ยื่นปปช.ฟันกราวรูด รื้อทิ้งบ้านบอมเบย์


เพิ่มเพื่อน    

  กมธ.วุฒิสภาส่งไม้ต่อ ป.ป.ช. สอบปมรื้อ “บอมเบย์ เบอร์มา” ชี้คนที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนรับผิดชอบ ตั้งแต่กรมอุทยานฯ จังหวัดแพร่ซึ่งโยงไปถึงผู้ว่าฯ กรมศิลปากร และผู้รื้อถอน ระบุถือเป็นบทเรียน คนทำผิดต้องไม่ลอยนวล

    เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 29 มิถุนายนนี้ ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม และคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา นำโดยนายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา และ พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน เดินทางมายื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผ่านนายธรรมนูญ เรืองดิษฐ์ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบ กรณีรื้อถอนอาคารศูนย์เรียนรู้ป่าไม้สวนรุกขชาติเชตวัน (บ้านบอมเบย์ เบอร์มา) อายุกว่า 127 ปี จังหวัดแพร่ โดยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวอาจเป็นการกระทำที่ผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความบกพร่อง ส่อถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ และหน่วยงานอื่น
    หนังสือระบุว่า การกระทำดังกล่าวอาจมีผู้เกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบคือ 1.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช 2.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) 3.จังหวัดแพร่ 4.กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ 5.ห้างหุ้นส่วนแพร่โกสินทร์ก่อสร้าง โดยกรรมาธิการทั้ง 2 คณะเห็นว่า แต่ละหน่วยงานน่าจะมีความผิดตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ และการกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นทั้งทรัพย์สินของราชการ กระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างร้ายแรง อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.โบราณสถาน พ.ร.บ.ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ นอกจากนี้ ข้าราชการที่เกี่ยวข้องอาจมีความผิดทางวินัย
    นายวันชัยกล่าวว่า จาการตรวจสอบในส่วนของจังหวัดแพร่ เราได้เห็นว่ามีความผิดพลาดบกพร่องในส่วนใด รวมทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เราก็ได้ตรวจสอบแล้วว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง และกรมศิลปากรซึ่งเป็นหน่วยอนุญาตและหน่วยตรวจสอบก็ได้พิจารณาแล้วว่าบกพร่อง ผิดพลาดในส่วนใด รวมทั้งบริษัทที่รับเหมา ซึ่งทั้งหมดเป็นการกระทำคามผิดต่างกรรม ต่างโอกาส ต่างวันเวลากัน และเชื่อมโยงกัน ซึ่ง กมธ.เห็นว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะเป็นอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะพิจารณาดำเนินการต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป
    ผู้สื่อข่าวถามว่าในส่วนของจังหวัดแพร่ รวมไปถึงระดับผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นคนลงนามอนุญาตหรือไม่ นายวันชัยกล่าวว่า เราได้มีการสอบสวนแล้วเชิญมาให้ถ้อยคำชี้แจงแล้ว กรรมาธิการก็ได้ตรวจสอบรายละเอียดแล้ว เห็นว่าในฐานะคนให้งบประมาณน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องต่อเหตุที่เกิดขึ้น แต่ยังไม่ยืนยันว่าเป็นความผิดของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เราคิดว่าน่าจะมีการกระทำความผิดเชื่อมโยงกันในหลายส่วนงาน ส่วนตัวบุคคลใครผิดมากน้อยเพียงใด กรรมาธิการทั้ง 2 คณะได้ตรวจสอบและชี้ให้เห็นในเบื้องต้นแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ ป.ป.ช.จะลงลึกในรายละเอียดอีกส่วนหนึ่ง
    “ที่เห็นชัดเจนคืออาคารดังกล่าวเป็นโบราณสถาน และกฎหมายกำหนดไว้ว่าเมื่อเป็นโบราณสถาน กระบวนการต้องทำอย่างไร ต้องขออนุญาตจากใคร ดังนั้นใครก็ตามที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรรู้ จะปฏิเสธว่าไม่รู้ จึงไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนดนั้นไม่ได้
    ถามว่านอกจากเรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะโยงถึงเรื่องทุจริตด้วยหรือไม่ นายวันชัยกล่าวว่า ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ทุกมิติของการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งการดำเนินการในเรื่องนี้ เราไม่ต้องการสอบแค่อาคารดังกล่าว แต่เราต้องการให้เรื่องนี้เป็นบทเรียน ซึ่งคนที่เกี่ยวข้องไม่ควรจะลอยนวล ไม่ควรปัดความรับผิดชอบไปมา เพราะถือว่าเรื่องนี้หากทุกคนที่เกี่ยวข้องมีส่วนตรวจสอบกำกับดูแล เข้มงวดตามระเบียบตามกฎหมาย เหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้น นอกจากนั้น กมธ.ทั้ง 2 คณะกำลังดำเนินการตรวจสอบโบราณสถานทั้งหมด และกำลังจะมีการสรุปข้อมูลวิธีการแนวทางการแก้ไขปัญหาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับโบราณสถานทั้งหมดทั่วประเทศ เพื่อหาทางยับยั้งไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก
    "ส่วนการบูรณะอาคารดังกล่าวกลับมาเหมือนเดิมได้หรือไม่ เป็นเรื่องของกรรมาธิการการศาสนาฯ จะเข้าไปช่วยตรวจสอบดูแลว่าการดำเนินการเป็นไปตามหลักการและถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้อยากเร่งให้ ป.ป.ช.ดำเนินการอย่างรวดเร็ว จริงจัง เพราะถือเป็นเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึกของประชาชนจำนวนมาก ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดจึงต้องรวดเร็วและรุนแรงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก"
    ด้าน พล.ร.อ.ฐนิธกล่าวว่า ขั้นตอนการดำเนินการเรื่องนี้ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเลยตั้งแต่การจ้างบริษัทมาบำรุงรักษา แต่กลายเป็นการรื้อถอน และเท่าที่ดูเอกสารแล้วไม่มีรูปแบบ ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่เป็นสถาปนิกหรือวิศวกร ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และ พ.ร.บ.สถาปนิกกำหนดไว้ จึงเป็นการทำแบบไม่มีรูปแบบ แล้วมีการตกลงกันว่าต้องถอนฐานรากออกทั้งหมด แต่กลับไม่มีการขอแก้สัญญา ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้องตามระเบียบวัสดุ ดังนั้นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่า การทำงานทุกงานในการจัดซื้อจัดจ้างควรเป็นไปตามระเบียบวัสดุอย่างครบถ้วนเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ส่วนการขออนุญาตปรับปรุงอาคารนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นโบราณสถาน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"