เพจหมอ โพสต์สถานการณ์โควิดในไทย ​ "ยังมีผู้ติดเชื้อเบาๆ​ ที่ไม่ได้มาตรวจบ้าง"  ไม่ได้แปลว่า​ "ไม่มีเลย" ศบค รู้ดี​ เลยสั่งยิกๆ​ การ์ดห้ามตก​ !! 


เพิ่มเพื่อน    

 


8ก.ค.63-เพจแพทย์ไทยไอเดียสุด ที่ติดตามสถานการณ์โควิด-19 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความคืบหน้าการวิจัยในต่างประเทศ ได้โพสต์ข้อมูล เกี่ยวกับการแพร่กระจายเชื้อโควิดในอากาศ ซึ่งข่าวล่าสุดนักวิจัยจาก 32 ประเทศทั่วโลก ได้ยืนยันว่า โควิด สามารถติดต่อทางอากาศ กระจายเชื้อได้ไกลกว่า 10 เมตร  และองค์การอนามัยโลก ได้ออกคำเตือนมาแล้ว    โพสต์ในเพจนี้ มีข้อมูลมากมายที่นำข้อมูลย้อนหลังมาประกอบกัน แต่มีความน่าสนใจมาก และเป็นเครื่องเตือนใจว่า โควิด อาจจะยังอยู่กับเรา แม้ในประเทศไทยจะไม่มีผู้ติดเชื้อจากในประเทศติดต่อกัน 43 วัน 


เนื้อหาของเพจแพทย์ไทยไอเดียสุดมีดังนี้ 
-----------------
วิจัยยืนยัน​ "ความเสี่ยงเด็กผู้ใหญ่นั่งในห้องปิด" จึงรีบแปล​ รีบลง​ เพราะเปิดเทอม​ ถ้าช่วยกันแชร์วิจัยนี้ไปทั่วประเทศ อาจช่วยเด็กๆ​ และครอบครัวให้ลดความเสี่ยงติดเชื้อทั้งหวัด​ ทั้ง​ Covid19​ ได้​ ถ้าทำให้บางโรงเรียนที่ห้องเรียนติดแอร์ไหวตัวทัน​ เปิดประตูห้องให้อากาศไหลเวียนเข้าออกมากขึ้น
และทำให้ผู้ปกครอง​ ครู​ อาจารย์​ ผู้บริหารเข้าใจปัจจัยเสี่ยงของห้องปิด​ (รวมถึงรถที่มีคนโดยสารมากๆ)​ และอาจจะทำให้ทุกคนการ์ดไม่ตกมากกว่านี้​ด้วย
ผู้ที่สนใจตามอ่านวิจัยนี้ได้ที่
Exposure assessment for airborne transmission of SARS-CoV-2 via breathing, speaking, coughing and sneezing
https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2020.07.02.20144832v1
...............
ในโพสต์นี้มีแถม​ "รวม​สุดยอด 15​ ปัจจัยเสี่ยงในการรับเชื้อ​ ติดเชื้อ​ Covid19" ที่อาจจะหาอ่านแบบครบๆ​ แบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว
............. 
#ความลับCovid19​  ตอนที่​ 32​ -​  นั่งในห้องปิด​ ในรถ​ ที่มีผู้ติดเชื้อแค่​ 1​ ชั่วโมง​ แม้ไม่มีคนไอ​ จาม​ ก็มีลุ้นติดเชื้อได้​ ได้อย่างไร​ ตามอ่านกันได้​
ผู้ที่สนใจ​ความลับ 31 ตอนแรก​ ตามอ่านกันได้ใน​ Tag "ความลับCovid19" ด้านบนได้เลยครับ
โพสต์ก่อนหน้านี้​ ก็ไม่ควรพลาด​ !!
