ซัดสื่อมั่วคดีน้องชมพู่


เพิ่มเพื่อน    


    "พล.ต.อ.สุวัฒน์" เข้าแจง กมธ.กฎหมายฯ คดีน้องชมพู่ ลั่นตำรวจไม่กดดันไม่ตั้งธงหาแพะ ทำคดีตามพยานหลักฐาน โยนสื่อสรุปกันเองถึงสาเหตุและผู้ต้องสงสัย ส่วนที่เรียกสอบชาวบ้านร่วมพันคน ก็แค่พูดคุยซักถาม ใช้เป็นพยานไม่ถึงร้อย 
    เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 15 กรกฎาคมนี้ ที่ห้องประชุม 408 รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร มีนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธาน กมธ.การกฎหมายฯ เป็นประธานในที่ประชุม ได้เชิญ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รอง ผบ.ตร. ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในคดีการเสียชีวิตของน้องชมพู่ โดยนายสิระกล่าวว่า ที่ผ่านมาการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการเรียกประชาชนเกือบ 1,000 คน เข้าให้ปากคำ และตรวจดีเอ็นเอจำนวนมาก ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทางคณะ กมธ.ฯ จึงต้องการทราบข้อเท็จจริงถึงแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในคดีดังกล่าว
    ด้าน พล.ต.อ.สุวัฒน์ชี้แจงว่า ตั้งแต่ทำคดีนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ให้ข่าวทุกวัน แต่จะให้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อป้องกันความสับสน และเจ้าหน้าที่คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน รวมถึงประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ การทำงานในขณะนั้น เนื่องจากเราพบวัตถุพยานหลายอย่างจากร่างกายน้องชมพู่ที่สกัดเอาดีเอ็นเอออกมาได้ จึงต้องพยายามหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบ ซึ่งกรณีที่ดีเอ็นเอตรงกันก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นคนร้ายเสมอไป ส่วนคนกว่า 900 คนที่เจ้าหน้าที่เรียกมาก็ไม่ได้ถูกสอบสวนทุกคน แต่เป็นการพูดคุยซักถาม หากคนใดมีประโยชน์จึงเข้าสู่กระบวนการสอบปากคำในลักษณะพยานในสำนวนการสืบสวน ประมาณ 63 ราย โดยไม่ได้บังคับ แต่เป็นการพูดคุยด้วยความสมัครใจ และไม่มีการกระทำใดที่เป็นการละเมิดสิทธิ ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีใครบอกว่าถูกตำรวจคุกคาม ในทางกลับกันชาวบ้านในหมู่บ้านอยากรู้ความจริงว่าเด็กขึ้นไปบนเขาได้อย่างไร 
    "การเก็บดีเอ็นเอ เราทำตาม ป.วิอาญา ม.131 โดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมมามีบันทึกความยินยอมทุกฉบับในการเก็บดีเอ็นเอ เรื่องนี้ถือเป็นคดีแรกในชีวิตที่ไม่เคยเห็นที่ไหนในโลกที่เป็นประเด็นในข่าวทุกวันกว่า 60 วัน ผมไม่เคยเจอ แต่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ไม่กดดัน เราทำตามพยานหลักฐาน เพียงแต่การทำงานยากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานด้วยความระมัดระวัง ขอให้เชื่อว่าเราดูเหตุการณ์ทั้งหมด ไม่ได้ดูเป็นท่อนๆ ยืนยันว่าเราทำตามกฎหมาย ไม่ทำอะไรนอกอำนาจหน้าที่ ส่วนประเด็นตั้งธงหาแพะนั้น ยืนยันว่าการทำคดีไม่จำเป็นต้องจับคนร้ายได้ทุกคดี การสืบสวนสอบสวนมีเส้นทางของมัน หากไม่ได้จริงๆ ก็พักการสอบสวนตาม ป.วิอาญาได้ แต่อำนาจการสอบสวนยังอยู่ ซึ่งทีมสอบสวนของเราไม่ได้รู้สึกกดดัน" พล.ต.อ.สุวัฒน์กล่าว 
