เยียวยาอย่างยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    

      จากสถานการณ์โควิดที่ระบาดอย่างหนักตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ส่งผลกระทบอย่างหนัก ทั้งทำให้เกิดการเลิกจ้างงานกันเกือบทุกด้านธุรกิจ ซึ่งเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับผู้ประกอบการและประชาชน ทั้งนี้ หน่วยงานหลายแห่งได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อให้สถานการณ์ที่ย้ำแย่กลับฟื้นคืนมาได้ โดยหนึ่งในนั้นคือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยเร่งขับเคลื่อนมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเหลือ 4 กลุ่มเป้าหมาย ภายใต้แนวคิดของการส่งเสริมแบบ ปรับตัวให้ถูกทางอย่างยั่งยืน ด้วยการผันงบประมาณจากงบปกติกว่า 150 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการสร้างรายได้ประชาชาติ (จีดีพี) การสร้างการจ้างงาน รวมถึงเป็นกลไกสำคัญของกระบวนการผลิต โดยมุ่งพัฒนาเอสเอ็มอีให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถ และยกระดับความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นในยุคความปกติแบบใหม่ (นิวนอร์มอล) ผ่านกิจกรรมและโครงการ อาทิ การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่เอสเอ็มอี สู้วิกฤติโควิดจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อบริหารจัดการธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดทำแผนช่วยขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีศักยภาพทั้งในภาวะวิกฤติและภาวะปกติ

      ในส่วนของชุมชนและวิสาหกิจชุมชน เป็นการพัฒนาด้วยการเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับการท่องเที่ยว ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบการให้แก่ชุมชนท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน และมีขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวภายใน 1 วัน (1 เดย์ทริป) กระตุ้นการท่องเที่ยวในชุมชน การพัฒนาแพลตฟอร์มโลจิสติกส์และการบริหารคลังสินค้า พัฒนาทักษะให้กับวิสาหกิจชุมชน และหาช่องทางในการประกอบกิจการผ่านกิจกรรมจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจชุมชน

      ด้านเกษตรกรและธุรกิจเกษตร ด้วยการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการอุตสาหกรรม (Industrialization) ลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพเชิงเดี่ยว ยกระดับชุมชน และสร้างรายได้ในท้องถิ่น ยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาทักษะการค้าออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าและสร้างรายได้ให้กับภาคการเกษตรผ่านกิจกรรมและโครงการ อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่ การขยายผลงานวิจัย

        ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อยอดสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรแปรรูปที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจเกษตร 100 กิจการ 100 ผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ลดต้นทุนการผลิตของเอสเอ็มอี ยอดขายและรายได้เพิ่มขึ้นรวมกว่า 78 ล้านบาท

      ส่วนด้านประชาชน แรงงาน และบัณฑิตจบใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดอัตราการว่างงานจากการปิดกิจการ การเลิกจ้าง รวมถึงสร้างโอกาสทางอาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมายด้วยการปรับ-เพิ่ม-สร้างทักษะใหม่ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพอิสระ เพื่อเป็นทางเลือกในการทำธุรกิจ รองรับแรงงานที่อพยพกลับท้องถิ่นและชุมชน ลดปัญหาความแออัดของชุมชนเมืองในระยะยาวผ่านกิจกรรมและโครงการ อาทิ การจัดทำองค์ความรู้เรื่องรูปแบบธุรกิจชุมชนที่มีศักยภาพในประกอบการ การอบรมออนไลน์ หัวข้อพัฒนาการประกอบการธุรกิจชุมชน

      และสำหรับคนว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่าน กสอ.ได้มีการพัฒนาโครงการพิเศษเพื่อสร้างโอกาสเป็นผู้ประกอบการ โดยจัดอบรมออนไลน์การประกอบธุรกิจ การเขียนแบบจำลองธุรกิจออนไลน์ และแผนทดสอบการตลาด ซึ่งกำหนดคนเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 2,500 คน และยังคาดว่าไม่ต่ำกว่า 15% ของที่เข้าร่วมอบรม ซึ่งจะสามารถพัฒนาเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ได้ทันที

      ถือว่าเป็นหน่วยงานที่เข้าใจและเข้าถึงผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก เพราะหากหน่วยงานแบบนี้ไม่ดำเนินงานอะไรสักอย่าง ก็จะเป็นเรื่องที่สร้างความลำบากให้กับผู้ประกอบการอย่างแน่นอน เพราะ กสอ.เป็นหน่วยงานของรัฐหน่วยงานแรกๆ ที่จะต้องออกมาตรการเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมอย่างเต็มกำลัง.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"