1.​ ต้องบุกตรวจในกลุ่มผู้ติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงที่ไม่มีอาการ​ หรืออาการน้อยๆ​ ถึงจะเจอ​ แถมเจอตั้ง​ 3​ %
https://www.facebook.com/100912971593787/posts/165700908448326/
2. วิจัยที่บังเอิญตรงกับการที่จีนเจอ​กลุ่มผู้ติดเชื้อแสดงอาการช้า​ ตรวจเชื้อไม่เจอใน​ 14​ วันแรก​ แบบ​ Covid19​ สายพันธุ์​ใหม่ล่าสุดที่ข้ามไปจากทวีปยโรป​ และอเมริกาที่เข้าประเทศจีน​ตามโพสต์นี้
https://www.facebook.com/100912971593787/posts/165973595087724/
ผู้ที่เข้าประเทศมา​ ต่อให้กักครบ​ 14​ วัน​ ตรวจเชื้อยังไงก็ไม่เจอ​ แม้เพิ่งติดเชื้อ​ พอหลุดการกักตัวกลับกระจายเชื้อได้​ ... หรือแม้แต่​แค่นั่งในเครื่องบินที่บินเข้ามา​ ก็อาจจะกระจายเชื้อกันในเครื่องบินได้​ หรือลงเครื่องบิน​ ก็ในห้องอาหาร​ ในเลาจน์​ ในบาร์น้ำ​ที่สนามบิน​ โรงแรม​ หรือรีสอร์ทที่เอาไว้กักกันเบื้องต้น (เพราะต้องถอดมาส์กกินข้าวกันทุกคนในห้องอาหาร)​ 
ถ้ามากระจายเชื้อในไทยอีกรอบ​ .... รอบนี้อาจจะไม่โชคดีเหมือนเวฟแรกก็ได้​ ใครจะไปรู้
............... 
วิจัยนี้ได้วิเคราะห์​ข้อมูลดูจากข้อมูลวิจัยในอดีต​หลายๆ​ วิจัย​ เพื่อมาคำนวนหาอัตราความเสี่ยงในการรับเชื้อจาก​ การจาม​ ไอ​ พูด​ และหายใจในห้องปิด​ หรือรถบัส​ รถโดยสารที่อากาศหมุนเวียนไม่ดี​
โดยผู้ติดเชื้อสามารถกระจายเชื้อไวรัสออกมาได้ครั้งละ​ ไม่มากจนถึง​หายสิบล้านตัวใน​ 1​ ครั้งของการไอ​ จาม​ พูดก็เป็นได้​ (จากวิจัยอื่นๆ​ เชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกายแค่​ 1,000​ ตัวก็อาจทำให้ติดเชื้อได้แล้ว) 
โดยอัตราการสัมผัสเชื้อ​ Covid19​ของคนปกติ​ จะสัมพันธ์​กับ
1.​ ปริมาณความเข้มข้นของเชื้อในเสมหะ​ในคอ ในน้ำมูก​ในจมูกของผู้ติดเชื้อ
ถ้ามีเชื้อในสิ่งคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ​ ประมาณ​ 10,000 ตัวต่อมิลลิลิตรขึ้นไป​ จะเริ่มมีความเสี่ยงในการกระจายเชื้อไปให้ผู้อื่นสัมผัสเชื้อแล้ว​ (แต่ยังน้อยกว่า​ 1%)​
ซึ่งส่วนใหญ่​ 3/4​ (75%) ของผู้ติดเชื้อ​ มักมีปริมาณเชื้อขั้นต่ำเพียงพอ (10,000 ตัวต่อ​ 1​ มิลลิลิตร)​ ในการกระจายเชื้ออยู่แล้ว​ แม้กระทั่งช่วงไม่มีอาการ​ อาการน้อยก็ตาม
ครึ่งนึง​ (50%) พบ​ 100,000  ตัวต่อ​ 1​ มิลลิลิตร
5% ของผู้ติดเชื้อ​ พบเชื้อได้ถึง​ 10​ ล้านตัวต่อ​ 1​ มิลลิลิตรเลยทีเดีว
2.​ ขนาดห้อง​ ขนาดรถ​ ยิ่งเล็ก​ ยิ่งกระจายเชื้อได้ง่าย​ โอกาสสัมผัสเชื้อยิ่งมาก
3.​ การจามแพร่เชื้อได้ม​ากกว่าไอ​ พูด​ หายใจตามลำดับ
4.​ จำนวนครั้ง​ และลักษณะความแรงของท่าทางการจาม​ ไอ​ พูด​ หายใจ​ ยิ่งแรง​ ยิ่งทำมากๆ​ ยิ่งกระจายเชื้อได้มากขึ้น​ เช่นการร้องเพลง​ ออกกำลัง​ พูดดังๆ​ ยิ่งกระจายเชื้อได้มากกว่า​ ตัวอย่าง​เช่น​ วงคอรัส​
5.​ ยิ่งอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อนานแค่ไหน​  ยิ่งมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น
ในห้องเดียวกัน​ อยู่นาน​ 1​ ชั่วโมง​ โอกาสสัมผัสเชื้อ​ 14%  ถ้า​ 4​ ชั่วโมง​ โอกาสสัมผัสเชื้อ​ 41​ %
................
