จุก!ซูเปอร์โพลตอก'สิระ'ไม่จำเป็นต้องอวยใคร เพราะไม่ได้มุ่งหวังแย่งชามข้าว


เพิ่มเพื่อน    

9 มิ.ย.63- ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ชี้แจงกรณีที่ นาย สิระ เจนจาคะ สงสัยหลายเรื่องในการทำโพล เช่น ไปสำรวจที่ไหน ทำไมผลออกมาอย่างนี้ เป็นการอวยกันหรือไม่ และนายสิระให้เอารายชื่อคนตอบแบบสอบถามมาเปิดเผย รวมถึงสั่งให้ซูเปอร์โพลยอมรับคำวิจารณ์นั้น ทางซูเปอร์โพลยินดีตอบคำถามขั้นพื้นฐานที่เรียบง่ายเหล่านี้ได้สบาย ๆ ดังนี้

คำถามที่ว่า ไปสำรวจที่ไหน เป็นคำถามที่ดีมาก ซูเปอร์โพลทำสำรวจประชาชนทั่วประเทศครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดเพราะมีฐานข้อมูลครอบคลุมทุกคนในประเทศ ผลโพลจึงเป็นเสียงของตัวแทนประชาชนทั้งประเทศโดยทุกครั้งที่สำรวจประชาชนในพื้นที่หลักสี่ที่นายสิระแนะนำก็อยู่ในฐานข้อมูลนี้ด้วยแต่โอกาสที่จะถูกเลือกของแต่ละคนมีอยู่ประมาณ 1 ใน 53 ล้านคนของประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปจึงเป็นข้อมูลตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ

แต่ถ้าซูเปอร์โพลทำตามที่นายสิระแนะนำให้สำรวจประชาชนเฉพาะในเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ผลโพลที่ได้ก็เป็นข้อมูลของตัวแทนคนในเขตหลักสี่เท่านั้น จะบอกเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศไม่ได้เพราะนายสิระไม่ได้ให้ประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศมีโอกาสถูกเลือก ถ้าทำตามที่นายสิระแนะนำก็จะถือว่าทำโพลแบบมีอคติในการเลือก (Selection Bias) เพื่อให้ได้ผลสำรวจเฉพาะคนในพื้นที่หลักสี่ของนายสิระเท่านั้น ผลที่ตามมาจากการทำตามคำแนะนำของนายสิระคือ ผลสำรวจอาจจะเบี่ยงเบนไปจากเสียงของคนทั้งประเทศได้เพราะสำรวจเฉพาะคนในเขตหลักสี่ของนายสิระเท่านั้น ตัวอย่างเช่นสมมติมีคำถามในโพลว่า นายสิระเป็น ส.ส.ที่ยี้มากที่สุดในสภาหรือไม่ ถ้าสำรวจเฉพาะคนในบ้านของนายสิระ ผลโพลคงจะออกมา 0% ที่ตอบว่านายสิระเป็น ส.ส.ยี้ที่สุดในสภา แต่ถ้าถามประชาชนทั้งประเทศว่านายสิระเป็น ส.ส.ยี้ที่สุดในสภาหรือไม่ ผลโพลที่จะออกนั้น นายสิระลองคิดดูว่าจะเป็นอย่างไร

ต่อมา นายสิระ ก็ถามว่า ทำไมผลออกมาอย่างนี้มันสวนกับความรู้สึก ซึ่งคำถามนี้ ก็มักเกิดขึ้นเสมอ ๆ กับข้อมูลที่สำรวจกับคนหมู่มากทั้งประเทศหลายสิบล้านคน ไม่ใช่เฉพาะคนไม่กี่คนที่พักอาศัยอยู่ในบ้านของนายสิระ ความหลากหลายทางความคิดและพฤติกรรมมีมากกว่า จึงตรงกับใจบ้างไม่ตรงกับใจบ้างเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าไม่ตรงใจเลยก็ต้องไปดูว่าอะไรเป็นเหตุปัจจัย เช่น อคติของคนอ่านผลโพล หรือ อคติของคนทำโพล หรือ อคติของคนตอบโพล เป็นต้น

นายสิระ ถามอีกว่า เป็นการอวยกันหรือไม่ คำตอบคือ ซูเปอร์โพลไม่มีความจำเป็นต้องทำโพลเอาใจใครเพราะทำมาหากินได้ด้วยความรู้ความสามารถของซูเปอร์โพลโดยได้ทุนมาจากการทำโพลและงานวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซูเปอร์โพลมีเงินเหลือก็เอามาคืนสู่สังคมด้วยการทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพราะเห็นว่าเสียงของประชาชนนั้นสำคัญ ซูเปอร์โพลจึงไม่จำเป็นต้องอวยใคร เพราะไม่ได้มุ่งหวังแย่งชามข้าว หรือ แย่งตำแหน่งอะไรกับใคร

ที่น่าเป็นห่วงคือ นายสิระขอให้นำรายชื่อของคนตอบมาเปิดเผยซึ่งเรื่องนี้ซูเปอร์โพลคิดว่าจะทำผิดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของนักวิจัยที่ไม่แน่ใจว่าเรื่อง จริยธรรมและจรรยาบรรณ นี้ นายสิระ คิดอย่างไร จะฉีกหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณ หรือว่า นายสิระจะไม่ให้ซูเปอร์โพลประพฤติปฏิบัติตนตามจริยธรรมหรือไม่ นายสิระ ลองไปคิดพิจารณาดูดี ๆ ว่าจะประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของจริยธรรมหรือจะฉีกหลักจริยธรรมเพื่อให้ได้สิ่งที่นายสิระต้องการอย่างนั้นหรือ

สุดท้ายเรื่อง การยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์นั้น ซูเปอร์โพลยอมรับมาตลอดและนำเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตลอดเวลา ถ้าการวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นมีเหตุมีผลเป็นไปด้วยปัญญา ไม่ใช่การปั้นความเท็จบอกประชาชนที่อาจจะทำให้ซูเปอร์โพลและตัวผมเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่โชคดีที่พวกเราทุกคนมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นที่พึ่งแห่งความเป็นธรรมของทุกคนในสังคมได้ดังนั้นในกรรมใดที่ใครก่อไว้ก็ต้องมาแก้กรรมกัน โดยสรุป ซูเปอร์โพลยินดีให้ความร่วมมือตอบทุกคำถามอย่างเป็นกัลยาณมิตร ถ้าทุกคนที่ถามมาถามด้วยความสงสัยแท้จริงไม่มีเจตนาทำร้ายทำลายกัน บ้านเมืองจะได้สงบสุขไม่วุ่นวาย ยิ่งถ้าใครเป็นผู้แทนของราษฎรต้องทำตัวเป็นผู้ลดความขัดแย้งไม่ใช่เป็นต้นตอแห่งความขัดแย้งเสียเอง

หวังว่านายสิระ เจนจาคะ และผมจะมีความเข้าใจอันดีต่อกันเสมอ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"