พรีเมียร์ลีกเตรียมติด "Black Lives Matter" แทนชื่อ ประเดิมนัดแรกรีสตาร์ท


เพิ่มเพื่อน    


พรีเมียร์ลีก ได้ประกาศแล้วว่า จะให้มีการติดโลโก้ "Black Lives Matter" บนเสื้อแข่งของนักเตะทุกคนไปจนกระทั่งจบแคมเปญ พร้อมด้วยตราแสดงการขอบคุณต่อ NHS ที่ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในช่วงการระบาดของโคโรน่าไวรัส โดยโปรแกรม12 คู่แรก แคมเปญนี้จะประเดิมด้วยการที่นักเตะทุกคนจะติดสโลแกน "Black Lives Matter" แทนชื่อของตัวเองที่หลังเสื้อด้วย
    ส่วนผู้เล่นคนไหนที่อยากจะคุกเข่าลงหนึ่งข้าง ทั้งก่อนและระหว่างเกมการแข่งขัน ซึ่งได้กลายมาเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อต่อต้านการเหยียดผิวในช่วงราว 2 ปีที่ผ่านมา จะได้รับการสนับสนุนจากทาง ลีกให้ทำได้อย่างเต็มที่
    ทางฝ่ายของนักฟุตบอล ได้มีการกล่าวไว้ในแถลงการณ์ที่ออกโดยลีก "เราซึ่งเป็นผู้เล่น ยืนเคียงข้างโดยมีเป้าหมายหนึ่งเดียวกันในการกำจัดความอยุติธรรมทางเชื้อชาติไม่ว่าจะมีอยู่ที่ไหนก็ตาม เพื่อสร้างสังคมโลกของการไม่แบ่งแยก และเคารพซึ่งกันและกัน และโอกาสที่เท่าเทียมกันของทุกคน โดยไม่คำนึงถึงสีหรือความเชื่อ"
    "สัญลักษณ์นี้ คือสัญลักษณ์ของความสามัคคีจากผู้เล่นทุกคน สตาฟทุกคน สโมสรทุกสโมสร เจ้าหน้าที่ประจำแมทช์การแข่งขันทุกคน และพรีเมียร์ลีก #blacklivesmatter #playerstogether"
    ."พรีเมียร์ลีก กล่าวว่าทุกฝ่ายล้วนให้การสนับสนุนเคียงข้างกัน ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอล, ฟุตบอลลีกอังกฤษ, สมาคมนักฟุตบอลอาชีพ, สมาคมผู้จัดการทีมลีก, และ คณะกรรมการแมทช์การแข่งขันอาชีพ ในการร่วมคัดค้านการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ"
    คำแถลง ยังบอกเพิ่มเติมด้วยว่า "พรีเมียร์ลีก เชื่อว่า จะต้องไม่มีที่ว่างสำหรับการเหยียดชนชาติ ไม่ว่าที่ไหนก็ตาม #NoRoomForRacism"
     ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก มีกำหนดที่จะกลับมาทำการแข่งขันกันต่อในระบบปิดตั้งแต่คืนวันพุธนี้เป็นต้นไป หลังจากว่างเว้นไปนานถึง 3 เดือน โดย แอสตัน วิลล่า จะเปิดบ้านรับการไปเยือนของ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ก่อนที่ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ จะเปิดศึกชนกับ อาร์เซนอล ซึ่งหลังจบเกมสองคู่นี้ จะทำให้ทุกทีมแข่งเหลือ 9 นัดเท่ากัน
    บุนเดสลีกา เป็นลีกใหญ่ลีกแรกของยุโรป ที่กลับมาเริ่มแข่งต่อกันตั้งแต่เมื่อเดือนที่แล้ว และหลายสโมสรและผู้เล่นต่างแสดงการสนับสนุนความเคลื่อนไหว "Black Lives Matter" ซึ่งได้รับแรงผลักดันมาจากการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์
    ฟลอยด์ โดนเจ้าหน้าที่ตำรวจมินเนอาโปลิสทำเกินกว่าเหตุระหว่างการจับกุมทั้งที่ ชายผิวดำรายนี้ไม่มีอาวุธ แต่ตำรวจผิวขาวนายหนึ่งกดเข่าลงที่คอของเขาเพื่อให้หยุดนิ่งจนสิ้นใจในที่สุดแม้เจ้าตัวจะร้องบอกแล้วว่าเขาหายใจไม่ออกก็ตาม ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงที่รุนแรงตามมาทั่วสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆทั่วโลก
