มอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด เพิ่มศักยภาพขนส่ง-โลจิสติกส์อีอีซี เสริมโอกาสลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ


เพิ่มเพื่อน    

"พื้นที่อีอีซี ยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการเมืองการบินอู่ตะเภาซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 60 ล้านคนต่อปี มอเตอร์เวย์ ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ช่วยให้การเดินทางเข้าถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม เติมเต็มโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นทีอีอีซี ขยายโอกาสการค้าและการลงทุน กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต และจะต้องขยายจากอู่ตะเภาไปถึงจังหวัดระยองและปราจีนบุรี เพื่อเชื่อมต่อไปประเทศเพื่อนบ้าน"

 

        การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่ต้องการให้เป็นตัวดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อสร้างแรงจูงใจจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกโดยเฉพาะทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องมีความพร้อม ดังนั้นรัฐบาลจึงเร่งผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขานดใหญ หรือเมกะโปรเจ็กต์ ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคม ขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางถนน  เพื่อสนับสนุนอีอีซี ต่อเนื่อง ล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรมทางหลวงได้เปิดทดลองให้บริการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ส่วนต่อขยายช่วงพัทยา-มาบตาพุด เพื่อเชื่อมการเดินทางให้เข้าถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา

เชื่อมอู่ตะเภาหนุนฮับอาเซียน

        พร้อมเปิดทดลองให้ประชาชนได้ใช้บริการโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.2563 เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป จนถึงสิ้นเดือน ส.ค.2563 โดยผู้ใช้ทางสามารถเข้ามาใช้บริการได้ 2 ทาง คือ วิ่งต่อเนื่องจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ช่วงชลบุรี-พัทยา ที่บริเวณทางแยกต่างระดับมาบประชัน หรือเข้าจากทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท ที่ด่านอู่ตะเภา

        "พื้นที่อีอีซียังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, โครงการเมืองการบินอู่ตะเภาซึ่งจะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 60 ล้านคนต่อปี มอเตอร์เวย์ ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ช่วยให้การเดินทางเข้าถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม เติมเต็มโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นทีอีอีซี ขยายโอกาสการค้าและการลงทุน กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต และจะต้องขยายจากอู่ตะเภาไปถึงจังหวัดระยอง และปราจีนบุรี เพื่อเชื่อมต่อไปประเทศเพื่อนบ้าน" นายศักดิ์สยามกล่าว

        นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะปรับปรุงแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ระยะทาง 6,600 กิโลเมตร เพื่อบูรณาการให้สอดคล้องกับการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นหน่วยงานกลาง ในการประสานการศึกษาร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย  (รฟท.) โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีจะชัดเจน

        สำหรับการลงทุนมอเตอร์เวย์นั้น จะเป็นการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) และให้เน้นการใช้ผู้รับจ้างในประเทศก่อน (Local Content) หากเต็มความสามารถผู้ประกอบการในประเทศแล้วจึงจะเปิดประมูลนานาชาติ ทั้งนี้ การพัฒนาระบบมอเตอร์เวย์ควบคู่กับรถไฟทางคู่ จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนและโลจิสติกส์อาเซียนต่อไป

เพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์

        นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.)  กล่าวว่า มอเตอร์เวย์ หมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ถือเป็นทางเลือกในการเดินทางที่สำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม เติมเต็มโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่อีอีซี สามารถเชื่อมโยงการขนส่งทั้งทางน้ำและทางอากาศ เชื่อมด่านการค้าชายแดนและพื้นที่อุตสาหกรรมหลัก รวมถึงการเดินทางระหว่างภูมิภาค ช่วยลดปริมาณการจราจรจากทางหลวงสายหลัก และยังขยายโอกาสการค้าและการลงทุน ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน 

        สำหรับมอเตอร์หมายเลข 7 ส่วนต่อขยายช่วงพัทยา-มาบตาพุด นั้นเป็นทางหลวงมาตรฐานสูงที่มีการควบคุมการเข้า-ออกอย่างสมบูรณ์ (Fully Controlled Access) มีถนนขนาด 4-6 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อเส้นทางสายชลบุรี-พัทยา  บริเวณทางแยกต่างระดับมาบประชัน มุ่งไปทางทิศใต้ผ่าน อ.บางละมุง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ไปสิ้นสุดที่บริเวณบรรจบทางหลวงหมายเลข 3 เทศบาลเมืองมาบตาพุด อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ระยะทางรวม 32 กม. นับเป็นเส้นทางสายหลักที่เชื่อมสู่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตลอดจนนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้น

