกลับเข้ามาทำงานสัก 7-8 แสนคน

      ขณะเดียวกัน พฤติกรรมผู้บริโภคจะไม่รีบตัดสินใจ และจะพิจารณาโรงแรมที่ต้องการเข้าพักไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ราคาดีที่สุด อาจจะมีการเลือกโรงแรมแล้วติดต่อสอบถามราคากับทางผู้ประกอบการโดยตรง หรือติดต่อหลังไมค์อีกรอบ ทำให้อำนาจการต่อรองจะไปอยู่ที่นักท่องเที่ยวมากกว่า

      “การเจ็บตัวจากโควิดจะสอนว่าโมเดลธุรกิจเดิมๆ ใช้ไม่ได้ หลังจากนี้ลูกค้าจะหายและกลายเป็นศูนย์ จากเดิมโลว์ซีซั่นยังพอมีมาบ้าง หลังโควิดอาจจะมีสถานการณ์อื่นที่ทำให้กังวล โมเดลธุรกิจอาจจะต้องปรับไปสู่อย่างอื่น ในวันที่ไม่มีลูกค้า อาจจะลดขนาดห้อง หรือรองรับผู้ที่ต้องการพักระยะยาวอย่างกลุ่มทำงานไปเที่ยวไป และการนำธุรกิจอาหารเข้าสู่บริการเดลิเวอรี”

ปลายปี 64 ใช้บริการเพิ่มแค่ 50%

      นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการผู้จัดการบริษัท เอเชียโฮเต็ล จำกัด (มหาชน) หรือ ASIA กล่าวว่า ภายใต้สมมุติฐานที่อัตราการติดเชื้อใหม่ต่ำมากอย่างที่เป็นในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยระยะสั้นสุดคือเริ่มจากเดือนมิถุนายน 2563 จนถึงปลายปี มองว่าโรงแรมในเมืองไทยคงเริ่มทยอยเปิดดำเนินการ ลูกค้าที่ได้คงมีเฉพาะคนไทยและผู้มีถิ่นพำนักในไทย เพราะยังมีการเดินทางจากต่างประเทศน้อยมาก หรือยังไม่เปิดเลย อัตราเข้าพัก 10-30% เฉลี่ยๆ กันไป

      ส่วนต่อมา ระยะกลางคือประมาณปลายปีไปจนถึงตลอดปี 2564 น่าจะเริ่มเปิดให้มีการบินระหว่างประเทศกับประเทศที่ควบคุมได้ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน และอาจเริ่มมีการเดินทางเป็นหมู่คณะในประเทศไทย ในรูปของการสัมมนา และการดูงานบ้าง อัตราการเข้าพักอาจเพิ่มขึ้นเป็น 30-50% โดยระยะยาวน่าจะไปถึงปลายปี 2564 การเดินทางน่าจะกลับมามีมากขึ้น ถึงแม้อาจไม่เท่าเดิม แต่ข้อจำกัดต่างๆ น่าจะลดลงมากแล้ว หรือค้นพบวัคซีนแล้ว แต่ก็มีปัจจัยลบที่เศรษฐกิจโลกยังซบเซาต่อเนื่อง ได้แต่คาดหวังอัตราการเข้าพักที่สูงกว่า 50% ได้

      สำหรับรูปแบบของการให้การบริการ ในระยะสั้นยังควบคุมอย่างเข้มข้น การให้บริการในลักษณะกลุ่ม เช่น อาหารบุฟเฟต์อาจจะยังไม่สามารถทำได้ แต่พอพ้นระยะสั้น และแน่ใจว่าการควบคุมทำได้ดีแล้ว การให้บริการแบบกลุ่มน่าจะกลับมาได้ แต่คงเป็นในรูปแบบที่มีการป้องกันมากขึ้น เช่น มีฝาปิดอาหารป้องกันละอองน้ำลาย มีคนคอยตักอาหารให้ เป็นต้น เพราะถ้าเริ่มให้บริการคนเป็นหลักร้อยสองร้อยก็คงยากที่เป็นอาหารแบบกล่องสำหรับรับประทานคนเดียว เพราะคุณภาพและความหลากหลายของการเลือกอาหารจะถูกนำมาพิจารณาด้วย

เน้นเทคโนโลยีแทนคน

      นางสาวชลลดา สุนทรวสุ กรรมการผู้จัดการ ศิลาวดี พูล สปา รีสอร์ต เกาะสมุย กล่าวว่า ตอนนี้เริ่มเห็นว่ามีกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยเดินทางในประเทศกันบ้างแล้ว พบลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยและได้มาตรฐานมากกว่าราคา ดังนั้นบริษัทได้ปรับเปลี่ยนหลายอย่างภายในโรงแรม เน้นเรื่องสุขอนามัยเข้ามาเสริมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นของใช้หรือของตกแต่ง หนังสือ ใบปลิวต่างๆ ดูว่าสิ่งไหนไม่จำเป็นก็เอาออกหมดเลย เพราะสิ่งของบางอย่างที่จำเป็นอยู่ในห้องแต่ไม่ได้ถูกทำความสะอาดในเชิงลึก

      "ส่วนตัวมองว่าสถานการณ์ของโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการได้มาพิจารณาการบริการต้นทุนได้ละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะการตัดของไม่จำเป็นต้องใช้ออกไป ซึ่งก็จะช่วยลดต้นทุนในส่วนต่างๆ ไปได้ แม้ว่าจะต้องมาเพิ่มค่าใช้จ่ายกับการดูแลความสะอาด อาทิ น้ำยาฆ่าเชื้อ แอลกอฮอล์ล้างมือ ซึ่งต้องทำเป็นมาตรฐานที่สูงขึ้นก็ตาม นอกจากนี้พนักงานก็ต้องปรับตัวเช่นกัน คนหนึ่งคนต้องทำหลายอย่าง ไม่ใช่ทำได้อย่างเดียว หรือมีมัลติสกิลและความยืดหยุ่นมากขึ้น จำนวนคนน้อยลงจากเทคโนโลยี และคนต้องมีคุณภาพมากขึ้น" ชลลดากล่าว

หนุนท่องเที่ยวชุมชน

      ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า อพท.เตรียมปรับแผนการทำงาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับภาคเอกชน โดยการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2563 จัดเป็นกิจกรรมอบรมนักสื่อความหมายท้องถิ่นให้แก่ชุมชน โดยใช้มัคคุเทศก์อาชีพเป็นวิทยากรให้ความรู้ เพื่อเป็นการยกระดับเพิ่มศักยภาพให้แก่ชุมชน ขณะเดียวกันมัคคุเทศก์อาชีพก็จะมีรายได้และมีงานทำจากความชำนาญที่มีอยู่ และจะร่วมกับบริษัทนำเที่ยวพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชนและพื้นที่พิเศษของ อพท. เพื่อจะได้มีสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

      ขณะเดียวกันยังมีแผนการกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายหลังจากสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อพท.จะร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) และสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวภูมิภาคแห่งประเทศไทย เตรียมจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"