อันนี้แถมเพิ่มให้ครบ​ จากวิจัยอื่น​ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
6.​ การหมุนเวียนอากาศไม่ดี​ เช่น​ รถโดยสารต่างๆ​ ห้องเรียน​ ห้องอาหารติดแอร์​ที่ปิดประตู​ห้อง​
7.​ อุณหภูมิ​ที่เย็นกว่า​ เชื้ออยู่ได้นานกว่า​ ถ้าเย็นแบบคล้ายตู้เย็น​ความเสี่ยงสัมผัสเชื้อยิ่งสูง
8.​ ห้องมีแสงสาดเข้ามา​ หรือความชื้น​ ยิ่งมาก​ ๆ​ เชื้อยิ่งตายง่ายเป็น
9.​ มีผู้ติดเชื้อในห้อง​ ในรถกี่คน​ ยิ่งมากๆ​ ยิ่งความเสี่ยงสูง​ ยิ่งถ้าในห้องที่มีแต่ผู้ติดเชื้ออาการหนักๆ​ หลายๆ​ คนนอนรวมกัน​ ยิ่งมีความเสี่ยงสูง เช่น​ ใน​ ICU​ หอพักผู้ป่วย​ ห้องผู้ป่วยที่ระบบอากาศปิดที่มีผู้ติดเชื้อนอนอยู่
10.​ สายพันธุ์​ที่ระบาดในพื้นที่นั้นๆ​ ถ้าสายพันธุ์​นำเข้าจากประเทศในวีปยุโรป​ ทวีปอเมริกา​ หรืออิหร่าน​ อินเดียที่เหมือนกระจายง่ายกว่าสายพันธุ์​ดั้งเดิมของจีน
11.​ กรรมพันธุ์​ของประชากรในแต่ละประเทศ​ จะมีโอกาสในการรับเชื้อง่ายกว่ายากกว่า​ อาจจะรวมถึงปัจจัยที่มาภายหลัง​ เช่น​ การฉีดวัคซีนในอดีต​ (BCG​ ไข้หวัดใหญ่​ ?)​
12.​ ระยะห่างของผู้ที่อยู่ในห้อง​ ในรถ​ ยิ่งอยู่ห่างๆ​ ยิ่งเสี่ยงน้อง​ ถ้าคนเต็มห้อง​ เต็มรถ​ ก็เสี่ยงสูงมากแน่นอน
13.​ วัฒนธรรมในการเข้าสังคม​ ประชาชนมีความเชื่อถือในนโยบายรัฐบาล​ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคระบาด​ ซึ่งพบว่าในเอเซียจะดีกว่ายุโรป​ สหรัฐ
14.​ การบังคับใช้กฎหมายในการล็อกดาวน์​ งดเว้นกิจกรรมที่คนอยู่รวมกันมากๆ การเข้าชุมชน​ การใส่มาส์ก​ในชุมชน​ การเว้นระยะ​ห่างกัน​
15.​ เวลาเข้าสถานที่ปิด​ มีการใส่มาส์ก​ หรือถอดมาส์กในห้อง​ ในรถมากกว่ากัน​
16.​ อื่นๆ​ จะมาอัพเดทเพิ่มเติม
...............
เฉพาะข้อที่​ 15​ อาจชี้จุดเสี่ยงที่สุดของคนไทย​ คนทั้งโลก​ คือ​
การถอดมาส์กตอนไปเที่ยว​ ไปซื้อของ​ ทำกิจกรรมต่างๆ​ ไป​เรียน​ ไปทำงาน​ในรถโดยสาร​ ในห้องปิด
​"โดยเฉพาะทานข้าว" ในห้องปิดติดแอร์​ อากาศระบายไม่ดี​ มีคนอยู่ค่อนข้างมาก​ มีการพูดคุยในห้อง​ เป็นระยะเวลานาน ความเสี่ยงมาครบจริงๆ​ มีตัวอย่าง​ Superspreaders​ จากการกินข้าวในห้องปิดมากมายจากทั่วโลก
.........
