กระทู้ถามอุ้มวันเฉลิม 'ดอน'ตอกไม่ใช่ผู้ลี้ภัย


เพิ่มเพื่อน    


    "รังสิมันต์" ตั้งกระทู้ถามสดกรณี "วันเฉลิม" ลากโยงไปเอี่ยวมาตรา 112 "สมศักดิ์" ย้ำไม่สามารถคุ้ยบนอธิปไตยประเทศอื่น "ดอน" ตอกหน้าหงายทำงานมา 6 ปีไม่เคยรู้จักชื่อ ไม่มีในบัญชีผู้ขอลี้ภัยทั้งในส่วนของ กต.และยูเอ็นเอชซีอาร์ เชื่อไม่มีความสำคัญทั้งในด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ 
    เมื่อวันพุธที่ 10 มิ.ย. ที่รัฐสภามีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2 ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธาน โดยได้มีการพิจารณากระทู้ถามสด โดยนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ตั้งกระทู้ถามสดกรณีนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หรือต้าร์ นักกิจกรรมซึ่งลี้ภัยไปอยู่ประเทศกัมพูชาหลังการรัฐประหารถูกอุ้มตัวไป 
    โดยนายรังสิมันต์ระบุว่า สิ่งที่ทำให้สังคมเคลือบแคลงว่าเหตุการณ์นี้อาจเกี่ยวกับการเมืองไทย คือการที่นายวันเฉลิมเป็นหนึ่งในผู้ลี้ภัยทางการเมืองภายหลังการรัฐประหาร 22 พ.ค.57 ซึ่งถูกแจ้งความและออกหมายจับในคดีไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคดีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ดูแลเพจกูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณแน่ๆ โพสต์ข้อความผิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์เมื่อปี 2561 ซึ่งแม้จะเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง แต่ก็เป็นคนไทยคนหนึ่ง มีสิทธิในชีวิตและร่างกายที่ถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญ รัฐบาลไทยมีหน้าที่ต้องคุ้มครองไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่ ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในหรือนอกประเทศ ไม่ว่าพวกเขาจะรักหรือชังรัฐบาลก็ตาม หากแต่ปฏิกิริยาแรกจากทางการไทยคือ ตีมึน ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่รู้จัก ไม่มีอำนาจ ฟังแล้วไม่สัมผัสได้ถึงความกระตือรือร้นใดๆ ทั้งสิ้น ต้องให้สังคมมากดดันถึงได้สะดุ้ง ลุกขึ้นมาวิ่งเต้นประสานงานกับทางการกัมพูชา
    "ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ชุดแรกมาจนถึงชุดปัจจุบัน มีกรณีการอุ้มหายหรือบังคับให้หายสาบสูญเกิดขึ้นอย่างน้อย 9 ราย ทั้งผู้ลี้ภัยทางการเมืองและชาวบ้านผู้เรียกร้องสิทธิ ไม่มีรายไหนสามารถติดตามเอาคนร้ายมาลงโทษได้ ไม่มีรายไหนที่หาตัวเหยื่อจนพบตัวเป็นๆ ต้องรอให้ธรรมชาตินำพาอย่างกรณี 2 ศพถูกคว้านท้องยัดแท่งปูนริมแม่น้ำโขง โลกถึงได้รู้ว่าคนเหล่านี้ต้องประสบชะตากรรมที่โหดร้ายเพียงใด คำถามคือ เหตุใดเราจึงยังไม่รู้เสียทีว่าผู้ก่อเหตุในแต่ละคดีเป็นใคร ชะตากรรมของผู้ถูกอุ้มหายอีก 7 คนนั้นเป็นตายร้ายดีเช่นไร และกรณีคุณวันเฉลิม รัฐบาลจะมีมาตรการที่เป็นรูปธรรม มีกระบวนการขั้นตอนที่ชัดเจนอย่างไร ให้มั่นใจว่าคดีนี้จะไม่ซ้ำรอยกับที่ผ่านมา และจะมีมาตรการรูปธรรมอะไรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นอีกในอนาคต"
    สำหรับคำถามที่สอง สืบเนื่องจากที่ พล.ต.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้อำนวยการสำนักงานกรมพระธรรมนูญทหารบก อดีตนายทหารปฏิบัติการประจำกองบัญชาการกองทัพบก ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของ คสช. กล่าวถึงกระแสพุ่งเป้าโจมตีว่ากองทัพบกอยู่เบื้องหลังการอุ้มหายคุณวันเฉลิม ที่อาจเกี่ยวข้องกับกรณีการละเมิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ว่า คสช.ไม่เคยแจ้งความดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กับนายวันเฉลิม มีเพียงความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เท่านั้น และก็เชื่ออย่างนั้น แต่ขัดกับที่หน่วยงานความมั่นคงได้จัดทำรายชื่อผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ที่หลบหนีอยู่ต่างประเทศ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีชื่อของนายวันเฉลิมรวมอยู่ด้วย และยังมีเอกสารจากฝ่ายความมั่นคงที่ปรากฏในสื่อหลายสำนักเช่นกัน ที่ระบุชื่อและภาพถ่ายของนายวันเฉลิมว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการหมิ่นสถาบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ดูจะขัดกับสิ่งที่ พล.ต.บุรินทร์พยายามแก้กระแสโจมตี ผ่านการชี้แจงข้อเท็จจริงว่าไม่มีการแจ้งความตามมาตรา 112