    เมื่อตอนต้นเดือน ลิเวอร์พูล จ่าฝูงพรีเมียร์ลีก ที่ใกล้จะได้แชมป์เต็มที แสดงการสนับสนุน การต่อต้านการเหยียดผิว โดยผู้เล่นทั้งหมดมีการถ่ายรูปร่วมกันตอนมาซ้อมที่สนามแอนฟิลด์ โดยทั้งหมดคุกเข่าลงหนึ่งข้างด้วยกัน นอจากนั้นแล้วก็ยังมีอีกหลายทีมที่ทำแบบเดียวกัน อย่างเช่น เชลซี กับ นิวคาสเซิล
    ผู้เล่นของ อาร์เซนอล ก็ทำคล้ายๆกันก่อนเกมกระชับมิตรกับ เบรนท์ฟอร์ด เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา โดยสวมทีเชิร์ตที่มีข้อความว่า "I can't breathe", "My skin is not a crime" และ "I'm not black but i stand with you"
    ทาง เอฟเอ ชี้ว่า มันเป็นเรื่องของสามัญสำนึกในการร่วมกันผลักดันให้การเรียกร้องเดินหน้าต่อ
    อย่างไรก็ตามมีบางคนตั้งข้อสังเกตุว่า แม้จะมีการเรียกร้องถึงความเท่าเทียมกันของคนผิวสีในวงการฟุตบอล แต่อาจจะโฟกัสไปที่นักเตะเท่านั้น ส่วนคนผิวสีที่จะได้รับโอกาสดีในการเป็นผู้จัดการทีมในทีมใหญ่ๆนั้นแทบไม่มีให้เห็น
    แอนดี้ โคล อดีตกองหน้าแมนเชสเตอร์ ยุไนเต็ด บอกว่า เขาไม่คิดที่จะขยับบทบาทตัวเองไปเป็นโค้ช เพราะเขาไม่รู้สึกว่าจะได้รับการปฏิบัติเมือนกับตอนเล่นอยู่ในสนาม แตกต่างจากนักเตะผิวขาวหลายคนที่พอแขวนสตั๊ดปั๊ป โอกาสมาก็ทันที และก้าวขึ้นคุมทีมใหญ่อย่างรวดเร็วอีกต่างหาก
    โค้ช ซึ่งเคยทำงานเป็นโค้ชกองหน้าให้กับ โซล แคมป์เบลล์ ระหว่างที่คุมทีม เซาธ์เอนด์ บอกว่า "ผมไมต้องการกระโดดผ่านห่วงหลายชั้น หากผมจะต้องไปเริ่มที่ล่างสุด ผมก็อยากเห็นคนอื่นเริ่มจากที่ล่างสุดก่อนเหมือนกัน"
    "สิ่งที่ผมทำได้คือมอง โซล เป็นตัวอย่าง งานแรกของ โซล คือคุม แม็คเคิลสฟิลด์ เรื่องเงินสนับสนุนไม่มี งานที่สองของเขาคือที่ เซาธ์เอนด์ และเขาก็ต้องทำงานภายใต้สถานการณ์เดียวกัน ตอนนี้คุณลองมองที่ แฟรงค์ แลมพาร์ด หรือ สตีเวน เจอร์ราร์ด ดู งานแรกของ แลมพาร์ด คือ ดาร์บี้ แตกต่างจาก แม็คเคิลสฟิลด์ ฟ้ากับเหว งานที่สองของเขาคือ เชลซี ส่วนเจอร์ราร์ด ได้คุม เรนเจอร์ส"
    "ตอนนี้ถ้ามาดูความสำเร็จในอาชีพตอนค้าแข้ง ทั้งคู่ต่างก็ประสบความสำเร็จอย่างเหลือเชื่อมาด้วยกัน โซล เองก็เหมือนกัน แต่พอมาถึงงาน การเป็นโค้ช คนหนึ่งต้องไปเริ่มที่ล่างสุด ขณะที่อีกคนได้เริ่มในระดับท็อป นั่นไม่ใช่สนามเล่นที่เท่ากันสำหรับผม"
    อดีตบอส อาร์แซน เวงเกอร์ อธิบายถึงฟุตบอลว่า มีการต่อต้านการเหยียดผิวเหมือนกัน แต่เฉพาะที่สำคัญจำเป็น โดยยอมรับว่า เขาเคยได้ยินว่า โค้ชผิวสี ถูกปฏิเสธโอกาสในเกมระดับสูงสุดของอังกฤษ
    เวงเกอร์ บอกว่า "ในฝรั่งเศส เราสร้างแนวคิดของการเลือกปฏิบัติในเชิงบวก โดยเราจะให้ตำแหน่งกับคนเหล่านั้นเพราะพวกเขาไม่ได้รับโอกาสเพียงพอ แต่นี่ก็เป็นการเลือกปฏิบัติการแบ่งแยกเหมือนกัน เพราะคนที่ดีกว่าอาจไม่ได้งาน"
    "คุณต้องการให้โอกาสทุกคนเหมือนๆกัน ไม่ว่าคุณจะมาจากไหน หรือคุณจะดูเป็นอย่างไร ผมเคยมีอดีตนักเตะอย่าง ปาทริค วิเอร่า ที่ทำผลงานดีมากในการคุม นีซ โซล แคมป์เบล เป็นผู้จัดการทีม ผมหวังว่าเขาจะได้รับโอกาสในเกมระดับสูงสุดในไม่ช้า และผมได้ยินมากว่าเขาทำหน้าที่ได้ดีมาก"
    
    


   


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"