ถอนบทเรียนพรรคร่วมรบ.-ฝ่ายค้าน ติติง-เสนอแนะพ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ3ฉบับ


เพิ่มเพื่อน    

        รัฐสภาพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 3 ฉบับสำคัญ ประกอบด้วย 1.พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท 2.พ.ร.ก.ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยออก Soft Loan เพื่อดูแลภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท และ 3.พ.ร.ก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท (พ.ร.ก.หุ้นกู้) ผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้ว

        เมื่อเปรียบเทียบการทำงานระหว่างสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแตกต่างกันสิ้นเชิง ในส่วนของสภา ส.ส.อภิปรายด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น ชี้ให้เห็นถึงปัญหา พ.ร.ก.แต่ละฉบับว่ามีอะไรบ้าง พร้อมกับคำเตือนระวังเหลือบไรได้รับประโยชน์จาก พ.ร.ก.เหล่านี้

        ขณะที่สภาสูงจืดสนิทเหมือนเดิม เงินจำนวนหลักล้านล้านบาทผ่านได้ภายใน 1 วัน!!!

        อีกทั้ง “หัวเรือใหญ่วุฒิสภา” ยังออกตัวอีกว่าการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ เพื่อติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ไม่จำเป็น เพราะกลไกการตรวจสอบของรัฐก็มีอยู่แล้ว

        ทำให้นึกถึงคำวิพากษ์วิจารณ์หลายฝ่ายที่กล่าวว่า  วุฒิสภาเหมือนสภาตรายาง มีหน้าที่แค่ยกมือเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และกดปุ่มผ่านกฎหมายเท่านั้น หากจะหาคำแนะนำหรือคำติติงรัฐบาลจากปาก ส.ว. เปรียบเสมือนงมเข็มในมหาสมุทร

        วกกลับมายังการอภิปรายของสภา เมื่อวันที่ 27-31 พ.ค.ที่ผ่านมา รอบนี้ถือว่าเป็นการพิจารณาที่งดงามที่สุด ไม่มีประท้วงไร้สาระให้ประชาชนที่ติดตามการอภิปรายรู้สึกเบื่อหน่ายรำคาญ ที่สำคัญพรรคร่วมรัฐบาลกระโดดลงมาวิพากษ์บรรดา พ.ร.ก.ด้วยความปรารถนาดีต่อประเทศ

        โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อถอดบทเรียนแล้วมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ตั้งแต่เรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาเว็บหนึ่ง เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ว่าโครงการต่างๆ มีรายละเอียดอย่างไร เหมือนกับสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ออก พ.ร.ก.เงินกู้ไทยเข้มแข็ง

        อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ คือ คณะกรรมการกำกับการจ่ายเงินชดเชย ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.ก.เอสเอ็มอี และคณะกรรมการกำกับกองทุนหุ้นกู้ ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานเช่นกัน ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.หุ้นกู้

        ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 76 ต้องยึดระบบคุณธรรมและเจ้าหน้าที่รัฐต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และขัดแนวทางของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ข้อที่ 4.5 ที่กำหนดให้คณะกรรมการที่ทำหน้าที่วางกฎเกณฑ์ ต้องไม่เป็นผู้แทนของรัฐ

        ว่ากันง่ายๆ กรรมการทั้งสองชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติเงินกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์ แต่ในเวลาเดียวกันมีตำแหน่งเป็นบอร์ดในธนาคาพาณิชย์ด้วย เท่ากับว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยจนถึงขณะนี้ยังไร้วี่แววคำชี้แจงว่าจะมีวิธีแก้ไขหรือไม่

        อย่างไรก็ตาม การพิจารณา พ.ร.ก.รอบนี้ ถือเป็นไม่กี่ครั้งที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจะเห็นตรงกัน นั่นคือการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบการใช้เงินกู้

        ทีแรกฝ่ายค้าน ร่วมด้วยพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย ยื่นญัตติขอให้สภาตั้งคณะ กมธ.ดังกล่าว แต่มีพรรคเดียวที่ไม่เห็นด้วย คือ พรรคพลังประชารัฐ โดย “วิรัช รัตนเศรษฐ” ส.ส.บัญชีรายชื่อ และประธานคณะกรรมการพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) อ้างว่าห้องประชุมที่สภาไม่พอ  อีกทั้งมีกระบวนการตรวจสอบทุจริตของภาครัฐอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมี กมธ.ชุดนี้อีกต่อไป

        ล่าสุด เจ้าตัวกลับลำแล้ว โดยระบุว่า “จะมีการหารือในที่ประชุมวิปครั้งหน้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ตั้งกรรมาธิการฯ ชุดนี้  โดยขณะนี้สองพรรคได้ยื่นญัตติไปแล้ว คือภูมิใจไทยกับประชาธิปัตย์ ซึ่งพลังประชารัฐก็ไม่ขัดข้อง ส่วนที่มีการให้สัมภาษณ์คัดค้านก่อนหน้านี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น”

        ด้านฝ่ายค้านมาในตรีม “ตีเช็คเปล่า เอื้อคนรวย” เรื่องนี้เป็นเหมือนเหรียญที่มีสองด้าน ในทางการเมืองย่อมมองได้ว่าเป็นการอุ้มคนรวย โดยเฉพาะกับ พ.ร.ก.หุ้นกู้ ที่นำเงินกู้ก้อนใหญ่ครั้งนี้ไปค้ำยันหลังให้บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ที่ออกหุ้นกู้ให้ประชาชนซื้อ

        แต่อีกด้านหนึ่งของเรื่องนี้ คนของพรรคร่วมรัฐบาลอธิบายว่า ส่วนตัวเชื่อลึกๆ ว่าเจตนาของรัฐบาลไม่ได้ต้องการอุ้มคนรวยเท่านั้น แต่มองว่าภายใต้บริษัทนายทุนทั้งหลายมีการจ้างงานประชาชนเป็นล้านล้านอัตรา เมื่อบริษัทมีความมั่นคง มีสภาพคล่องในการบริหาร ก็ไม่มีเหตุจำเป็นใดที่จะเลิกจ้างหรือหยุดจ้างแรงงาน เหมือนเป็นการช่วยกันเป็นทอดๆ มากกว่า

        ฉะนั้น จึงฝากไว้ให้คิดว่าใครพูดจริง หรือใครพูดความจริงไม่หมด

        เหนือสิ่งอื่นใด ติดตามตอนต่อไป รัฐบาลจะตั้งเว็บไซต์ให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเงินกู้หรือไม่. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"