    "ผมคิดว่าถ้าตัวเองเป็นนายวันเฉลิม ผมอาจหนีออกนอกประเทศ เพราะกลัวโทษฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ในตอนแรก แต่อาจตัดสินใจกลับมาสู้คดีเพราะเห็นว่าไม่เป็นโทษร้ายแรงมากนัก ถ้าไม่ปรากฏว่าต่อมาผมมีชื่ออยู่ในพวกทำผิดข้อหาร้ายแรงอย่างการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การถูกกล่าวหาจากฝ่ายความมั่นคงเช่นนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้นายวันเฉลิมไม่กล้ากลับเข้าประเทศ จนต้องถูกอุ้มหายในต่างแดนท้ายที่สุด"
นายรังสิมันต์กล่าวอีกว่า คำถามคือฝ่ายความมั่นคงมองว่า นายวันเฉลิมมีสถานะหรือบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมืองไทยอย่างไรกันแน่ เหตุใดจึงมีรายชื่อเป็นผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 และขบวนการหมิ่นสถาบัน ฝ่ายความมั่นคงที่ทำเอกสารดังกล่าวคือหน่วยงานใด จัดทำเอกสารดังกล่าวขึ้นด้วยเหตุใด และระบุรายละเอียดการกระทำในส่วนของนายวันเฉลิมไว้ว่าอย่างไร ซึ่งการที่มีชื่อว่าเป็นขบวนการหมิ่นสถาบันในเอกสารของฝ่ายความมั่นคง หมายความว่ายังอาจเป็นไปได้ที่ประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์จะเป็นมูลเหตุจูงใจในการอุ้มหายใช่หรือไม่ และการที่กองทัพบกโดย พล.ต.บุรินทร์ออกมาชี้แจงดังที่กล่าวข้างต้นนั้น เป็นความพยายามที่จะตัดความเชื่อมโยงถึงปัจจัยที่อาจเป็นมูลเหตุจูงใจในการอุ้มหายนายวันเฉลิมหรือไม่
     จากนั้นนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ลุกขึ้นตอบคำถาม โดยระบุว่า กรณีนายวันเฉลิมไม่เคยขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งที่น่าสนใจคือ การป้องกันและแก้ไขโดยได้มีการนำร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งความคืบหน้าในคดีต่างๆ  นายกฯ มีความห่วงใย จึงออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับกรณีกระทำทรมานและทำให้สูญหาย ให้ รมว.ยุติธรรมซึ่งก็คือตนเป็นประธาน และได้ตั้งอนุกรรมการดำเนินการเรื่องนี้อีก 2 ชุด มีคดีเกี่ยวกับเรื่องการสูญหาย 87 ราย ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 75 ราย
    นายสมศักดิ์ยังตอบคำถามที่สอง โดยอ่านรายชื่อบุคคลสูญหาย 8 ราย ที่ระบุว่าอยู่ระหว่างติดตามของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พร้อมระบุว่าถ้าอยากทราบรายละเอียดพร้อมส่งให้ ก่อนระบุว่า การติดตามบุคคลอุ้มหายในต่างประเทศเป็นกรณีไม่ปกติ ไม่สามารถสืบสวนสอบสวนบนอธิปไตยประเทศอื่น ต้องประสานผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ด้านกระทรวงยุติธรรมตอบได้เพียงเท่านี้
    จากนั้นนายสมคิด เชื้อคง ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้สดถามกระทรวงการต่างประเทศถึงการติดตามช่วยเหลือนายวันเฉลิมว่ามีความคืบหน้าอย่างไร และ กต.มีนโยบายดูแลผู้ลี้ภัยที่อยู่ต่างประเทศอย่างไร
นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.การต่างประเทศ (กต.) ชี้แจงว่า ตนเป็น รมว.การต่างประเทศมา 6 ปี  ไม่เคยได้เห็นชื่อนายวันเฉลิมจนเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น อาจเป็นเพราะเป็นชื่อที่ไม่มีความสำคัญมากนักในแง่การต่างประเทศ ความมั่นคง จึงไม่น่าเป็นผู้มีภัยคุกคามต่อความมั่นคง กรณีที่เกิดขึ้นกำลังรอฟังคำตอบจากรัฐบาลกัมพูชา ทราบว่ากัมพูชากำลังจะเริ่มเข้าไปตรวจสอบในวันที่ 10 มิ.ย.นี้ ต้องให้เวลากัมพูชาตรวจสอบ รัฐบาลไทยทำได้อย่างมากแค่ฝากกัมพูชาช่วยติดตาม คงตอบได้เพียงเท่านี้ ไม่สามารถพยากรณ์คาดเดาอะไรได้ล่วงหน้า จนกว่าจะได้คำตอบจากกัมพูชา
    นายดอนกล่าวต่อไปว่า รัฐบาลพร้อมดูแลคนไทยในต่างประเทศทุกคน แต่คนไทยในต่างแดนมักไม่แสดงตัว จนกระทั่งเกิดปัญหาความเดือดร้อนจึงมาแสดงตนต่อสถานทูต กรณีนายวันเฉลิมน่าจะอยู่ในข่ายนี้ และตามบันทึกของกระทรวงการต่างประเทศนั้น นายวันเฉลิมไม่อยู่ในสถานะผู้ลี้ภัย รวมถึงในบัญชีของยูเอ็นเอชซีอาร์ก็ไม่มีชื่อนายวันเฉลิมอยู่ในบัญชีผู้ลี้ภัยทางการเมือง แต่ข่าวที่ออกมาเป็นการปล่อยข่าวจากฮิวแมนไรต์วอตช์กับแอมเนสตี้ให้คนสนใจ ส่วนเรื่องที่มีการให้เบาะแสข้อมูลคดีนี้ตามทวิตเตอร์หรือเพจต่างๆ นั้น เป็นการปั่นกระแสกันได้ง่าย การปั่นกระแสตามโซเชียลมีเดียจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ ดังนั้นควรรอฟังคำชี้แจงจากกัมพูชาดีกว่า.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"