จุฬาฯเปิดตัว "ปัตตานีโมเดล" รุกตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด ชาวปัตตานี กว่า 1 หมื่นราย ก่อนปลดล็อกเมือง 


เพิ่มเพื่อน    

 

 Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit


1มิ.ย.63-ศ.  ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์ฯ ให้ข้อมูลว่า นับว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับประเทศไทย ในสถาการณ์โควิด-19 ที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ในการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่ทางรัฐกำหนดออกมา อย่างเคร่งครัด ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างที่ทราบว่ามีการปลดล็อคดาวน์เป็นระยะ เพื่อให้วิถีชีวิตของคนไทยได้กลับมาปกติโดยเร็วที่สุด แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องดำเนินการไปอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันการระบาดโควิด-19 ในระลอกสอง ที่ผ่านมาทางจุฬาฯ ได้พัฒนานวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 แบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit t ความสำเร็จในการวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ใบยา ไฟโตฟาร์ม และพัฒนาต่อเนื่องไปในการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับไวรัสโดยอาศัยการเรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา 

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์


“โดยการดำเนินงานภายใต้โครงการ ปัตตานีโมเดล  เพราะเป็นพื้นที่จังหวัดชายแดนประเทศไทย และมีความเสี่ยงการเดินทางเข้าออกจากคนชาวต่างชาติและคนในพื้นที่ที่หลากหลาย ร่วมไปถึงประเพณีต่างๆที่อาจจะทำให้เกิดการใกล้ชิดมากกันมากขึ้น โดยได้นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานี โดยมีเป้าหมายจำนวน 10,000 รายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 และต่อยอดใช้ในพื้นที่อื่นๆให้เกิดประโยชน์ต่อไป” ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต กล่าว

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล


ศ. นพ .ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเสริมว่า ปัตตานีโมเดล ถือเป็นการพัฒนานวัตกรรมการจัดการความไม่แน่นอน (Uncertainty Management) อันเกิดจากโรคระบาดโควิด-19 แห่งแรกในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาที่ได้จากปัตตานีโมเดล ในพื้นที่ชุมชนตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ที่จะมีการติดตามผลประมาณ 1 ปี แต่จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้ทราบว่า สามารถใช้ Rapid Test เสริมการตรวจในคนที่ไม่มีอาการ และตรวจได้เร็วขึ้นใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที และตรวจควบคู่ไปกับ RT-PCR รู้จำนวนคนที่ติดเชื้อได้ไวขึ้น และช่วยลดระยะเวลากักตัวใน Local Quarantine จากเดิม14 วัน เหลือ 1 สัปดาห์ ให้สามารถกลับไปกักตัวที่บ้านได้เร็วขึ้น ส่งผลให้ช่วยลดภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ใน Local Quarantine เพื่อเสริมความมั่นใจให้กระบวนการการทำงานของ State Quarantine และ Local Quarantine 

 

ศ. นพ. ดร.นรินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ผลการตรวจจาก Rapid Test  จะสามารถพัฒนานวัตกรรมเชิงป้องกันทางระบาดวิทยา และคาดว่าจะเป็นต้นแบบในการนำไปพัฒนาวิเคราะห์และวางแผนสถานการณ์โควิด-19 ในระดับชุมชน  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละจังหวัด ขณะนี้ก็มีจังหวัดสุรินทร์ได้มีการติดต่อในการลงพื้นที่สำรวจประชาชนชายแดนไทย-กัมพูชา แต่ก็ต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมก่อนลงพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ได้ร่วมมือกับทางจังหวัดปัตตานี อาทิ โครงการพาเพื่อนกลับบ้าน และโครงการสำรวจระดับภูมิคุ้มกันโควิด-19 ในชุมชนตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี 

ไกรศร  วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าฯจ.ปัตตานี

นายไกรศร  วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า สถาการณ์โควิด-19 ปัจจุบันไม่มีผู้ป่วยรายใหม่กว่า 40 วัน เพราะได้มีการวางระบบคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยและกักกันที่เข้มข้น เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง มีการเดินทางเข้า-ออกจากต่างประเทศทั้งอินโดนีเซียและมาเลเซีย ทำให้ที่ผ่านมามีจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยัน 92 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่นำเชื้อโควิด-19 เข้ามาแพร่จำนวน 31 ราย และเสียชีวิต 1 ราย  จึงได้มีการออกนโยบายค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนแบบเข้มข้น เอ็กซเรย์เต็มพื้นที่เสี่ยง และมีแนวคิดในการคัดกรองคนจำนวนมากด้วยวิธีการทางแล็บ ที่ต้องมีความคุ้มค่า ประหยัด และปลอดภัย จึงได้ร่วมมือกับจุฬาฯ ในการนำนวัตกรรมชุดตรวจว่องไวนี้นำมาใช้ตรวจร่วมกับ RT-PCR คัดกรองผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาภูมิคุ้มกันในชุมชน เพื่อหากลุ่มเสี่ยง และผู้ที่ไม่แสดงอาการ จากการเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง อย่าง กรุงเทพฯ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ปัตตานีโมเดลเป็นรูปแบบการคัดกรองที่รวดเร็ว ทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่างมั่นใจ คาดว่าจะขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดปัตตานีต่อไป.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"