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะ กมธ.ฯ สอบถามถึงการชันสูตรศพ 2 ครั้งที่แตกต่างกัน ว่าเหตุใดจึงมีการตรวจซ้ำ โดยรอง ผบ.ตร.ชี้แจงว่า ที่ต้องผ่า 2 ครั้ง เพราะครั้งแรกญาติยังติดใจสงสัยว่ามีข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญอื่นหรือไม่ ครอบครัวจึงร้องขอให้ผ่าเป็นครั้งที่ 2 หากผลขัดแย้งกันก็ต้องหาคำอธิบาย ยืนยันว่าคดีนี้มีแต่ข่าวที่นำเสนอไปเองว่ามีการล่วงละเมิดทางเพศ ตำรวจยังไม่เคยสรุปแบบนี้ เพราะการผ่าครั้งที่ 2 ผลอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การขนย้าย ซึ่งแพทย์ที่ชันสูตรมีคำอธิบายอยู่แล้ว ขอย้ำว่าทุกวันนี้เป็นการสรุปคดีกันเอาเอง ส่วนที่ต้องเก็บดีเอ็นเอสื่อมวลชนด้วยนั้น เพราะวันนั้นสื่อตามขึ้นไปทำข่าวด้วย ไม่ใช่การเก็บเรื่อยเปื่อย ที่ทำมีเหตุผลสนับสนุน ส่วนที่ประชาชนร้องเรียนว่าถูกคุกคาม ตำรวจก็พร้อมปรับการทำงาน และสามารถร้องเรียนมาที่ตำรวจได้ 
    "ประเด็นละเมิดทางเพศเป็นเรื่องที่อยู่ในสำนวน ส่วนศพน้องไปอยู่ตรงนั้นได้อย่างไร มีแค่ 2 ทางคือ ไปเองหรือมีใครพาไป ดังนั้นต้องมาดูเปอร์เซ็นต์ความเป็นไปได้ว่าน้องสามารถไปเองได้หรือไม่ แต่ตำรวจยังไม่เคยสรุปว่าศพไปอยู่ตรงนั้นวันไหน เมื่อไหร่ เพราะอาจจะไปพักที่อื่นมาก่อนก็ได้ เส้นผมขาดได้อย่างไร ยืนยันว่าตำรวจยังไม่ได้ตัดประเด็นเหล่านี้ เพราะทุกอย่างต้องมีคำตอบ" พล.ต.อ.สุวัฒน์กล่าว 
    ด้าน ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ กรรมการแพทยสภา กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีกรรมการขึ้นมาเปรียบเทียบการผ่าศพ 2 ครั้ง เหมือนกับคดีนายห้างทอง ธรรมวัฒนะ เพื่อผ่าครั้งที่ 3 ว่าแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งให้แพทยสภารับผิดชอบเรื่องนี้ได้ เพราะคดีนี้พฤติการณ์การตายยังไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่กลับมีการข้ามขั้นไปตรวจดีเอ็นเอหาสาเหตุการตายแล้วซึ่งเป็นเป็นเรื่องยาก เพราะศพเน่าไปแล้ว ดังนั้น ต้องหาสาเหตุการตายให้ได้ก่อนว่ามีข้อสันนิษฐานอย่างไร 
    นพ.ภาณุวัฒน์ ชุติวงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และอาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นปัญหาที่สื่อ เพราะสื่อเข้าไปถามข้อมูลจากพยานถึงเรื่องในครอบครัว ดังนั้น คดีนี้มีความกดดันอย่างแน่นอน ส่วนการผ่าศพ 2 ครั้ง ยืนยันว่าในทางนิติเวชไม่มีทางจะได้ข้อมูลมากกว่าครั้งแรก แต่ครั้งที่ 2 อาจถูกชี้นำได้ ในทางการแพทย์ไม่มีใครอยากผ่าซ้ำ และการผ่าครั้งที่ 2 ผ่าได้ยากมาก แต่ในทางสังคมมักเชื่อไปเองว่าครั้งที่ 2 จะได้ผลมากกว่าครั้งแรก ส่วนตัวคิดว่าคดีนี้กำลังมาผิดทาง เพราะเมื่อได้ผลจากครั้งแรกไม่พอใจต้องส่งไปผ่าครั้งที่ 2 เสมอ ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่มั่นใจในการทำหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน และเมื่อผลออกมาต่างกัน คำตอบก็จะไปออกในผลที่น่าพอใจมากที่สุด ทั้งที่ไม่รู้ว่าผลครั้งไหนถูกต้อง และคดีนี้จากการชันสูตรสาเหตุการตายว่ามาจากการขาดอาหารก็มีความเป็นไปได้ แต่ถ้าจะถามว่าใครพาขึ้นไป ทางการแพทย์ไม่สามารถตอบได้ และขอให้ตำรวจแยกสิ่งตรวจพบและความเห็น โดยเฉพาะสื่อที่พอหาคำตอบไม่ได้ ก็ไปหาความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เกี่ยวข้องในคดีจนเกิดความสับสน
    คดีน้องชมพู่ เริ่มจากน้องชมพู่ เด็กหญิงวัย 3 ขวบ หายออกไปจากบ้านพักที่บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม ศกนี้ ก่อนจะมีผู้พบเสียชีวิตในสภาพเปลือยกายบริเวณป่าภูเหล็กไฟ บ้านกกกอก จนถึงขณะนี้เป็นเวลากว่า 2 เดือน ตำรวจยังไม่สามารถปิดคดีได้ ขณะที่สังคมวิจารณ์กันไปต่างๆ นานา โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าเด็กถูกฆาตกรรมโดยคนใกล้ตัว ส่งผลให้ญาติพี่น้องของน้องชมพู่เกิดความขัดแย้งร้าวฉานเพราะต่างสงสัยกันเอง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"