เขายกตัวอย่างมาในรูปที่​ 8​ (ดูตารางในรูปที่​ 5​ มีสถานการณ์​ 6​ แบบ)
แกนนอนเป็นความเข้มขันของไวรัสในสิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ​ แกนตั้งเป็นโอกาสรับเชื้อ
ในรถบัส​ มีคนนั่ง​ 1​ คน​ ถ้าผู้ติดเชื้อมีไวรัสกระจายออกมา​  100,000​ ตัว​ /มิลลิสิตร มีโอกาสติดเชื้อ​ 4%
แต่ถ้ารถมีคนนั่ง​ 30​ คน​ โอกาสที่คน​ 1​ คนจะสัมผัสเชื้อกลายเป็น​ 60% ทันที
ในรถบัส​ที่มีคนนั่งเต็ม ถ้าผู้ติดเชื้อหายใจไปนานๆ​ มีไวรัสออกมา​ 10​ ล้านตัว​ โอกาสสัมผัสเชื้อคือ​ 6%
แ่ต่ถ้าในรถบัส​ ผู้ติดเชื้อจามแรงๆ​ แค่​ 1​ ครั้ง​ โดยมีเชื้อ​ 10​ ล้านตัว/มิลลิลิตร โอกาสมีผู้สัมผัสเชื้อ​ ขั้นต่ำ​ 1​ คน​ คือ​ 100%
ถ้าความเข้มข้นของไวรัสจากผู้ติดเชื้อลดเหลือ​ 100000​ ตัว/มิลลิลิตร​ โอกาสที่คน​ 1​ คนจะรับเชื้อ​ คือ​ 60%
..........
มีการะบุถึง​ Superspreaders​ ว่า​ต้องมีหลายองค์ประกอบ​ เริ่มจาก
เป็น​ Super​Replicators  คือผู้ติดเชื้อที่สามารถกระจายเชื้อจำนวนมากจากระบบทางเดินหายใจด้านบนออกมา
แล้วถ้าคนนั้นๆ​ สามารถก่อให้เกิดละอองฝอยทั้งใหญ่ทั้งเล็กได้มาก​ (Droplets​ and​ Aerosol​ Production)​ จะเรียกว่า​ SuperShedders
ถ้า​ SuperShedders ป่วยแล้วไปทำงาน​ ไปเรียน​ ไปขึ้นรถไฟฟ้า​ ไปที่ชุมชน​ ไปเที่ยว​ ไปทำกิจกรรมต่าง​ๆ​ ในสถานที่ปิด​ ไม่ใส่มาส์ก​ และมีพฤติกรรมเสี่ยง​ ก็อาจจะกลายเป็น​ SuperSpreaders​ ได้​ เพราะปล่อยไวรัสออกมามากๆ​ ในแบบฟอร์มที่กระจายได้มากๆ​
.
ปัญหา​ คือ​ มีกลุ่มติดเชื้อไร้อาการ​ หรืออาการน้อยๆ​ แต่มีเชื้อเยอะพอควรในสังคมทุกสังคม​ อาจจะมากน้อยแล้วแต่ช่วงนั้นระบาดหนักหรือน้อย
ในไทยช่วงนี้คงมีกลุ่ม​ Asymptomatic​ Pre​ Symptomatic​ แ​ละ​ Pauci Symptomatic​ ไม่มาก​ แถมเราเป็นสายพันธุ์​เหมือนจะเบา​ กระจายช้า​
แถมกรรมพันธุ์​ และสิ่งแวดล้อมเราอาจจะไม่เอื้อในการกระจายเชื้อมาก​นอกสถานที่มากนัก
มาตรการช่วงแรกถือว่ามาทันเวลากระจายแบบ​ Multiple​ Superspreaders
แต่บอกตามตรงว่า​ "ยังมีผู้ติดเชื้อเบาๆ​ ที่ไม่ได้มาตรวจบ้าง" ไม่ได้แปลว่า​ "ไม่มีเลย"
 ศบค รู้ดี​ เลยสั่งยิกๆ​ การ์ดห้ามตก​ !! 
จริงหรือไม่ครับ​ ศบค.​ ? 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"