        โดยกรมทางหลวงใช้รายได้ที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ที่เปิดให้บริการในปัจจุบันมาใช้ดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด แบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 14 สัญญา ได้แก่ งานโยธา (งานก่อสร้างทางและสะพาน) 13 สัญญา และงานระบบ 1 สัญญา วงเงินลงทุนรวม 17,784 ล้านบาท (มูลค่าเวนคืน 6,000 ล้านบาท และมูลค่าก่อสร้าง 11,784 ล้านบาท) โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2559 จนเปิดทดลองให้ประชาชนได้ใช้บริการแล้วในวันนี้ สำหรับรูปแบบโครงการมีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษ ขนาด 4 ช่องจราจร ที่ควบคุมการเข้า-ออกอย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้ทางสามารถใช้ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตลอดเส้นทาง ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางจากทางแยกต่างระดับมาบประชันถึงสนามบินอู่ตะเภาลงกว่า 30 นาที

        อย่างไรก็ตาม โดยตลอดแนวเส้นทางโครงการมีด่านชำระค่าผ่านทาง 3 แห่ง ได้แก่ ด่านฯ ห้วยใหญ่ เชื่อมสู่บ้านอำเภอ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี, ด่านฯ เขาชีโอน เชื่อมสู่ทางหลวงหมายเลข 331 อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และด่านฯ อู่ตะเภา เชื่อมสู่ถนนสุขุมวิท อำเภอเมือง และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยใช้ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางประกอบด้วย ระบบเงินสด (MTC) และแบบอัตโนมัติ (ETC) ซึ่งสามารถพัฒนาสู่รูปแบบการเก็บค่าผ่านทางแบบไร้ไม้กั้นในอนาคต โดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทาง

        "มอเตอร์เวย์สาย 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ส่วนต่อขยาย ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ช่วยให้ประชาชนสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ สู่ จ.ระยอง ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น มีความปลอดภัย และยังมีระบบควบคุมการจราจร จุดพักรถ-พักคน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งยังมีศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารและหน่วยงานกู้ภัย เพื่ออำนวยความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทางตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยให้ประชาชนเดินทางเข้าถึงแหล่งงานและแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก เสริมสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน" นายสราวุธ กล่าว

        นายสราวุธ กล่าวว่า ในปี 2563 นี้ ไม่มีการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ แต่มีโครงการต่อเนื่องที่ทำต่อจากปี 2559-2560 ได้แก่ โครงการมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช, มอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี, มอเตอร์เวย์พัทยา-ท่าเรือมาบตาพุด ทั้ง 3 โครงการ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการก่อสร้างระยะเริ่มต้น ส่วนโครงการอื่นๆ นั้น ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างอยู่กว่า 200 โครงการ อาทิ การก่อสร้างบนถนนพระราม 2 การก่อสร้างทางเลียบเมืองต่างๆ รวมถึงยังมีโครงการใหม่เพิ่มเติมเข้ามาอีกกว่า 106 โครงการ รวมมูลค่าก่อสร้าง 80,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย      นอกจากนี้มีโครงการก่อสร้างใหม่ๆ กว่า 106 โครงการในพื้นที่อีอีซี ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการปรับปรุงถนนจากเดิม 4 ช่องจราจร เป็น 6 ช่องทางจราจร หรือจาก 6 ช่องจราจร เป็น 8 ช่องจราจรในบางช่วง

        สำหรับการพัฒนาโครงการในอีอีซี อาทิ โครงการขยาย 6 ช่องจราจรถนน 36 ช่วงกระทิงลาย-ระยอง, ขยาย 6 ช่องจราจรถนน 344 อ.บ้านบึง-บรรจบถนน 331, ขยาย 4 ช่องจราจรถนน 315 อ.พนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา, ขยาย 6 ช่องจราจร ถนน 36 กระทิงลาย-ระยอง (รวมสะพานข้ามแยกหมวดฯ ระยอง 3 แยกทับมา และแยกบ้านดอน) ตอน แยกมาบข่า-แยกเชิงเนิน 2,400 ล้านบาท ฯลฯ เป็นต้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"